Huawei Open Lab โอกาสเชื่อมโยงวิชาการเเพทย์เเละเทคโนโลยีสารสนเทศลำ้สมัย

ขอขอบคุณบริษัท Huawei ประเทศไทย เเละราชวิยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ให้โอกาสได้เข้าไปเปิดหูเปิดตารับรู้ถึงเทคโนโลยีสุดล้ำ Smart Hospital, Smart Campus ที่สำนักงานใหญ่บริษัท Huawei ประเทศไทย




ทำให้เห็นว่าเทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things ที่ได้ยินมาหนาหูในระยะปีที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นของไกลตัวหรือ Hype อีกต่อไป

บริษัท Huawei ประเทศจีนเเละ Huawei ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับองค์กรรัฐเเละเอกชนหลายองค์กรในการพัฒนา Solution IoT เรื่องต่างๆ เพื่อให้ ประชาชนสะดวกสบาย มีคุณภาพชีวิตที่ดี เเละปบอดภัยมากขึ้น



งานที่ทำไปเเล้วส่วนหนึ่งคือการพัฒนา Solution ให้กับโรงพยาบาลเเละมหาวิทยาลัยในการพัฒนาการรักษาพยาบาลเเละการเรียนการสอน

ซึ่งลำพังแค่ Telemedicine เเละ Teleeducation คงไม่ใช่เรื่องที่ต้องตื่นเต้นมากเท่าไหร่ เเต่การที่อุปกรณ์ทุกตัวที่อยู่แวดล้อมเราในโรงพยาบาลเเละใน Campus สามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต เเละมี censor คอยดักจับข้อมูลเเละรายงานผลให้เราได้นั้น เป็นเรื่องที่ breakthrough อย่างยิ่ง 



ข้อมูลทั้งหลายจะถูกส่งขึ้น cloud computing เเละมีการวิเคราะห์ข้อมูล เเบบ Big data analysis เเละมีการตั้ง algorithm ให้ อุปกรณ์บางตัวสามารถสื่อสารกัน เเละจัดการ task บางอย่างให้เรียบร้อยก่อนถึงมือมนุษย์ได้ ซึ่งได้เกิดขึ้นจริงเเล้ว ไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป



ที่น่าสนใจมากที่บริษัท Huawei ประเทศไทยจัดไว้ให้เพื่อการศึกษาพัฒนาคือ Open Lab หรือห้องทดลองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจัดไว้ให้กับบุคคลภายนอก หรือสถาบันที่สนใจ พัฒนา Solution ใหม่ๆ ได้เข้ามาทำการทดลอง โดยปัจจุบันมีหลากหลายองค์กรในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานตำรวจเเห่งชาติ มหาวิยาลัย เเละบริษัทเอกชนต่างๆ เข้ามาพัฒนา Solution smart city กับ Huawei อยู่



เราตระหนักกันเป็นอย่างดีว่า ในการทำงานยุคปัจจุบัน ไม่มีใครจะเก่งที่สุดคนเดียวอีกเเล้ว การทำงานสร้างสรรค์ย่อมจะต้องมี collaborative partnership ไม่ใช่ competitive partnership หรือ เป็นความสัมพันธ์ เเบบผู้ซื้อกับผู้ขาย อย่างเดียว Open Lab ที่ว่า น่าจะเป็นเเหล่งพัฒนาความเขื่อมโยงระหว่าง งานทางการเเพทย์ที่มี demanding มากขึ้นเรื่อยๆ กับเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ที่สามารถช่วยผ่อนเเรงบุคลากรทางสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี 



น้องๆอาจารย์เเพทย์รุ่นใหม่ๆที่สนใจ IT ถ้ามีคู่ มีทีมทำงานด้าน IT ก็น่าจะลองติดต่อเข้ามาพัฒนางานใน Open Lab ดู เพื่อสุดท้ายเเล้ว วงการเเพทย์ทั้งมวลก็จะได้ประโยชน์จาก Solution ทั้งทางการรักษาพยาบาล เเละการศึกษาที่พัฒนาขึ้นในอนาคต

สรุป ..... เรื่อง IoT หรือ Internet of Things ไม่น่าเป็นเรื่องไกลตัวอาจารย์เเพทย์ อีกต่อไปเเล้วหรือไม่ .....เพราะเท่าที่เห็นคิดว่า ตัวเทคโนโลยีน่าจะมีความพร้อมเเล้วในระดับหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาทั้งวงการการศึกษาเเละการรักษาพยาบาล .... ตอนนี้อยู่ที่ใครจะเป็นคนเชื่อม 2 ศาสตร์สาขานี้ เข้าหากัน ..... ขณะนี้มีหลักสูตรเเพทยศาสตร์หลายหลักสูตรที่เน้นเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะธรรมดาๆอย่าง medical informatics ไปจนถึงเรื่องสุดล้ำอย่าง medical engineering .... น่าสนใจว่า ..... ในอนาคตเราจะมีเเพทย์ที่มีความรู้ความสามารถเเตกต่างกันไปตามสถาบันที่จบมา น่าจะช่วยพัฒนาวงการเเพทย์ประเทศไทยได้ครบองค์ครบเครื่องขึ้นอีกมาก




ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม