การคัดเลือก resident ด้วยวิธีการ MMI (Multiple Mini Interview)


ระยะหลังเห็นมีหลายสถาบันได้นำ MMI (Multiple Mini Interview ) มาใช้ในการคัดเลือก เเพทย์เรียนต่อหลังปริญญามากขึ้น ทำให้รู้สึกว่า อาจารย์เเพทย์หลายเเผนกให้ความสำคัญกับการคัดเลือก resident กันมากขึ้นกว่าเดิม เเละได้หยิบเอา tool ที่มีประโยชน์มากๆมาใช้ ขอเเนะนำให้ศูนย์เเพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สถาบัน หรือสาขาวิชาที่ยังใช้ traditional interview อยู่ หันมาใช้ tool ดีๆ เเบบนี้บ้าง เพราะดีทั้ง validity เเละ reliability ส่วน feasibility นั้น ก็ไม่ได้ยากเกินไป หากตั้งใจดีๆ ใช้ คณะกรรมการหลายๆคนช่วยกันสร้างคำถาม  ก็ไม่ได้ยากเกินเเรงเเน่นอน

MMI อันที่จริงก็คือ การสัมภาษณ์ ที่เเบ่งออกเป็น station ต่างๆ 5-10 station ใช้เวลา station ละ 5-10 นาที จึงทำให้สามารถกระจายข้อคำถามที่สำคัญต่างๆในการสอบสัมภาษณ์ได้ครบถ้วน เพิ่ม validity ของการสอบ เเละที่สำคัญ การประเมินเเบบใช้ check list เเละ อาจารย์ผู้ประเมินที่ประจำ staion นั้นๆ ได้รับการฝึกฝนเเละมีประสบการณ์ ในการสัมภาษณ์หัวข้อนั้นๆ มาเป็นอย่างดี จึงทำให้ reliability ดีกว่าการสอบสัมภาษณ์เเบบโบราณมาก

ต้องบอกว่า MMI นี้มีชื่อเสียง เเละประสบความสำเร็จมาจาก การใช้คัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อระดับ undergraduate มาก่อน ดังมี systematic review ในปี 2013 (1) สรุปว่า MMI ไม่ได้เพิ่มจำนวน อาจารย์ที่ใช้ในการสอบสัมภาษณ์ ไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายของสถาบัน ไม่เสียเวลาเพิ่มมากขึ้น เเต่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ยุติธรรม เเละที่สำคัญ มี reliability ค่อนข้างสูง คือ Cronbach's alpha 0.69-0.98 นอกจากนี้ MMI ยังมีความน่าสนใจอีกคือ ไม่ associate กับ คะเเนนการสอบสัมภาษณ์เเบบเก่า เเต่สัมพันธ์กับการสอบ OSCE เเละการสอบใบประกอบวิชาชีพของเเเพทยสภาในอนาคตของนักศึกษาเเพทย์

เมื่อเห็นเช่นนี้เเล้ว คงห้ามไม่ได้ ที่คณะกรรมการคัดเลือก resident คิดจะนำ tool นี้มาใช้ในการ คัดเลือก resident บ้างอย่างเเน่นอน หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่า การที่ MMI ใช้งานได้ดีในการคัดเลือกนักศึกษาระดับ undergraduate จะสามารถ คัดเลือก resident ได้ดีด้วยหรือไม่ ลองมาดู evidence ที่มีรายงานกัน เช่น อันเเรกนี้ มาจาก ตะวันออกกลาง เเละตีพิมพ์ปี 2014 (2) เค้าลองใช้ MMI ในบริบทที่ไม่ใช่ตะวันตก เค้าใช้กับ resident ทุกสาขา ใน Dubai Residency Training Program ซึ่งคงมีไม่มากเเละสามารถจัดการสอบร่วมกันได้ พบว่า การใช้ MMI 8 station ทำให้ได้ค่า reliability ของการสอบสูงถึง 0.8 ทีเดียว

อีก paper หนึ่ง ก็น่าสนใจ เป็นการรายงานการใช้ MMI ในการคัดเลือก resident เเผนก ER ตีพิมพ์ในปี 2014 เช่นเดียวกัน (3) พบว่า การใช้ MMI 8 station ก็ให้ผลเป็นที่น่าพอใจเช่นเดียวกัน คะเเนน MMI correlate กับเกรด วิชา ER ที่เคยได้ เเละ เเพทย์เกียรตินิยมก็ทำคะเเนน MMI ได้ดีกว่า เเละที่น่าสนใจใน paper นี้คือ คนที่ได้คะเเนน MMI ต่ำ ก็มีคะเเนนต่ำจาก ใบ recommend ที่เป็น standardized global rating score ด้วยเช่นกัน paper นี้ ยังเหนียมอายที่จะยกเลิกการสัมภาษณ์เเบบเก่า ก็เลยเสนอเเบบ mixed model ในการคัดเลือกอยู่ เเต่ก็สร้างสรรค์มาก ในการที่คิดจะทำวิจัยเพื่อดูต่อว่า คะเเนน MMI นี้ correlate กับคะเเนน performance ตอนเป็น resident ในอนาคตหรือไม่

มี paper ในปี 2014 จากคณะเเพทย์ McGill ที่มีชื่อเสียงมากของ Canada ก็มีรายงานการใช้ MMI ในการคัดเลือก resident ENT (4) ด้วยเช่นเดียวกัน เเต่เป็นการทำสำรวจความพึงพอใจ พบว่า  ร้อยละ 80 ของผู้สมัครสอบพึงพอใจ ว่า การสอบเเบบนี้ ทำให้พวกเค้าได้เเสดงศักยภาพด้านต่างๆออกมาอย่างเต็มที่ มากกว่าการสัมภาษณ์เเบบเดิมๆ ในขณะเดียวกันร้อยละ 85 ของอาจารย์ผู้ประเมินเห็นด้วยว่า การสอบ MMI นี้ valid กับ competency ต่างๆที่คณะกรรมการต้องการ เเละ สามารถทดสอบคุณสมบัติของผู้สมัครได้กว้างกว่าการสอบสัมภาษณ์เเบบเดิมๆ เเละร้อยละ 70 ของทั้งผู้สมัครเเละอาจารย์ผู้คุมสอบเห็นพ้องกันว่า MMI ยุติธรรม เเละชอบการสอบคัดเลือกชนิดนี้ มากกว่าการสอบเเบบเดิม

ในปี 2011  เคยมี การรายงานการใช้ MMI ในการคัดเลือก resident เวชกรรมฟื้นฟูด้วย (5) โดยสนใจคุณสมบัติอื่นๆ นอกจาก ความสามารถเชิงวิชาการ ในการคัดเลือก resident เช่น  communication, health advocacy, managerial and collaborative skills เค้าจึงหันมาใช้ MMI เป็น tool ในการตรวจสอบคุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งพบว่า ดีกว่าการใช้วิธีการสัมภาษณ์เเบบเดิมๆ เเละพบว่าการจัด MMI นั้นเป็นไปได้ คุ้มเวลา คุ้มราคา เเละมี interrater reliability ที่ดี

จริงๆก็ มีอีก หลายรายงานที่พูดถึงข้อดีเเละข้อจำกัดของการใช้ MMI ในการคัดเลือก resident เเต่พบว่า ส่วนใหญ่มีการตอบรับที่ดี เเละมีประเด็นที่ทำการศึกษากันมาก เกี่ยวกับเรื่องจำนวน station โดยบางรายงานบอกว่า หากเพิ่มจำนวน station ขึ้นเป็น 10 station จะสามารถเพิ่ม reliability ขึ้นมาได้มาก (6) เเต่มีบางรายงานบอกว่า การเริ่มต้น MMI ที่ 5 station ก็สามารถได้ reliability ที่ดีเเล้ว (7)

ดังนั้นประเด็นสำคัญอาจจะไม่ได้อยู่ที่ว่า เราจะทำ MMI 5, 8 หรือ 10 station เเต่เราจะเริ่มทำ MMI กันเมื่อไหร่ต่างหาก เป็นที่ทราบกันดีว่า การสอบสัมภาษณ์เเบบ traditional interview นั้น มีข้อดีอยู่อย่างเดียวคือ มี face validity ที่ดี เเปลว่า “ดูดี” นอกนั้นยังไม่สามารถบอกได้เลยว่า มี validity หรือ reliability ดีกว่าวิธีอื่นๆอย่างไร ดังนั้นสถาบันใดที่ยังใช้ traditional interview ในการสัมภาษณ์ resident อยู่ เห็นทีต้องตั้งต้นศึกษา วิธีการ MMI อย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อพัฒนา การคัดเลือกของตนเองเสียเเล้ว เเละหากจำนวน resident รวมของสถาบันมีไม่มาก เช่น ใน ศูนย์เเพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ก็สามารถจัดสอบสัมภาษณ์รวมได้เลย เพราะจริงๆเเล้ว คุณลักษณะหลัก (core attribute) ทาง non academic ที่ภาควิชาต่างๆอยากได้ ในตัว resident  เเต่ละคน ก็จะคล้ายๆกันอยู่เเล้ว การจัดสอบทีเดียวเเละเอาคะเนน MMI ไปเป็นส่วนหนึ่งของคะเเนนคัดเลือกทั้งหมด เช่น ร้อยละ 60-70 ก็เป็นวิธีการที่น่าสนใจทีเดียว  ในระยะเเรกของการเริ่มต้นการใช้ MMI ในแต่ละสถาบัน


1.Pau A, Jeevaratnam K, Chen YS, Fall AA, Khoo C, Nadarajah VD. The Multiple Mini-Interview (MMI) for student selection in health professions training - a systematic review. Med Teach. 2013 Dec;35(12):1027-41. doi: 10.3109/0142159X.2013.829912.

2. Ahmed A1, Qayed KI, Abdulrahman M, Tavares W, Rosenfeld J. The multiple mini-interview for selecting medical residents: first experience in the Middle East region. Med Teach. 2014 Aug;36(8):703-9. doi: 10.3109/0142159X.2014.907875.

3. Hopson LR, Burkhardt JC, Stansfield RB, Vohra T, Turner-Lawrence D, Losman ED. The multiple mini-interview for emergency medicine resident selection. J Emerg Med. 2014 Apr;46(4):537-43. doi: 10.1016/j.jemermed.2013.08.119.

4. Campagna-Vaillancourt M, Manoukian J, Razack S, Nguyen LH. Acceptability and reliability of multiple mini interviews for admission to otolaryngology residency. Laryngoscope. 2014 Jan;124(1):91-6. doi: 10.1002/lary.24122.

5. Finlayson HC, Townson AF. Resident selection for a physical medicine and rehabilitation program: feasibility and reliability of themultiple mini-interview. Am J Phys Med Rehabil. 2011 Apr;90(4):330-5. doi: 10.1097/PHM.0b013e31820f9677.

6. Dore KL, Kreuger S, Ladhani M, Rolfson D, Kurtz D, Kulasegaram K, Cullimore AJ, Norman GR, Eva KW, Bates S, Reiter HI. The reliability and acceptability of the Multiple Mini-Interview as a selection instrument for postgraduate admissions. Acad Med. 2010 Oct;85(10 Suppl):S60-3. doi: 10.1097/ACM.0b013e3181ed442b.

7. Fraga JD, Oluwasanjo A, Wasser T, Donato A, Alweis R. Reliability and acceptability of a five-station multiple mini-interview model for residency program recruitment. J Community Hosp Intern Med Perspect. 2013 Dec 17;3(3-4). doi: 10.3402/jchimp.v3i3-4.21362.

Rajin Arora MD.


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม