Grasha-Riechmann 5 Teaching Styles

หากเเบ่งอาจาร์เเพทย์อย่างเราเป็น 5 เเบบ อาจารย์เเพทย์กลุ่มไหนจะเป็น "ความท้าทาย" ของเรียนการสอนเเบบ student-centered learning


พบอยู่เสมอว่า หากต้องการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรหรือวิธีการสอนให้เป็น  student-centered learning อุปสรรคใหญ่ มักไม่ใช่จากตัวนักเรียนเอง เพราะเเม้นักเรียนจะมีสไตล์การเรียนที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ก็พร้อมที่จะปรับให้เข้ากับวิธีการเรียนการสอนแบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากอย่างน้อย นักเรียนทุกคนก็จะต้องถูกประเมินผลและต้องการคะแนน

แต่ในส่วนของอาจารย์นั้นแตกต่างกัน อาจารย์แต่ละคนมีสไตล์การสอนที่ไม่เหมือนกัน มีความเชื่อในเรื่องการศึกษาที่แตกต่างกัน ทำให้หลายๆครั้งการปรับการเรียนการสอน ให้เป็นแบบ student-centered learning อาจจะได้รับการคัดค้าน จากอาจารย์ที่มีสไตล์การสอนบางรูปแบบได้

Grasha-Riechmann ได้เเบ่งสไตล์การสอนออกเป็น 5 แบบ เรามาลองดูกันว่า จะมีอาจารย์แบบใดบ้าง ที่ถือเป็น "ความท้าทาย" ของผู้จัดการหลักสูตร ในการที่จะต้องไปโน้มน้าวให้อาจารย์ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนของตนเอง เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มที่ ตามปรัชญาของการศึกษายุคใหม่ ที่พยายามให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

TS 1: Expert type
อาจารย์ที่มีสไตล์การสอนรูปแบบนี้ จะคำนึงว่า แหล่งความรู้ทั้งหมดทีนักเรียนควรรู้ อยู่ที่ตัวอาจารย์ทั้งหมด นักเรียนไม่ต้องค้นคว้าจากที่ใดเพิ่มเติม เพียงแค่สามารถติดตามเลคเชอร์ เข้าชั่วโมงเรียน อ่านเอกสารการสอน หรือตำราที่อาจารย์เป็นคนเขียนอย่างครบถ้วน แค่นี้ก็เป็นการเพียงพอแล้วที่นักเรียนจะประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ อาจารย์กลุ่มนี้ เป็นผู้มีบารมีทางวิชาการ คือเป็น authority ระดับประเทศ จึงมีเเนวคิดเช่นนี้ ดังนั้นผู้จัดการหลักสูตรต้องถือว่าอาจารย์กลุ่มนี้เป็นโอกาสพัฒนา คืออาจจะต้องมีการเชื้อเชิญให้เข้ากิจกรรมพัฒนาอาจารย์อย่างสมำ่เสมอ เพื่อจะได้ปรับมุมมอง และให้เกิดความมั่นใจว่า นักเรียนของเราสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ เเละการที่ให้นักเรียนได้ไปค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายนั้น เป็นการฝึกนักเรียนเพื่อให้เป็น lifelong learner ในระยะยาว

TS 2: Formal Authority type
อาจารย์กลุ่มที่ 2 นี้ จะถือว่าความรู้ ทักษะการทำหัตถการ เเละเจตคติมุมมองของตนนั้น เป็นมาตรฐาน ใครที่คิดเห็นแตกต่างจากนี้ผิด กลุ่มนี้อาจจะไม่ได้บีบบังคับให้นักเรียนต้องมาฟังเลคเชอร์ของตน หรือบางครั้ง อาจจะลามไปถึง ไม่ค่อยสอนนักเรียนด้วยซ้ำ อาจารย์กลุ่มนี้ยอมรับให้นักเรียนไปเรียนรู้ด้วยตนเองได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อนักเรียนไปได้ความรู้มาจากแหล่งอื่นที่อาจารย์ไม่ได้ยอมรับ หรือทำหัตถการบางอย่างไม่เหมือนกับเทคนิกของอาจารย์แล้ว อาจารย์กลุ่มนี้จะปฏิเสธองค์ความรู้เหล่านั้นได้ง่ายๆ ดังนั้นอาจารย์กลุ่มนี้จึงคล้ายกับอาจารย์กลุ่มเเรก คือเป็นความท้าทายของผู้จัดการหลักสูตร ที่จะต้องเชื้อเชิญให้มาเข้ากิจกรรมพัฒนาอาจารย์ เพื่อให้เห็นว่า ในโลกยุคปัจจุบัน องค์ความรู้สามารถมาได้หลากหลาย ไม่มีคำว่า มาตรฐานที่จะเป็นมาตรฐานเดียว การบริบาลรักษาผู้ป่วย สามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามบริบทที่เหมาะสม

TS 3: Personal Model type
กลุ่มนี้ถือว่า การสอนของตน เป็นตัวอย่างตัวอย่างหนึ่งที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ เมื่อนักเรียนได้ค้นคว้ามาแล้ว สามารถนำมาพูดคุยเเลกเปลี่ยน เเละเปรียบเทียบกับสิ่งที่อาจารย์ทำอยู่ได้ อาจารย์กลุ่มนี้น่าจะเป็นอาจารย์ในฝัน เนื่องจากจะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ แบบ student-centered learning อย่างเเท้จริง แถมยังสามารถ ได้ฝึก critical thinking skill ได้เปรียบเทียบ ได้พัฒนา อาจารย์กลุ่มนี้มีปรัชญาการเรียนรู้อยู่ที่ว่า เมื่อตนเองได้สอนนักเรียน ตนเองก็ได้เรียนรู้ไปด้วย

TS 4: Facilitator type
อาจารย์กลุ่มนี้ น่าจะตรงไปตรงมาที่สุด ว่าชอบการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง อาจารย์จะมีความสุขที่ได้เห็นนักเรียนสร้างองค์ความรู้ของตัวเองขึ้นมา จากการไปค้นคว้าเเละดำเนินการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีอาจารย์เป็น facilitator คอยตั้งคำถาม คอยช่วยเเนะนำแหล่งความรู้ต่างๆให้ อาจารย์กลุ่มนี้ควรได้รับเชิญมาเล่าประสบการณ์เเละเทคนิกการสอนของตนเองในกิจกรรมพัฒนาอาจารย์ เพื่อให้อาจารย์กลุ่มอื่นได้เห็น good teaching role model

TS 5: Delegator type
อาจารย์กลุ่มนี้ จะเน้นการเเนะนำ การจ่ายงาน เเละ lead การเรียนรู้ของนักเรียนมากกว่าอาจารย์ในกลุ่ม facilitator เพราะอาจารย์กลุ่มนี้ จะมีเป้าหมายที่ชัดเจนอยู่เเล้วว่า ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้อะไร ลึกเท่าไหร่ ในเวลาไหน โดยสิ่งที่อาจารย์กลุ่มนี้ทำคือ การแจกงาน จ่ายคำถาม ให้นักเรียนไปค้นคว้า และกลับมานำเสนอ อาจารย์กลุ่มนี้ เป็นแรงเสริมที่ดี ในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน แต่เมื่อนักเรียนเป็นชั้นปีที่สูงขึ้น อาจารย์อาจจะต้องยอมขยับออกมา ให้นักเรียนมีบทบาทในการ lead การเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมพัฒนาอาจารย์ที่ดีน่าจะเป็นโอกาสให้อาจารย์กลุ่มนี้ได้เรียนรู้ facilitator skills มากขึ้น

โดยสรุป อาจารย์กลุ่มที่มีความคิดว่า ตนเองเป็นแหล่งขององค์ความรู้ทั้งหมด หรือตนเองเป็นมาตรฐานมาตรฐานเดียวเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้นั้น จำเป็นจะต้องได้รับการเชื้อเชิญ ให้เข้ากิจกรรมพัฒนาอาจารย์อย่างสมำ่เสมอ  เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และให้เข้าใจข้อดีของการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเป็น life long learner ของนักเรียน ซึ่งคาดหวังว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี เนื่องจากอาจารย์ทุกคน ย่อมปรารถนาดีต่อศิษย์อยู่เเล้ว การที่อาจารย์กลุ่มนี้เน้นการสอนมากกว่าการเรียน ที่จริงก็เป็นความปรารถนาดีชนิดหนึ่ง แต่อาจจะเป็นความปรารถนาดีในระยะสั้น  ซึ่งถ้าเป็นความปราถนาดีในระยะยาวแล้ว อาจารย์อาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอน เพื่อให้นักเรียนเป็นเจ้าของ กิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น

CR:
1. http://www.montana.edu/gradschool/documents/A-Matter-of-STyle-Grashab.pdf
2. http://longleaf.net/teachingstyle.html
3. https://passnownow.com/wp-content/uploads/2014/07/Teaching-Style..png
4. https://www.sandiegounified.org/sites/default/files_link/district/files/dept/teacher_preparation_and_support_/Pictures/teacher2.jpg
5. https://img.clipartfest.com/5d6c7dd1077fed1581b4c00d63749d2a_gazette-communication-101-teaching-styles-clipart_572-461.jpeg
6. https://image.slidesharecdn.com/teachingstylestiffanywang-110501131545-phpapp02/95/effect-teaching-styles-8-728.jpg?cb=1304256587
7. https://onlineexamsindia.files.wordpress.com/2014/09/central-university-recruitment.jpg




ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม