กิจกรรมนักศึกษาในศตวรรษที่ 21


เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้รับมอบหมายให้บรรยายเรื่อง กิจการนักศึกษาในศตวรรษที่ 21
ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องที่เหล่านักวิชาการทางเเพทยศาสตรศึกษา ไม่ค่อยจะได้เข้าไปยุ่งมากซักเท่าไหร่ ส่วนตัวเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ท้าทาย ว่าเราจะมีทิศทางในการพัฒนางานกิจการนักศึกษา ให้ร่วมสมัยไปกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร

ถ้าเราพิจาณากิจกรรมนักศึกษาในปัจจุบัน จะพบว่ามีสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่เน้นพัฒนา Head and Heart เเละกลุ่มที่เน้นพัฒนา Hands กลุ่มพัฒนา Head and Heart คือกลุ่มที่เน้นให้นักศึกษา ทำกิจกรรมคิดวิเคราะห์ต่างๆ เช่น  วิเคราะห์ตนเอง วิเคราะห์สังคม หรือเน้นเข้าสู่ความรู้สึกเเละหัวใจของตนมากๆ เช่น กลุ่มจิตปัญญา เป็นต้น

ส่วนกลุ่ม Hands ก็คือกลุ่มที่เน้น การทำกิจกรรมที่ใช้มือสัมผัส เรียกเหงื่อมากๆ เช่น การออกค่าย โดยเฉพาะปัจจุบัน เห็นว่ากลุ่มนี้สร้างสรรค์กันมาก ขนาดพานักศึกษาไปปั่นจักรยาน หรือลงทำนา เป็นต้น

ประเด็นคือ ไม่ว่าจะอยู่กลุ่มไหน ที่ผ่านมา กิจกรรมนักศึกษาได้รับความสำเร็จเป็นอันมาก กิจกรรมส่วนใหญ่ นักศึกษารู้สึกว่า “ชอบ” อาจารย์ที่ดูเเลกิจการนักศึกษา ก็รู้สึกว่า “ใช่” 

สรุปภาพรวมของกิจการนักศึกษาทุกเเห่ง เท่าที่สังเกตได้จะมี 3 keywords คือ เปิดกว้าง มีพลัง พร้อมเพรียง ซึ่งเป็นจุดเเข็งของกิจกรรมนักศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะหากเปรียบเทียบกับกิจกรรมพัฒนาอาจารย์เเล้ว เรียกว่าเเทบจะตรงข้ามคือ กิจกรรมพัฒนาอาจารย์เท่าที่เห็นมี 3 keywords เหมือนกันคือ ปิดเเคบ อ่อนล้า มาไม่ครบ คือ อาจารย์ส่วนใหญ่มักจะไม่เปิดกว้างยอมรับความคิดใหม่ๆ อาจารย์เเพทย์ภาระงานมาก มาเข้ากิจกรรมเเบบขอไปที บางครั้งอาจจะโดนบังคับมา จึงไม่มีพลังสร้างการเปลี่ยนเเปลง เเละที่สำคัญอาจารย์มักจะมาไม่พร้อมเพรียง คือ มาไม่ค่อยครบ ตั้งเป้าไว้ 100 คน มาจริง 80 คน เเละที่อยู่ครบจนเลิกอบรมจริงๆ มักจะมีเเค่ 50 คนเท่านั้น

การที่กิจกรรมพัฒนานักศึกษามีจุดเเข็งดังกล่าวนั้น ทำให้มีโอกาสพัฒนาได้มาก หากได้ ทิศทางที่ชัดเจน เเละเข้ากับยุคสมัยเเล้ว จะสามารถตอบโจทย์สถาบัน เเละสร้างบุคลากรที่มีคุณค่าเเก่ประเทศได้ดีทีเดียว ทิศทางที่เสนอให้ทีมกิจการนักศึกษาในวันนั้นคือ การพัฒนาตามเเนวทางของ Frenk J, Chen L, et al. Health professionals for a new century: transforming education to strengthen health systems in an interdependent world (1) ตัวเนื้อหาของบทความนี้ คิดว่าหลายท่านคงจะผ่านหูผ่านตากันมามากเเล้ว  เพราะอยู่ในกระเเสนิยมทีเดียว จะขอสรุปให้เห็นภาพชัดเจนว่า สิ่งที่ ต้องการจากการปฏิรูปการศึกษาตามเเนวคิดกลุ่ม 21st century นี้มี 2 ประการคือ Instructional reform เเละ Institutional reform

Instructional reform คือการเปลี่ยนเเปลงวิธีการเรียนการสอน เนื้อหาที่สอน เเละเเน่นอนการประเมินผล ให้ได้การเรียนการสอนที่เป็นเเบบ transformative learning เเละได้ product ที่เป็น change agent การเรียนการสอนที่เป็นเเบบ transformative ต่างจากการเรียนการสอนปัจจุบันอย่างไร เเละ change agent คืออะไรนั้น ขออนุญาตยกยอดไปเล่าให้ฟังคราวต่อๆไป เพราะต้องอธิบายกันยาวทีเดียว


ส่วนการปฏิรูปสถาบันหรือ  Institutional reform มีมิติมากมาย สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก reference ที่ให้ไว้ข้างท้าย เเต่ที่สำคัญ เเละเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการปฏิรูปการเรียนการสอนของเเพทย์ปัจจุบันคือ การจัดการเรียนการสอนในสถานที่ ที่ใกล้เคียงกับบริบทที่เเพทย์จะจบไปปฏิบัติงานจริง สถาบันการศึกษาของเเพทย์ในศตวรรษที่ 21 จึงไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่ที่ คณะเเพทย์ หรือศูนย์เเพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกขนาดใหญ่อีกต่อไป เเต่การเรียนรู้ได้ย้ายพิกัดไปสู่ โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์อนามัยชุมชน เเละตัวชุมชนเอง ขณะนี้ ทาง สบพช. ได้กำลังนำเอาเเนวคิดนี้มาปฏิบัติอย่างเข้มข้น ในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากการเป็น โรงเรียน เเพทย์ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข จึงมีจุดเเข็งที่จะทำให้เกิดระบบการศึกษาเเบบ interdependent นี้เป็นอย่างมาก หากได้ความคืบหน้าเป็นประการใด จะมาเล่าให้ฟังในโอกาสหน้าเช่นกัน

โดยสรุป เเนวคิด 21st century มี ข้อเสนอการปฏิรูป 10 ข้อ ดังตารางข้างล่าง


ที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับกิจการนักศึกษาเเน่ๆคือ ข้อ 2, 6, 8, 10 นั่นคือ กิจการนักศึกษา ต่อไปนี้ ควรจะมี component ต่างๆ เช่น

  • Interprofessional/ transprofessional education นั่นคือ ควรจัดกิจกรรมให้มีการเรียนรู้ “จาก” สหวิชาชีพอื่นเเละเรียน “ร่วม”กับวิชาชีพอื่นด้วย อาจจะเป็น สายวิทยาศาสตร์สุขภาพด้วยกัน หรือพัฒนาต่อไปจนเป็นการเรียนรู้ จากวิชาชีพอื่นนอกวิทยาศาตร์สุขภาพก็จะดีมาก   เพราะการเป็นเเพทย์ในศตวรรษที่ 21 คงไม่สามารถรู้เเค่วิชาชีพเเพทย์อย่างเดียวเท่านั้นได้เเล้ว
  • Promote new professionalism ประเด็นนี้จริงๆกล่าวไว้กว้างพอสมควร เเต่ที่ดูจะ เป็น high light มากคือ กิจกรรมนักศึกษา ยุคใหม่จะต้องพยายามสร้างให้นักศึกษาเเพทย์ได้ develop skill ที่เป็น leadership เเละ change agent
  • Expand from academic centers to academic systems อันนี้มีความสำคัญมากเพราะ การพัฒนานักศึกษาที่มีทิศทาง จะช่วยทำให้ ข้อนี้ประสบผลสำเร็จได้เป็นอันมาก คือ การให้นักศึกษาได้สัมผัสชุมชน โรงพยาบาลชุมชนที่ตัวเองจะได้ไปปฏิบัติงานในอนาคต การเรียนการสอนยุคใหม่จะไม่ได้อยู่ เเต่ที่คณะเเพทย์หรือศูนย์เเพทย์ ขนาดใหญ่อีกต่อไปเเล้ว วิชาความรู้ทางเทคนิกการเป็นเเพทย์ ก็ไม่เพียงพอเพราะ นักศึกษา จะต้องได้เรียนรู้ระบบสุขภาพที่ตัวเองจะได้ไปปฏิบัติงานในอนาคตด้วย หากกิจการนักศึกษาได้คิดถึงโรงพยาบาลชุมชน ชุมชน เเละระบบสุขภาพมากขึ้น จะช่วยทำให้ สร้างเเพทย์เเห่งศตวรรษที่ 21 ได้สัมฤทธิ์ผลอย่างดี
  • Nurture the culture of critical enquiry หมายถึงการที่กิจกรรมนักศึกษาในยุคใหม่ จะต้องส่งเสริมให้ นักศึกษา คิดวิเคราะห์ หาหลักฐานเชิงประจักษ์ มายืนยัน เเนวคิด วิธีปฏิบัติของตัวเอง เเพทย์ยุคใหม่เเตกต่างจากเเพทย์ยุคก่อนคือ ควรจะมีการรู้จักตั้งคำถาม ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ พยายามหาคำอธิบาย ค้นคว้าหาคำตอบ เเละในการถกเถียงเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องใดๆ ก็ยืนอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ ไม่ใช่เเค่ conceptual debate ไปวันๆ

สรุป
การพัฒนากิจการนักศึกษาในศตวรรษนี้ ต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ
1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน หากเอาตามเเนวคิดของ 21st century education คือ ให้พัฒนาจนได้ leader/ change agent โดยมีกระบวนการเรียนรู้เป็นเเบบ transformative คือเปลี่ยนเเปลงจากข้างใน จนได้มุมมองเเละอุปนิสัยใหม่ที่พึงประสงค์

2. กิจกรรมนักศึกษาไม่ควรจำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนควรจะได้ไปสัมผัสชุมชน เห็นบริบทที่นักศึกษาจะได้ไปปฏิบัติงานจริงให้มาก เนื่องจากจะได้ความรู้ที่นอกเหนือไปจากความรู้ทางเทคนิกการเป็นเเพทย์เท่านั้น

ส่วนที่อยากจะฝากทิ้งท้ายคือ การทำโครงการกิจกรรมนักศึกษา ใดๆ ควรจะได้มีการประเมินผล เเละประชาสัมพนธ์ให้ทราบทั่วกันว่าได้ผลเป็นอย่างไร ควรจะนำกิกรรมนี้ไปใช้ต่อในที่อื่นๆหรือไม่ การประเมินนี้อาจจะเริ่มต้นด้วยการเป็น project evaluation เเต่ต่อไปควรพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัยในอนาคต

Reference:
1. Frenk J, Chen L, et al. Health professionals for a new century: transforming education to strengthen health systems in an interdependent world. The Lancet Dec 4, 2010, vol 376; pp 1923–58 doi:10.1016/S0140- 6736(10)61854-5)

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม