เเนวทางการพัฒนาอาจารย์ตาม PSF Thailand

ได้ยินกันมามาก สำหรับ competency ของนักศึกษาเเพทย์ ..... เเล้ว competency ของอาจารย์เเพทย์ล่ะควรเป็นเช่นไร?






ประเทศไทยมีเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาอาจารย์บ้างหรือไม่ ..... คนเป็นอาจารย์ ต้องมีการพัฒนาความสามารถด้านใดบ้าง อย่างไร?


อาทิตย์ก่อน มีการจัดประชุมโดยสกอ. เกี่ยวกับ PSF  (Professional Standard Framework) หรือเกณฑ์การพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยด้านการเรียนการสอน 


ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีมากสำหรับระบบการศึกษาไทย ที่ให้ความสำคัญกับภาระงานด้านการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้าง ไม่ใช่ให้ความสำคัญเเต่ภาระงานด้านงานวิจัยเเละการบริการเท่านั้น





สกอ.ได้วิทยากรมือดี รศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร ที่ ปรึกษา รมช.กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งอาจารย์ท่านดูมีความเข้าใจเรื่องการเรียนการสอนเป็นอย่างดี นำเสนอได้กระชับ ตรงประเด็น เเละมีเเนวทางการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ท่านทราบปัญหาอย่างดีว่า ทำไมนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ของไทย จึงยังอยู่ในระบบการสอนของศตวรรษที่ 20 :)


ที่ผ่านมา สกอ. ได้มีคณะทำงานพัฒนาเกณฑ์พัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอนหรือ PSF นี้มานานเเล้ว โดยได้ตัวอย่างที่ดีมาจาก PSF ของอังกฤษเเละออสเตรเลีย เเละได้นำมาดัดเเปรงให้เข้ากับบริบทไทย เเละมีมหาวิทยาลัยที่นำไปใช้นำร่องเเล้ว 2-3 เเห่งเช่น ม.สงขลานครินทร์ ม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ เเละ ม.เทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น





เกณฑ์ PSF ของไทยที่กำลังจะประกาศใช้นั้น focus การพัฒนาอาจารย์ทั้งสิ้น 3 องค์ประกอบ คือ 

1. ความรู้ของอาจารย์ในวิชาชีพของตน เเละความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอน 

2. สมรรถนะของอาจารย์ในเรื่องการเรียนการสอน ที่ไม่ใช่เเค่มีความรู้ เเต่ต้องทำเป็น เเละปฏิบัติให้เห็นได้ด้วย 

3. ค่านิยมของอาจารย์ ด้าน Professionalism การพัฒนาตนเองอย่างสมำ่เสมอ เเละการดำรงตนอยู่ในจรรยาบรรณวิชาชีพอันดีงาม


ภายใต้ 3 องค์ประกอบข้างต้น รวมมี 8 มิติการพัฒนา โดยเเต่ละมิติมีขั้นบันไดการพัฒนา 4 ขั้น ทำให้เราสามารถเห็นภาพการเป็น roadmap ในการพัฒนาอาจารย์ระดับอุดมศึกษาได้เป็นอย่างดี





เกณฑ์ Thai PSF นี้เเต่ละมหาวิทยาลัยจะรับไปจัดทำ รายละเอียดเเนวทางการกำหนดความก้าวหน้าของบุคลากรสายอาจารย์ทุกสาขาวิชา ทั้งนี้เพื่อจะได้รับประกันได้ว่า ได้มีการเตรียมความพร้อมผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่างๆ ก่อนการเป็นอาจารย์  ส่วนผู้ที่อยู่ในสถานะอาจารย์มานานๆ ก็จำเป็นต้องพัฒนาตัวด้านการเรียนการสอนตามเเนวทางนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้เหมาะสมคู่ขนานไปกับการขึ้นตำเเหน่งวิชาการใน field ความเชี่ยวชาญของตัว



หากทุกอย่างเป็นไปตามเเผนที่ สกอ วางไว้ ต่อไปในอนาคต เราจะไม่มีคำกล่าวที่ว่า การเป็นอาจารย์เป็นสิ่งที่ง่ายเเสนง่าย ใครๆก็เป็นได้ เพียงเเค่ see one,  do one , teach one  เท่านั้น ก็เป็นอาจารย์ได้เเล้ว :)





 











ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม