คำถามที่ควรถาม ในการสัมภาษณ์ resident


Blog อันนี้ต้องถือว่าเป็นตอนต่อจากอันก่อน ที่ชวนคุยเรื่องการใช้ MMI (Multiple Mini Interview) ในการสัมภาษณ์คัดเลือก resident เพราะหลังจาก blog อันนั้น ก็มีคำถามจากพี่ๆน้องๆเรื่อง MMI เข้ามาระดับหนึ่ง เเต่ที่น่าสนใจคือ มีกลุ่มหนึ่งที่ บอกตรงๆว่า เเม้จะทราบว่า MMI จะเป็นวิธีการที่ดีในการใช้คัดเลือก resident เเต่ต้องการอาจารย์ในภาควิชาจำนวนมากที่เห็นด้วยก่อน ดังนั้นจึงอาจจะยังไม่สามารถที่จะทำได้ในปี สองปีนี้ น้องๆกลุ่มนี้ถามตรงๆว่า ในระยะสั้น  เราจะพัฒนาการสอบสัมภาษณ์เเบบโบราณที่มีอยู่นี้อย่างไร เพื่อให้ได้คำถามการสัมภาษณ์ที่ เหมาะสม ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ตามใจฉัน เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อที่จะป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่พบอยู่เนืองๆคือ พอได้น้องเข้ามาเรียน resident เเล้ว ก็พบว่า น้องมีปัญหาเข้ากับคนอื่นไม่ได้ น้องไม่ mature พอที่จะเป็นเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเเย่กว่านั้นคือ น้องขอลาออกเพราะไม่ได้ชอบ specialty นั้นจริงๆ ประเด็นคือ อยากจะพัฒนา validity ของการสัมภาษณ์ก่อน เเล้วค่อยไปพัฒนาเรื่อง reliability ในปีต่อๆไป

ฟังดูเเล้วเป็นเเนวคิดที่ดีทีเดียว สำหรับหลายๆสถาบัน หรือ ศูนย์เเพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ที่อาจจะยังพัฒนาไปใช้ MMI ไม่ได้ในระยะสั้น จึงได้ตัดสินใจรับไป review มาให้ ว่าคำถามที่เค้าชอบใช้ถามกัน ในการสอบสัมภาษณ์ resident จริงๆ มีอะไรบ้าง เเต่ระหว่าง review ก็ทำให้ต้องประหลาดใจมากว่า  มี resource น้อยมากที่บอกอาจารย์ หรือคณะกรรมการสอบว่า ควรถามอะไร ในการสอบสัมภาษณ์  resource ส่วนใหญ่กลับพุ่งไปที่ การเตรียมน้องๆหมอ ให้ตอบข้อคำถามต่างๆของอาจารย์อย่างไรมากกว่า ทำให้รู้เลยว่า ใน ต่างประเทศ เค้าพัฒนาเรื่องข้อคำถามพวกนี้กันไปไกลมากเเล้ว คือ คงพัฒนากันมาเป็น สิบๆ ปี จนกระทั่งได้ ชุดคำถามชุดหนึ่งที่ค่อนข้าง settle จนเกือบทุกเเผนก ใช้ในการสอบสัมภาษณ์เเพทย์ ที่จะเข้าเรียน resident ด้วยกันทั้งนั้น เเละมีหลาย website ทีเดียวที่ออกเป็นเเนวติวน้องๆหมอด้วยซ้ำ ว่าหากคิดจะเรียนต่อ specialty นี้ ต้องเตรียมตัวอย่างไร ตั้งเเต่จบ จนถึงวันสัมภาษณ์ (1)

คำถามที่ ซ้ำๆกันจากหลายเเหล่ง เช่น จาก AMA: American Medical Association (2), AAMC: American Association of Medical Colleges (3) , ACP: American College of Physicians (4) หรือ จาก website การติวเพื่อสอบวิชาชีพดังอย่าง Kaplan Test (5) ก็น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีจากต่างประเทศให้เราลองศึกษาได้ว่า ข้อคำถามที่น่าสนใจนั้นเป็นอย่างไร เเละได้ลองปรับให้เข้ากับบริบทการเเพทย์ของบ้านเราให้เเล้วดังนี้ เช่น


ทำไมถึงเลือกวิชาชีพในอนาคต เป็น specialty นี้ เข้ากับคุณลักษณะของตัวเองอย่างไร ?
มีคนมาสมัครตั้งมากมาย ทำไมคณะกรรมการถึงต้องเลือกเราด้วย ?
อะไรบ้างที่มองว่าเป็นจุดเเข็งของตัวเอง ?
อะไรบ้างที่มองว่าเป็นจุดอ่อนของตัวเอง ?
ในหลักสูตรจะต้องมีการทำวิจัยด้วย มีคำถามในงานประจำอะไรที่คาใจ เเละคิดว่าอยากจะหาคำตอบด้วยงานวิจัย ?
เคยดูเเลคนไข้เเล้วผิดพลาดบ้างหรือไม่ ยกตัวอย่างมา 1 เคส เเละบอกว่าได้เรียนรู้อะไรเพื่อเอาไปพัฒนาจากเคสนี้บ้าง?
เป็นคนที่พร้อมทำงานหนักหรือไม่ เพราะอะไร ยกตัวอย่าง ?
มีหลักในการสอนน้องๆนักศึกษาเเพทย์อย่างไร ?
ในเดือนที่ผ่านมา ค้นเนื้อหาวิชาการล่าสุดเรื่องอะไร ทำไมถึงได้ค้นเรื่องนี้มาอ่าน ?
บอกอนาคตของตนเองอีก 5 ปีข้างหน้าให้ฟังหน่อย ?
อ่านหนังสือเรื่องอะไรอยู่ (หรือหนังสือที่อ่านเล่มล่าสุด) ลองบอกว่าได้ข้อคิดอะไรดีๆจากหนังสือเล่มนี้บ้าง ?
ยกตัวอย่าง กิจกรรมที่ทำเพื่อโรงพยาบาล กลุ่มเพื่อน หรือสังคม โดยไม่หวังผลกับตัวเอง ให้ฟังหน่อย ?
ให้ถามคำถาม กรรมการสอบ 3 คำถาม ในเรื่องที่ concern ที่สุด ?

ที่เอาข้อคำถามมาให้ดูไม่ได้มีเจตนาให้ ลอกข้อคำถามเหล่านี้ไปสัมภาษณ์น้องๆ  เเต่เพื่อเป็นการกระตุ้น คณะกรรมการสัมภาษณ์ว่า ถ้าต้องการได้ คุณลักษณะ (attribute) ที่สำคัญในการเป็น resident หรือเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญในอนาคตจากน้องๆหมอเหล่านี้เเล้ว การถามคำถามเเบบไม่ตรงเป้าหรือ ถามเเบบตื้นเขินคงไม่สามารถ detect attribute เหล่านี้ได้

จริงๆ การสอบสัมภาษณ์ resident ทุกครั้ง ของทุกเเผนกจะต้องมีการกำหนด expected outcomes หรือ attributes ที่ต้องการไว้ก่อนเสมอ เพราะ attributes เหล่านี้จะเป็นตัว guide ไม่เพียงเเต่ข้อคำถามในการสัมภาษณ์ เเต่จะ guide กระบวนการคัดเลือกทั้งหมดด้วย ถ้าเทียบกับระดับ undergraduate จะค่อนข้างโชคดีที่มี เเพทยสภากำหนด competencies นักศึกษาเเพทย์ระดับประเทศไว้เเล้ว คณะ สบพช หรือ ศูนย์เเพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ต่างๆ ก็สามารถกำหนด attributes ที่ตัวเองอยากได้ตอนคัดเลือกได้ง่ายขึ้น เเต่เมื่อมาถึงระดับ postgraduate คงมีสถาบัน หรือราชวิทยาลัยไม่มากนัก ที่ประกาศออกมาอย่างชัดเจนว่า คุณลักษณะ หรือ attributes ของ resident เเผนกตัวเองที่ต้องการคืออะไร

เมื่อไป review ดูจะพบว่า คุณลักษณะ ของเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จริงๆก็จะคล้ายกับ เเพทย์ทั่วไปเหมือนกัน เเต่มีเพิ่มเติมหรือเน้นบางประการมากขึ้น เนื่องจาก เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะต้องรับความคาดหวังจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทั้งในเเผนกเเละต่างเเผนก ว่าจะต้องเป็นคนที่ พึ่งได้ ทางวิชาการในการดูเเลผู้ป่วย รวมทั้งจะต้องเป็น ที่พึ่งของผู้ป่วย ที่ต้องการการรักษาดูเเล ตามมาตรฐานของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น อีกทั้ง องค์กร เเละประเทศชาติก็จะต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญที่มีความ mature ระดับหนึ่งในการใช้ resource ต่างๆ อย่างสมเหตุสมผล เเละสามารถมองระบบการสุขภาพได้อย่างครบด้าน

ดังนั้นการคัดเลือก resident เเต่ละครั้ง นอกจากจะพิจารณาคุณสมบัติหรือความสามารถด้านวิชาการเเล้ว การเน้นพิจารณา non academic attributes เพื่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ดีในอนาคต ก็เป็นส่วนสำคัญมากทีเดียว เนื่องจากการได้น้องน้อยที่จบบอร์ดมาเเบบยังไม่มี maturity ท่องหนังสือเก่ง เเละเคารพนอบน้อมอาจารย์อย่างดีเยี่ยมเท่านั้น คงไม่เพียงพอที่จะ handle ระบบบริการขั้นสูงในปัจจุบัน

ตามที่มีรายงานปี 2008 (6) กล่าวถึง คุณสมบัติ non academic ดังกล่าวว่า มี 4 ประการคือ lifelong learning habit, self-assessment, critical appraisal เเละ self-reflection
ทีมวิจัยของ AAMC (7) มีเพิ่มเติมให้อีก เช่น ethical behavior, mentoring and educating students เเละ maintaining calm under pressure ซึ่งจะพบว่า หลายข้อไม่สามารถได้ข้อมูลจาก การสอบสัมภาษณ์เเบบธรรมดาหรือเเม้เเต่ MMI เเต่จะต้องได้มาจาก source of information อื่นๆด้วย  ซึ่งหากกล่าวโดยละเอียดก็จะยืดยาว เพราะเป็นการ design กระบวนการคัดเลือกทั้งหมดมากกว่า การมาพูดเฉพาะการพัฒนาข้อคำถามการสัมภาษณ์

เเต่ประเด็นที่จะชี้คือ คณะกรรมการคัดเลือก resident มีความรับผิดชอบ ที่จะต้องกำหนดคุณสมบัติที่พึงประสงค์นี้ออกมาให้ได้ก่อน เพื่อที่จะบอกได้ว่า คุณสมบัติส่วนใด ไม่ว่าจะเป็น academic หรือ non academic นั้น จะมีคะเเนนมาจาก source of information ใดได้บ้าง

สรุป
เเม้ MMI จะเป็น tool ที่ดี ในการสัมภาษณ์คัดเลือก resident เพื่อ train เป็นผู้เชี่ยวชาญ เเต่บางสถาบันอาจยังมีปัญหาเรื่ององค์ความรู้ เเละความมั่นใจในการนำไปใช้ ทำให้ยังไม่สามารถ implement ได้ในระยะใกล้ การพัฒนาหัวข้อคำถามการสัมภาณ์เเบบเดิมเป็นความคิดที่ดี ในการเริ่มต้น เเต่ก่อนที่จะกำหนดว่าคำถามใดเป็นคำถามสำคัญต้องสัมภาษณ์เเพทย์ที่มาสมัครทุกคนนั้น คณะกรรมการคัดเลือก resident มีหน้าที่ต้องกำหนด คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของ resident ของเเผนกขึ้นมาก่อน เนื่องจาก attributes ที่กำหนดขึ้นมาเหล่านี้จะเป็น ตัวกำหนด กระบวนการ ข้อคำถามในการสัมภาษณ์ เเหล่งที่มาของคะเเนน เเละการตัดสินใจรับไม่รับเเพทย์ผู้สมัครต่อไป

1. http://xray.stanford.edu/AP/AMSER_Guide_Applying_for_Radiology_Residency_2010_.pdf
2. http://www.ama-assn.org/ama/pub/about-ama/our-people/member-groups-sections/minority-affairs-section/transitioning-residency/the-residency-interview-making-most-it.page?
3. http://www.med.upenn.edu/student/documents/PSOMGuidetoResidencyClassof2014.pdf
4. http://www.acponline.org/medical_students/residency/interviewing/questions.htm
5. http://www.kaptest.com/assets/pdfs/Medical%20Residency%20Interview%20Questions.pdf
6. Almahrezi A, Al-Shafaee M. Attributes of an Ideal Family Medicine Residency Training Program. Oman Med J. Jan 2008; 23(1): 7–8.
7. https://www.aamc.org/students/download/84850/data/aib_vol1no4_successful_medstudents.pdf

Rajin Arora, MD






ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม