การเรียนการสอนเเบบ Constructivism

ในอดีต หากย้อนไปในช่วง ทศวรรษ 1970 การเรียนรู้ของมนุษย์จะถูกอธิบายด้วยทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ หรือ Behaviorism เกือบทั้งหมด 

 นักจิตวิทยาการเรียนรู้สมัยนั้น มีความเชื่อว่า เราไม่สามารถรู้ได้ว่า ในสมองของเเต่ละคนนั้นคิดอะไรอยู่ หรือเรียนรู้อย่างไร สิ่งที่ทราบเเละสามารถทำการวิจัยพิสูจน์ได้คือ เมื่อให้ reward หรือ punishment เข้าไป จะทำให้พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนไปตามที่ต้องการ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่จริง เเละสามารถนำมาใช้ได้จนถึงปัจจุบัน 

เเต่สิ่งที่ นักทฤษฎีทางการศึกษาเเบบ Behaviorism ตอบไม่ได้คือ ทำไม reward ที่ใช้ได้กับคนคนหนึ่งกลับใช้ไม่ได้กับอีกคนหนึ่ง reward ที่ให้มากๆ ซ้ำๆ จะเกิดความเคยชิน เเละใช้ไม่ได้อีกต่อไป ทำไมบางคนเรียนรู้เเบบไม่หวัง reward คือ เรียนรู้จากความต้องการของตัวเอง มีความอยากรู้จากภายใน มี inner เเละการให้ reward บางครั้งก็ไม่ได้ช่วยเรื่องการทำความเข้าใจของนักเรียนเลย เพราะนักเรียนส่วนใหญ่อาจจะเอาเเต่ท่องจำความรู้ที่อาจารย์สอน เเละคายออกมาเมื่อถึงวันสอบ เพื่อให้ได้ reward ส่วนหลังจากนั้น ก็เเทบจะไม่ reatin ความรู้นั้นๆอีกเลย


ในด้าน punishment เองก็เช่นเดียวกัน นอกจากจะใช้ไม่ได้กับทุกคนเเล้ว บางคน percieve punishment เป็น stress and trauma ทำให้การเรียนรู้ นั้นล้มเหลว ทำให้นักเรียนหลายคนถูก label ว่าเป็นนักเรียนที่ใช้ไม่ได้ ไม่มีความสามารถพอที่จะเรียนรู้สรรพวิชาดังกล่าว นักเรียนเหล่านี้อาจจะได้รับการ punishment อยู่ตลอดเวลา จนชาชิน เเละสุดท้ายถูกสรุปว่า "โง่" ทั้งๆที่ อาจจะเป็นเพียงการไม่สามาถเรียนรู้ได้ในระบบที่มีสิ่งเเวดล้อมเเบบ blame culture เท่านั้น
 ทฤษฎีการเรียนรู้เเบบ Behaviorism อาจจะใช้อธิบายได้ดีในช่วงยุคสมัยหนึ่ง เเต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทสังคมเปลี่ยนไป มีการทำศึกษาวิจัยที่เป็นระบบมากขึ้น ก็เกิดทฤษฎีใหม่เข้ามาเเทนที่ ซึ่งเข้ากับบรรยากากาศการเรียนรู้ยุคสมัยใหม่พอดี ทฤษฎีที่ว่านี้คือ ทฤษฎีการเรียนรู้เเบบ Constructivism 

เป็นที่ยอมรับกันว่า บิดาของทฤษฎี Constructivism นี้คือ Jean Piaget (1896–1980) ซึ่งมีผู้รู้อีกหลายท่านที่ได้นำเอาทฤษฎีนี้ไปขยายความ หรือทำวิจัยเพิ่มเติม จนได้ข้อสรุปว่า หลักการเรียนรู้เเบบ Constructivism คือ 
  • ผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาในสมองของผู้เรียนเอง ไม่มีใครสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ใครได้ทั้งหมด ตามหลักการที่ชอบพูดกัน ว่า "knowledge is to gain not to give" 
  • หน้าที่ของครูผู้สอนคือการเป็น facilitator ช่วยเหลือ กระตุ้น หรือให้เนื้อหาเเก่ผู้เรียนได้บ้าง เเต่การเกิดความรู้ในสมองของผู้เรียนเเต่ละคนนั้น ต้องอยู่ที่ตัวผู้เรียนเอง 
  • จะต้องมีการจัดองค์ประกอบต่างๆให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งรวมเรียกว่า Scaffolding ซึ่งเป็นคำที่มีความสำคัญมากของการเรียนรู้เเบบ Constructivism เพราะ หมายรวมถึง บทบาทของครูผู้สอนที่ต้องมีทักษะ การโน้มน้าว เหนี่ยวนำ เเนะนำ เเละตั้งคำถาม การจัดทำสื่อการสอน เเละการเตรียมเเหล่งค้นคว้าต่างๆให้พร้อมตอบสนองต่อการหาคำตอบของผู้เรียน


อันที่จริงคำว่า Constructivism เป็นคำที่มีการใช้กว้างขวางกว่าการจัดการเรียนการสอน โดย Constructivist เป็นคำที่อธิบายถึงปฏิกิริยาของมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์สังคม ที่ชอบมีความช่างสงสัย ความอยากรู้ เเละพยายาม explore สิ่งต่างๆอยู่ตลอดเวลา ในการเรียนรู้เเต่ละอย่างนั้น มนุษย์จะอยากเข้าไปมีส่วนร่วม เเละพยายามหาความหมายให้กับตนเอง หากไม่มีส่วนร่วมเเละไม่มีความหมายเเล้ว การเรียนรู้นั้นมักจะล้มเหลว

คำว่า Construct ยังต้องการสื่อความหมายอีกว่า มีการก่อสร้าง ความรู้ใหม่ ขึ้นบนความรู้เก่าในสมอง ดังนั้นสำหรับการเรียนรู้เเบบ Constructivism นี้จึงให้ความสำคัญว่า ขณะที่มีการก่อสร้างองค์ความรู้เเต่ละครั้งนั้น ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่ดีหรือไม่ การเรียงตัวจัดวางองค์ความรู้ใหม่เหมาะสมหรือไม่ เเละมีการใส่หลังคาหรือการสรุปรวบยอดขององค์ความรู้ที่ได้รับไปในครั้งนั้นสมบูรณ์หรือไม่

การจัดการเรียนการสอนตามเเนวทางทฤษฎีนี้ มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเรียนที่คุ้นเคยกันดีเช่น PBL, Project-based learning, Case discussion หรือเเม้เเต่ Cooperative learning ที่บางครั้งมีการจัดบทบาทให้นักเรียนมาเป็นผู้สอนเอง 

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีการสอนเเบบใดก็ตาม ล้วนเเต่ให้ความสำคัญกับหลักการดังนี้

  • ให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าด้วยตนเอง 
  • ให้ผู้เรียนได้หาความหมายที่เกี่ยวข้องของการเรียนในหัวข้อนั้นๆ 
  • ให้นักเรียนฝึกจัดวางความรู้ใหม่บนความรู้เก่าเอง เเละสุดท้าย
  • ให้นักเรียนได้ฝึกสื่อสาร นำเสนอ ข้อสรุปที่ได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นได้รับฟัง



เมื่อเข้าใจหลักการเเละเเนวคิดของ Constructivism เเล้ว น่าจะเฉลยคำถามที่ค้างคาใจเหล่านักการศึกษายุคทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ได้ไม่มากก็น้อยว่า ทำไม reward เเละ punishment ถึงใช้ไม่ได้กับนักเรียนทุกคน หรือทุกสถานการณ์

เป็นที่ทราบกันดีว่าการเรียนการสอนเเบบ Constructivism เองก็มีข้อจำกัด หลายประการ เช่น 
  • ความรู้พื้นฐานของผู้เรียนเเต่ละคนหากมีไม่เท่ากัน ก็ย่อมจะเก็บเกี่ยวความรู้ใหม่ได้ไม่เท่ากัน 
  • ในกระบวนการย่อยเเละการจัดเก็บความรู้ใหม่นั้น ผู้เรียนก็อาจจะมี learning skill ที่ไม่เท่ากัน
  • ทักษะของครูเเต่ละคนในฐานะ facilitator ก็อาจจะเเตกต่างกัน
ดังนั้นในการเรียนเเต่ละครั้ง นักเรียนจะมีความเสี่ยงที่จะได้ความรู้ไปไม่เท่ากัน เเม้ครูจะสอนเหมือนกัน เเละสอนเวลาเดียวกัน บางคนอาจจะรับไปได้ 60-70% ของที่สอน บางคนรับได้ 90-100% หรือบางคนสามารถต่อยอดความคิดนั้น ให้เป็นความรู้ใหม่ ช่วยคนอื่นให้เข้าใจเพิ่มขึ้นได้ 


หลักการสอนเเบบ Constructivism จึงให้ความสำคัญกับการวางเเผนการสอน (instruction design) มาก ครูต้องรู้ว่า นักเรียนควรจะได้เนื้อหาอะไรไปในเเต่ละครั้งที่เรียน เเละต้องจัดทำ guiding ให้นักเรียนว่าควรเรียนรู้เรื่องอะไร เนื่องจากการให้นักเรียนลงมือ "ค้นคว้าเเบบอิสระ" ก็อาจจะมีความเสี่ยงว่านักเรียนจะไม่ได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

หวังว่าเมื่ออาจารย์ใหม่เเละน้องๆ Resident, Fellow ได้รู้จักทฤษฎีทางการศึกษาที่ชื่อ Constructivism นี้เเล้ว จะได้ทราบที่มาที่ไปว่า ทำไมต้องให้น้องๆนักศึกษาเเพทย์เรียนรู้ด้วยตนเอง ทำไมต้องคอยตั้งคำถาม เเละทำตัวเราให้เป็น facilitator เท่านั้น ไม่ใช่จะเอาเเต่จัด mini lecture สอนน้องอยู่ตลอดเวลา เเละมีหลักการเเนวคิดอะไรที่รองรับการจัดการเรียนการสอนเเบบ PBL, Project-based learning เพราะ เท่าที่เห็นคือทั้งเสียเวลา เเละอ้อมไปอ้อมมาไม่เหมือนฟังอาจารย์ lecture เเต่ในที่สุดเเล้ว วิธีการเรียนเเบบ Constructivism เหล่านี้จะทำให้น้องๆนักศึกษาเเพทย์ "เข้าใจ" เนื้อหาได้มากกว่า ประยุกต์ใช้ความรู้นั้นได้ดีกว่า สนใจการเรียนมากกว่า เเละที่สำคัญมีความรู้ retain อยู่ในหัวได้นานกว่า

CR:1. https://en.wikipedia.org/wiki/Constructivism_(philosophy_of_education)
2. https://en.wikipedia.org/wiki/Constructivist_teaching_methods
3. https://en.wikipedia.org/wiki/Instructional_scaffolding
4. https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/constructivist-theory/
5. http://i.dailymail.co.uk/i/pix/2016/08/14/20/3714644100000578-3740325-image-a-104_1471201833790.jpg
6. http://www.hltmag.co.uk/feb15/sart06_02.jpg
7. https://georgiacrossnd.files.wordpress.com/2013/04/cropped-learning-quotes-91.jpg
8. http://19xnly3cl9rt2qvk731lwbxpeay.wpengine.netdna-cdn.com/wp-content/uploads/2011/01/a-constructivist-classroom.jpg
9. https://markbondffl.files.wordpress.com/2016/01/constructivism.jpg
10. http://www.popopstudios.com/wp-content/uploads/2011/12/sdlcis559.jpg



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม