Kolb’s Experiential Learning Cycle

เมื่อได้ทำความเข้าใจกับทฤษฎีทางการศึกษา Constructivism มาเเล้ว ก็ถึงเวลาทำความรู้จักกับ model ที่นำเอาทฤษฎี Constructivism มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เห็นว่า มนุษย์เราหากจะเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพควรจะมีกระบวนการเรียนรู้อย่างไร


กระบวนการที่ว่านี้เป็น วงจรการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนที่เรียกว่า Kolb’s Experiential Learning Cycle ซึ่งนำเสนอโดย David Kolb โดยพยายามเเสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้ของมนุษย์จะต้อง มีการลงมือทำ ไม่ใช่เอาเเต่นั่งฟังอย่างเดียว การลงมือทำจะต้องมีส่วนประกอบของการสะท้อนคิด (reflection) เเละ เมื่อถึงจุดหนึ่ง มนุษย์เราจะพยายามวิเคราะห์ เเละสรุปหลักการของตนเอง เเละจะลองเอาหลักการขององค์ความรู้ที่ตนเองสรุปได้นั้นไปลองปฏิบัติอีกครั้งหนึ่ง


อันที่จริงเเนวความคิดเรื่อง "การเรียนรู้จากการปฏิบัติ" นี้ มีมานานมากเเล้ว Aristotle เองในปี 350 BC ก็ได้เคยเขียนไว้ว่า "For the things we have to learn before we can do them, we learn by doing them" John Dewey (1859-1952) ปรมาจารย์ทางการศึกษาก็เคยกล่าวไว้ว่า “Learning by Doing” ซึ่งเป็นคำพูดอมตะทางการศึกษาของโลก

ในตอนต้นของทศวรรษที่ 1970 David Kolb ได้นำเสนอ model ที่เรียกว่า Experiential Learning Model (ELM) โดยพยายาม ใช้ model นี้อธิบายหลักการทางการศึกษาของกลุ่ม Constructivism เช่น John Dewey, Kurt Lewin เเละ Jean Piaget




Experiential Learning Model (ELM) เป็นวงจรการเรียนรู้ที่มี 4 ขั้นตอนคือ


1. Concrete experience  
เป็นขั้นตอนเเรกของการเรียนรู้คือ การทดลองปฏิบัติ เช่น การฝึกทำอาหาร คนเราเเม้จะอ่านหนังสือเกี่ยวกับการทำอาหารมามากมายอย่างไรก็ตาม Kolb ก็ไม่ถือว่าการเรียนรู้เรื่องการทำอาหารได้เริ่มต้นขึ้น เนื่องจาก การทำอาหารเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ Kolb จึงถือว่า การเรียนรู้ที่เเท้จริงจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ โดยการได้ลงมือปฏิบัติ จะทำให้ผู้เรียนได้สัมผัส “ธรรมชาติที่เเท้จริงขององค์ความรู้นั้น” ในส่วนความรู้ที่เป็น cognitive นั้น การฟังครูบรรยายหรือการอ่านมาก่อนอาจจะเป็นการปูพื้นความรู้ให้ผู้เรียนได้จริง เเต่ Kolb จะถือว่า การเเก้ปัญหาโจทย์ หรือ การได้เริ่ม discuss case ผู้ป่วยเท่านั้น เป็นการเริ่มต้นที่เเท้จริงของการเรียนรู้เเบบ Experiential learning

2. Reflective observation 
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนจะมีการสะท้อนคิด (Reflection) กระบวนการเรียนรู้จะต้องมีการจัดสรรเวลาให้ขั้นตอนนี้อย่างเหมาะสม เนื่องจากเป็นธรรมชาติของผู้เรียนที่จะต้องมีการสะท้อนคิดอยู่ตลอดเวลา หากกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้จัดสรรเวลาไว้ให้เเล้ว จะเป็นการทำลายวงจรอีก 2 ขั้นตอนที่จะตามมาของการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้ กระบวนการ reflection นี้ยังหมายรวมถึงการ discussion การได้เเลกเปลี่ยนกับเพื่อน เเละการรับ feedback ด้วย การเรียนรู้เรื่องการทำอาหาร จำเป็นจะต้องมีการชิมเเละรับ feedback จากทั้งตนเองเเละผู้อื่น เพื่อให้รู้ว่า อาหารนั้นเค็มไปหรือหวานไป กระบวนการเหล่านี้จัดอยู่ในขั้นตอนที่ 2 ของ Experiential learning ทั้งสิ้น

3. Abstract conceptualization 
ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนที่เรียกว่า higher order thinking เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนจะพยายามจับจุด จับหลักขององค์ความรู้ เพื่อให้ได้เเนวทางปฏิบัติเพื่อตนเองจะได้นำไปใช้ ขั้นตอนนี้จะใช้ทักษะ ที่เป็น analytical เเละ problem solving skill เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ทำ conceptualization ได้ ขั้นตอนนี้ไม่เหมือนขั้นตอนที่ 1 เเละ 2 ที่อาจจะต้องการครูอยู่เป็น facilitator ช่วย เเต่ขั้นตอนที่ 3 นี้ เป็นขั้นตอนที่ มนุษย์ทุกคนจะต้องดำเนินการจัดวางองค์ความรู้ใหม่ ให้ถูกที่ถูกทางบนองค์ความรู้เก่าด้วยตนเอง สำหรับบางคนขั้นตอนนี้อาจใช้เวลานาน หรืออาจไม่สามารถสรุป concept ได้ บางคนสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ การได้ลงมือปฏิบัติ เเละทักษะการทำ reflection ใน 2 ขั้นตอนเเรกด้วย

4. Active experimentation 
ขั้นตอนที่ 4 คือ ขั้นตอนที่ผู้เรียนจะลงมือปฏิบัติอีกครั้ง เพื่อพิสูจน์การเรียนรู้ของตนเองว่า เข้าใจได้ถูกต้องหรือไม่ มีทักษะที่ว่านั้นเเล้วหรือยัง หากเป็นเรื่องทำอาหารก็คือ การใส่เครื่องปรุงเพิ่ม หรือทำอาหารจานใหม่ตามความรู้ความเข้าใจของตนที่สรุปได้จากขั้นตอนที่ 2 เเละ 3 การฝึกปฏิบัติในขั้นตอนที่ 4 นี้ มีความสำคัญเนื่องจาก เป็นการที่ผู้เรียนได้มีการทำ formative assessment ด้วยตนเอง เป็นการสร้างความมั่นใจในการเรียนให้ถึงขั้น conscious competence ซึ่งจะทำให้นำพาผู้เรียนเข้าสู่ วงจร Experiential learning phase ต่อไปได้  
Kolb ได้เน้นย้ำว่า การเรียนเเบบ Experiential learning สามารถเป็นได้ทั้งการเรียนเเบบมีครูเป็นผู้ช่วย facilitate เเละ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เนื่องจาก กระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ เป็นกระบวนการโดยธรรมชาติที่มนุษย์สามารถทำได้เองตั้งเเต่สมัยดึกดำบรรพ์อยู่เเล้ว เพียงเเต่ในปัจจุบัน เมื่อองค์ความรู้ที่จะเรียนนั้นซับซ้อนขึ้น การมีครูเป็นผู้ช่วยในขั้นตอนที่ 1 เเละ 2 จึงมีความจำเป็นมากขึ้น

Kolb ยังได้เสนออีกว่า การเรียนเเบบ Experiential learning ให้ได้ดีนั้น ควรจะฝึกผู้เรียนให้มีทักษะ 4 อย่างนี้ไว้ก่อน
1. ผู้เรียนต้องมีความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมกับการเรียน ไม่ใช่ตั้งใจจะมาเป็นผู้รับ “ป้อน” ความรู้อย่างเดียว
2. ผู้เรียนต้องได้รับการฝึกเรื่องกระบวนการสะท้อนคิด (Reflection) มาพอสมควร
3. ผู้เรียนควรได้ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ analytical เเละ conceptualization skill มาก่อน โดยเฉพาะ หากเป็นการเรียนรู้เชิงเทคนิกที่มีความซับซ้อน เช่น การเรียนวิชาเเพทย์ จำเป็นที่ระบบการศึกษาจะต้องมีช่วงเวลาที่ฝึกฝนนักเรียนให้มีทักษะนี้มาตั้งเเต่เนิ่นๆ
4. ผู้เรียนควรได้รับการฝึก decision making เเละ problem solving skills เพื่อจะได้เป็นกลไกสำคัญในการสรุป เเละเลือกใช้องค์ความรู้ที่ได้ใหม่นี้ในอนาคต

สรุป Kolb’s Experiential Learning Cycle หรือ Experiential Learning Model (ELM) เป็นวงจรการเรียนรู้ที่มี 4 ขั้นตอน เริ่มต้นตั้งเเต่การให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ ให้ได้ฝึกการสะท้อนคิด ให้ฝึกมีการสรุปหลักการเหตุผลจนเกิดเป็นความรู้ใหม่ของตน เเละขั้นตอนสุดท้ายคือ การฝึกการนำเอาความรู้ใหม่ไปลองปฏิบัติอีกครั้ง ซึ่งเป็นเเนวคิดพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนของเเพทยศาสตรศึกษาในปัจจุบัน การที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนกระบวนการต่างๆเหล่านี้บ่อยขึ้น เเละมีความชำนาญขึ้น จะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในระดับ undergraduate, postgraduate เเละ life long learning ต่อไปในอนาคต

CR:
1. https://en.wikipedia.org/wiki/Experiential_learning
2. https://uwaterloo.ca/centre-for-teaching-excellence/resources/integrative-learning/experiential-learning
3. http://study.com/academy/lesson/what-is-experiential-learning-definition-theories-examples.html
4. http://wmfdp.com/wp-content/uploads/2014/09/experiential-learning2.jpg
5. https://tokenteach.files.wordpress.com/2011/11/experiential-learning-cycle.jpg
6. http://www.verbaltovisual.com/wp-content/uploads/2015/06/16.7TheBenefitsOfExperientialLearning_800.png
7. https://www.simplypsychology.org/learning-kolb.jpg
8. http://www.atcoblueflamekitchen.com/Classes/Kids-Cooking-Classes/PublishingImages/spring-camp-500x300.jpg


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม