Systematic Review of Flipped Classrom Research


เมื่อ Flipped Classroom ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่โด่งดังที่สุดในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้องเผชิญหน้ากับการตรวจสอบจาก systematic review ว่ามีประโยชน์กว่าการสอนเเบบเดิมๆหรือไม่



 ...... เราต้องตามไปดูกันว่า Flipped Classroom จะได้ผ่านเข้ารอบต่อไปในสังเวียน Medical Education หรือไม่

งานวิจัยในปี 2017 ของ Chen F. เเละคณะ ได้ลงทุนลงเเรงทำ systematic review จาก 82 papers ที่เข้าข่ายว่ามีคุณภาพ เพื่อตอบคำถามคาใจชาว Med Ed ว่าวิธีการสอนเเบบ Flipped Classroom ดีกว่าการสอนเเบบอื่นจริงหรือ

ผลการศึกษาออกมาว่า

ยังขาด solid evidence ที่จะบอกว่า วิธีการสอนเเบบ Flipped Classroom ส่งผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนมากกว่าวิธีดั้งเดิม โดย effect size (d) = -0.27-1.21 เเละมี median อยู่ที่ 0.08



ผลการศึกษาของ papers เหล่านี้มีทิศทางที่เเตกต่างกัน ทั้งสนับสนุนเเละขัดเเย้งกับวิธีการดังกล่าว

ผลงานวิจัยส่วนใหญ่เเสดงให้เห็นว่า วิธีการสอนเเบบ Flipped Classroom เพิ่ม motivation เเละ engagement ของนักเรียนต่อวิชานั้นๆจริง เเต่ยังต้องการงานวิจัยในการพิสูจน์ผลระยะยาวของ Flipped Classroom ในส่วนของ knowledge retention เเละ การนำความรู้ไปใช้ในการดูเเลผู้ป่วย

อีกสิ่งหนึ่ง ที่นักวิจัยทีมนี้พบคือ ในทศวรรษที่ผ่าน มีงานวิจัยเกี่ยวกับ Flipped Classroom ใน Medical Education มากขึ้นจริง ซึ่งน่าจะเป็นความหวังได้ว่า ในอนาคตจะมีคำตอบที่ดีกว่าเเละชัดเจนมากกว่าปัจจุบัน



เมื่อผลการศึกษาเป็นเช่นนี้ อาจารย์เเพทย์อย่างเราอาจจะอยากลงไปดูในรายละเอียดด้วย เนื่องจากการที่ผลลัพธ์ของ Flipped Classroom ไม่ได้เเตกต่างจากวิธีเดิมๆ อันที่จริงก็เป็น "เรื่องดี" อยู่เเล้ว เพราะมีเเต่คนกังวลว่า เมื่อเราไม่ lecture หรือหยุดวิธี bombard information ให้นักศึกษาเเพทย์เเล้ว ผลสัมฤทธิ์การเรียนของน้องๆนักศึกษาเเพทย์จะด้อยลง

เเต่สำหรับผู้ที่คาดหวังให้วิธีการสอนเเบบ Flipped Classroom มีผลสัมฤทธิ์ดีกว่าวิธีเดิมนั้น ก็อาจจะยังไม่ต้องผิดหวัง เพราะต้องมาเจาะกันว่า "วิธีดั้งเดิม" ของเเต่ละ paper นั้น เค้าหมายถึงอะไร เพราะในตะวันตก วิธีการสอนเเบบ "วิธีดั้งเดิม" คงไม่น่าจะเป็น large class lecture เเล้ว ไม่มากก็น้อยก็ต้องเป็นวิธีการ active learning, student-centered learning คล้ายๆ Flipped Classroom อย่างเเน่นอน ดังนั้นหลายคนจึงไม่เเปลกใจที่ผลการวิจัยออกมาว่า ไม่เเตกต่างกัน

CR:
Chen, F., Lui, A. M. and Martinelli, S. M. (2017), A systematic review of the effectiveness of flipped classrooms in medical education. Med Educ, 51: 585–597. doi:10.1111/medu.13272

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม