Medical Education Equity



Medical Education Equity คือ การพยายาม ลดความเหลื่อมล้ำ (inequity) ทางการศึกษาด้านเเพทย์



ซึ่งเมื่อมองการจัดการศึกษาระบบใหญ่ของประเทศเเล้ว มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาสามารถเข้าถึงการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆได้ โดยเฉพาะการศึกษาวิชาชีพทางสาธารณสุข เนื่องจากมีความหวังว่า เมื่อเค้าได้รับโอกาสที่หยิบยื่นให้เเล้ว วันหนึ่งเค้าจะตอบเเทนสังคมด้วยเช่นเดียวกัน

ในประเทศไทยของเรา มีตัวอย่างโครงการมากมายที่ผ่านมา ที่ตอบโจทย์การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้านแพทย์ เช่น โครงการ MESRAP ของคณะเเพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ โครงการ พชบ หรือ แพทย์ชนบทของมหิดล ตลอดมาจนถึงโครงการ CPIRD ในปัจจุบัน
พบว่า โจทย์เรื่องความเหลื่อมล้ำ (inequity) ของประเทศไทยเเตกต่างจาก inequity ในต่างประเทศคือ ของเราส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง เศรษฐานะทางสังคมของนักศึกษาเเละผู้ปกครอง ซึ่งต่างจากในต่างประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง เพศ สีผิว เชื้อชาติ เเละผู้อพยพมากกว่า

ปัจจุบันคำที่นิยมใช้ในเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมลำ้คือ “inclusiveness” ซึ่งก็มีทั้ง inclusiveness ทางการบริการสาธารณสุข (service inclusiveness) เเละทางด้านการศึกษา (educational inclusiveness)

ดังนั้นถ้ามองให้ดีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางแพทยศาสตรศึกษาของเรา หรือ Medical Education Equity นี้ สามารถตอบโจทย์ inclusiveness ได้ทั้ง 2 ด้านพร้อมๆกัน คือทั้ง service inclusiveness เเละ educational inclusiveness เนื่องจาก Medical Education Equity สามารถเพิ่ม service equity via educational equity ได้

นั่นคือการที่เราไม่หลงลืมผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา เเละทำให้น้องๆจากภูมิลำเนาที่ห่างไกลสามารถเข้าเรียนเเพทย์ได้นั้น ผลผลิตของคนกลุ่มนี้จะกลับเข้าไปเติมเต็ม ลดความเหลื่อมล้ำทางการบริการสาธารณสุขในพื้นที่ที่ห่างไกลนั้นได้ในอนาคต

บางครั้งในบางโครงการก็อาจจะไม่ได้คิดเช่นนี้ เเต่มีการคิดเเยกกันระหว่าง educational equity เเละ service equity เช่น มีการให้ทุนน้องๆในชนบทเพื่อไปศึกษาสาขาวิชาต่างๆ ทั้งระดับปริญาตรี โท เเละเอกในต่างประเทศ แล้วเมื่อจบมาน้องๆสามารถทำงานอยู่ที่ไหนก็ได้ หรือในอีกมุมหนึ่งคือ เปิดโอกาสให้น้องๆจากที่ไหนก็ได้ เข้ามาเรียนเเพทย์ โดยคิดว่าสุดท้ายเราจะตรึงน้องๆให้อยู่ในชนบทได้โดยการใช้ค่าปรับสูงๆหรือ สัญญาชดใช้ทุนเป็นเวลานานๆ ซึ่งพบว่า ไม่ประสบความสำเร็จทั้งสองกรณี

ดังนั้นจึงเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางเเพทยศาสตรศึกษาทั้งหมดของประเทศ ได้นำเอาทั้ง 2 concepts คือ service equity เเละ educational equity มาเชื่อมโยงกัน จนสามารถเลือกบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาเเละมีความเหลื่อมลำ้ในระบบสาธารณสุข ให้เข้ามาเรียนแพทย์ จากนั้นก็มีภาระผูกพันที่เหมาะสม เพื่อให้เค้าเหล่านั้นกลับไปปฏิบัติงานใช้ทุนในพื้นที่บ้านเกิดของตัวเอง ซึ่งได้พิสูจน์เเล้วว่า อัตราการคงอยู่ในพื้นที่ สูงกว่าการที่เลือกคนจากที่ไหนก็ได้มาเรียนโดยผูกพันด้วยทุนที่เท่ากัน



CR:



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม