ความเหมือนในความต่างของ Fam Med เเละ Emergency Physician

ที่ผ่านมาทาง สบพช ได้จัดเวทีเเลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนาศูนย์เเพทย์ให้เป็นเเหล่ง postgraduate training สาขาต่างๆ โดยเริ่มจาก 2 สาขาที่อยู่ในนโยบายส่งเสริมพิเศษ (มาก) ของท่านผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขก่อนคือ FM (Family Medicine) เเละ EP (Emergency Physician)

ต้องขอขอบคุณน้องๆจากทั้ง 2 สาขาที่มาช่วยกันวางเเผนกลยุทธ์การพัฒนาต่างๆ จนได้เเผนพัฒนาศูนย์เเพทย์ด้าน postgraduate training ของ 2 สาขานี้ ในปี 2560-2563 เพื่อนำเสนอผู้บริหารในการสนับสนุนทรัพยากร เเละจะได้ดำเนินการพัฒนาตามเเนวทางที่เสนอต่อไป

จากการพูดคุย เเละการนำเสนอของสมาชิกที่ประชุม มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า ทั้ง 2 สาขานี้เเม้จะมีลักษณะการทำงานที่เเตกต่างกันมาก เเต่โอกาสพัฒนาของทั้ง 2 สาขานี้กลับคล้ายกันอย่างมาก

น้องๆได้ฝากโอกาสพัฒนาที่เป็นประเด็นสำคัญไว้ 3 ประเด็นคือ
1. ระบบสุขภาพที่เอื้อต่อการทำงานเเละพัฒนางานของ FM เเละ EP
เรื่องเเรกนี้ทางฝั่ง FM ได้เปรียบไปหลายขุม เพราะที่ผ่านมามีนโยบาย PCC (Primary Care Cluster) ที่เป็นการ วาง service delivery system ที่ใช้ family care team เป็นฐาน ซึ่งหากนโยบายนี้ดำเนินการได้เต็มที่จริง น้องๆ FM ก็จะได้ "ที่ยืน" ในระบบสุขภาพของไทยอย่างชัดเจน คือการเป็น first contact ให้ผู้ป่วย เเละได้รับผิดชอบการพัฒนางานส่งเสริมป้องกัน ทำให้ประชาชนทั่วไปมีโรคน้อยลง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถเรียกสั้นๆว่า "ผู้ให้บริการด่านเเรก" ของระบบบริการสุขภาพ

ส่วนทาง EP อาจจะต้องช่วยกันทำความเข้าใจกับเเพทย์สาขาอื่น เเละผู้บริหารโรงพยาบาลอีกสักพัก เพื่อให้เห็นบทบาทที่สำคัญในการลด morbidity เเละ mortality ของผู้ป่วยได้ จากการที่มีเเพทย์ผู้เชียวชาญสาขา EP เป็น "ผู้ให้บริการด่านหน้า" อย่างเต็มรูปเเบบ

2. ความต้องการเพิ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 สาขา
จากการที่กระทรวงมีนโยบายเพิ่มเเพทย์ FM ให้มี 6,500 คนใน 10 ปี เเละ เพิ่มเเพทย์ EP ให้เป็น 1,000 คน เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูล* ว่า เเพทย์ FM ที่อยู่ใน รพศ/รพท มีประมาณ 240 คน เเละ เเพทย์ FM ที่อยู่ใน รพช อีกประมาณ 340 คน ส่วนเเพทย์ EP ทั้งที่ รพศ/ รพท เเละ รพช อีกเล็กน้อยนั้น มีประมาณ 150 คน

ดังนั้นการจะทำให้ service delivery system ในข้อ 1 ดำเนินการได้ดีนั้น ขั้นเเรกต้องช่วยกันผลิตทั้งเเพทย์ FM เเละ EP ให้ขึ้นมาในปริมาณที่เหมาะสมก่อน ภารกิจนี้ทั้งสบพช เเละศูนย์เเพทย์ต่างๆจะต้องมีส่วนช่วยเหลืออย่างเต็มที่

3. การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเเละมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาวิชาชีพของตนเอง
เรื่องนี้เป็นที่ประจักษ์อย่างยิ่งเมื่อน้องๆทั้ง 2 สาขาเข้ามาประชุม เเละให้ข้อมูลในด้านต่างๆ พบว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะประสบผลสำเร็จในการพัฒนายุทธศาสตร์ทั้ง 2 ข้อข้างต้น เพราะไม่ว่าจะเป็นสมาชิกกลุ่มเเพทย์ FM หรือ EP ก็จะมีกลุ่มที่ไฟเเรงเเละเป็น core group ในการทำข้อมูล เสนอเเนวทางพัฒนา เเละเชื่อมโยงกับสมาชิกคนอื่นๆในกลุ่มอยู่เสมอ สิ่งที่ทั้ง 2 วิชาชีพกำลังจัดทำข้อเสนอให้ผู้บริหารพิจารณาไม่ได้มีเเค่การพัฒนากำลังคน ที่สบพช มีส่วนเกี่ยวข้อง เเต่มีทั้งเรื่องการพัฒนาระบบงาน ค่าตอบเเทน เเละการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ

ดังนั้น สบพช ขอชื่นชม เเละเป็นอีกหนึ่งกำลังใจ ให้กับน้องๆ FM เเละ EP ในการที่จะพัฒนาวิชาชีพของตนเองให้ไปถึงฝั่งฝันที่วางไว้โดยเร็ว

* ข้อมูลจากระบบ GIS อาจมีความคลาดเคลื่อนจากการปฏิบัติงานจริง



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม