เรียนรู้ Professionalism ผ่านประวัติศาสตร์การเเพทย์

เราจะสอน Medical Professionalism เเละ Bioethics กันอย่างไร ?

เราจะสอน History of Medicine กันอย่างไร ให้ประสบผลสำเร็จ ?

ยังขอเชียร์ว่า History of Medicine เป็นขุมทรัพย์ที่มีค่าในการจัดการเรียนการสอน Medical Professionalism ให้กับนักศึกษาเเพทย์ เเละ Resident เเละไม่ควรเเยกการสอน History of Medicine ออกจาก Medical Professionalism 

หลายสถาบันพยายามจัดการเรียนการสอน ให้นักศึกษาได้ expose ต่อวิชาประวัติศาสตร์การเเพทย์ เเม้จะมีเเนววิธีการสอน เเละรายวิชาที่เเตกต่างกันไป เเต่มีบางสิ่งที่เหมือนกันคือ

1. จัดการสอนในชั้นปีต้นๆ 
ซึ่งนักศึกษาเเทย์ยังไม่เห็นความสำคัญของเทคโนโลยี เทคนิกการรักษา หรือความยากลำบากในการพัฒนานวตกรรมต่างๆในวงการเเพทย์

2. การเรียนการสอน หลักคือ การบรรยาย 
เเต่หลายเเห่งใช้การสอนที่เป็น student centered learning approach 
ซึ่งยืนยันว่า "ทำได้" เเละ "ทำได้ดี" ทีเดียว นั่นคือการ assign หัวข้อเรื่องให้นักศึกษาไปค้นคว้าเเละกลับมานำเสนอให้เพื่อนๆฟัง ซึ่งเห็นสไลด์ของน้องๆนักศึกษาเเล้วรู้สึกทึ่งทุกครั้งไป

3. การเรียนประวัติศาสตร์การเเพทย์ไม่อยู่โดดเดี่ยว 
เเต่ถูกมัดรวมไว้กับวิชาเวชจริยศาสตร์หรือ Professionalism ของสถาบัน ซึ่งมีข้อดีคือ ได้เห็น passion เห็นความมุ่งมั่น ความปราถนาดีต่อผู้อื่น เห็นความยากลำบาก ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนเเปลง เเละความไม่ย่อท้อต่อความลำบาก ของเหล่าบุคคลสำคัญในวงการเเพทย์ เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งนวตกรรมทางการเเพทย์เเละสาธารณสุข ที่จะช่วยขจัดทุกข์ให้กับประชาชนในวงกว้าง

มีงานเขียนถอดบทเรียน เเละงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนว่า การจัดการสอน History of Medicine ร่วมไปกับวิชา Bioethics หรือ Professionalism คือการ "มาถูกทาง" เเล้ว เเละมีความสำคัญอย่างมากด้วย เนื่องจากนักศึกษามักจะไม่รู้ความสำคัญของวิชาเหล่านี้ "ก่อนสอน" นั่นหมายถึงว่า "ถ้าไม่สอนก็จะไม่รู้เเละไม่ตระหนัก" จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดการเรียนการสอน

เเต่พบว่า ทั้ง 2 วิชาคือทั้ง History of Medicine เเละ Bioethics ก็ประสบชะตากรรมเดียวกัน เมื่อถูกจัดให้สอนเเต่ในนักศึกษาชั้นปีต้นๆ เพราะน้องๆจะขาดความสนใจ  ไม่มี engagement เเละผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่ดีเท่าที่ควร

ประเด็นท้าทายจึงอยู่ที่

1. จะทำอย่างไรให้วิชา History of Medicine เเละ Bioethics ถูกสอดเเทรกอยู่ในชั้นปีต่างๆ 
เช่น ชั้นปีสูงๆ โดยเฉพาะเมือ่ใกล้จบไปเป็นเเพทย์ หรือถูกจัดให้สอนในระดับ resident หรือ คอร์สการพัฒนาอาจารย์เเพทย์ด้วย เนื่องจากยิ่งจบไปเป็นเเพทย์เเล้ว หรือกำลังเรียนในชั้นปีที่สูงๆ ย่อมจะมองเห็นความสำคัญ เเละเข้าใจเนื้อหาของ 2 วิชานี้ได้ดีกว่าเมื่อยังเป็นนักศึกษาเเพทย์ตัวน้อยๆ 

เเม้การเรียนการสอนวิชาเหล่านี้ในชั้นปีที่สูงจะเกิด impact ได้มากกว่า เเต่ถ้าได้สอดเเทรกมาตลอดตั้งเเต่ชั้นปีต้นๆ ย่อมจะดีที่สุด เพราะนักศึกษาจะได้มี awareness ตั้งเเต่ต้น ได้เห็นความมุ่งมั่นของการจัดทำหลักสูตร เนื่องจากมีให้เรียนทุกปี เเละยิ่งปีสูงๆขึ้นไป ยิ่งจะเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น


2. การให้นักศึกษาหรือผู้เรียนมีสิทธิเลือกหัวข้อที่ไปค้นกว้าเองน่าจะดีกว่าการ assign งานให้เป็นกลุ่มๆอย่างที่ทำกันมา 
มีการถอดบทเรียนจากการปฏิบัติจริงให้เห็นว่า เราสามารถให้นักศึกษาเลือกโรค condition หรือ specialty ที่นักศึกษาสนใจ เเล้วลองให้โอกาสไปค้นคว้าถึงพัฒนาการ เเละต้นตอของการวินิจฉัยการรักษาโรคเหล่านั้น จะทำให้นักศึกษามีความสนใจ engage กับการเรียนมากกว่า การให้ไปค้นคว้าการเเพทย์ในยุคต่างๆเช่น อิยิปต์ กรีก โรมัน เเละอื่นๆ

สรุป งานเขียนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน History of Medicine อาจจะมีไม่ค่อยมาก เเต่การพัฒนาการสอนวิชาเหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้จาก การเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเเชร์ประสบการณ์ของผู้รับผิดชอบเเต่ละสถาบัน การเรียนรู้ History of Medicine ร่วมไปกับ Medical Professionalism เป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจ เเละหลายสถาบันใช้เเล้วได้ผล สถาบันต่างๆอาจจะต้องการปรับการเรียนการสอนทั้ง 2 วิชานี้ให้เข้ากับหลักสูตรเเละบริบทของตนเอง เเละที่สำคัญต้องปรับเเต่งให้เข้ากับบริบทของเเพทยศาสตรศึกษาไทยด้วย

CR:
1. Shedlock J, Sims RH, Kubilius RK. Promoting and teaching the history of medicine in a medical school curriculum. Journal of the Medical Library Association : JMLA. 2012;100(2):138-141. doi:10.3163/1536-5050.99.100.2.014.

2. Perspective: Teaching and Mentoring the History of Medicine An Oslerian Perspective
Bryan CS, Longo LD. Acad Med 2013, 88(1); 97–101. doi: 10.1097/ACM.0b013e31827653f5

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม