ครูที่ดีไม่ใช่เป็นเพียงเเค่นักเลคเชอร์
Good Teacher is more than a lecturer
ประโยคนี้เป็นหัวข้อ article ของ Professor Harden เเละ Joy Crosby ในปีคศ. 2000 โดยเป็น AMEE Guide หมายเลขที่ 20 ซึ่งมีเนื้อหารายละเอียดบ่งบอกถึงบทบาทครูเเพทย์ 12 ประการ ที่ทีมพัฒนาอาจารย์เเพทย์ของ สบพช ได้ใช้เป็นเเนวทางการพัฒนาอาจารย์มาจนถึงปัจจุบัน
ในฐานะที่รับผิดชอบสอนหัวข้อนี้เป็นหัวข้อเเรกสำหรับครูเเพทย์ใหม่ จึงพยายามให้น้องๆอาจารย์เเพทย์ใหม่ได้เห็นปัญหา ภาพรวมของเเพทยศาสตรศึกษาก่อน จากนั้นให้น้องๆช่วยกันคิดว่าจะเเก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร จากนั้นก็ถามน้องๆว่า ถ้าอยากเเก้ปัญหาต่างๆ เเล้วเราเอาเเต่ เลคเชอร์ เลคเชอร์เเละเลคเชอร์ ปัญหาเหล่านั้นจะถูกเเก้หรือไม่
น้องๆก็มักจะตระหนักว่า เมื่อนักเรียนเปลี่ยนไปเเล้ว เเพทยศาสตรศึกษาเปลี่ยนไปเเล้ว เเล้วเราจะเอาเเต่สอนเลคเชอร์อยู่เช่นเดิมได้อย่างไร ….. ครูเเพทย์ก็จำเป็นต้องเปลี่ยน
บทบาทของครูเเพทย์ 12 ประการคือ
1.Lecturer in classroom
2.Teacher in clinical setting
3.On the job role model
4.Role model in teaching setting
5.Mentor
6.Learning facilitator
7.Formal examination
8.Curriculum evaluator
9.Curriculum planner
10.Course organizer
11.Producer of study guide
12.Developer of learning resource
บทบาทครูเเพทย์ 12 ประการนี้ ไม่เหมือน เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่ 10 อย่าง เพราะ ในการเป็นครูเเพทย์เรามีบทบาทบังคับอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ถูกให้รับผิดชอบ บทบาทเหล่านี้เป็น fight บังคับ ดังนั้นเราจึงต้องฝึกฝนให้ชำนาญ ใช้เทคนิกที่ทันสมัยไม่ out เช่น ควรทำเลคเชอร์เป็นเเบบ interactive ใช้เกมส์/ app ต่างๆมาช่วย เพื่อ engage นักเรียนให้มากขึ้น
บทบาทที่เหลือก็มีอาจารย์เเพทย์จำนวนหนึ่งที่อาจจะรับผิดชอบเพิ่มเติม เช่น บางท่านได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้วางเเผนหลักสูตร หรือ ทำการประเมินหลักสูตร บางท่านก็รักอยากจะทำบางบทบาทเพิ่มเติม เเละทำได้ดีเป็นพิเศษ ซึ่งสถาบันควรส่งเสริมเช่น การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ทั้ง offline เเละ online เป็นต้น
สรุป บทบาทครูเเพทย์ที่ดี 12 ประการนี้ไม่ได้บังคับว่าทุกท่านจะต้องทำทั้ง 12 ประการ เเต่ให้พิจารณาว่าบทบาทใดเป็นบทบาทจำเป็น ก็จะต้องพัฒนาตนให้สามารถทำได้ดี เเละหากมีเวลาว่าง มีความสนใจในเเพทนศาสตรศึกษาก็อาจจะมาช่วยกันเเสดงบทบาทอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของนักเรียนของเราต่อไป
CR: http://ltc.nutes.ufrj.br/constructore/objetos/teacher.pdf
ประโยคนี้เป็นหัวข้อ article ของ Professor Harden เเละ Joy Crosby ในปีคศ. 2000 โดยเป็น AMEE Guide หมายเลขที่ 20 ซึ่งมีเนื้อหารายละเอียดบ่งบอกถึงบทบาทครูเเพทย์ 12 ประการ ที่ทีมพัฒนาอาจารย์เเพทย์ของ สบพช ได้ใช้เป็นเเนวทางการพัฒนาอาจารย์มาจนถึงปัจจุบัน
ในฐานะที่รับผิดชอบสอนหัวข้อนี้เป็นหัวข้อเเรกสำหรับครูเเพทย์ใหม่ จึงพยายามให้น้องๆอาจารย์เเพทย์ใหม่ได้เห็นปัญหา ภาพรวมของเเพทยศาสตรศึกษาก่อน จากนั้นให้น้องๆช่วยกันคิดว่าจะเเก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร จากนั้นก็ถามน้องๆว่า ถ้าอยากเเก้ปัญหาต่างๆ เเล้วเราเอาเเต่ เลคเชอร์ เลคเชอร์เเละเลคเชอร์ ปัญหาเหล่านั้นจะถูกเเก้หรือไม่
น้องๆก็มักจะตระหนักว่า เมื่อนักเรียนเปลี่ยนไปเเล้ว เเพทยศาสตรศึกษาเปลี่ยนไปเเล้ว เเล้วเราจะเอาเเต่สอนเลคเชอร์อยู่เช่นเดิมได้อย่างไร ….. ครูเเพทย์ก็จำเป็นต้องเปลี่ยน
บทบาทของครูเเพทย์ 12 ประการคือ
1.Lecturer in classroom
2.Teacher in clinical setting
3.On the job role model
4.Role model in teaching setting
5.Mentor
6.Learning facilitator
7.Formal examination
8.Curriculum evaluator
9.Curriculum planner
10.Course organizer
11.Producer of study guide
12.Developer of learning resource
บทบาทครูเเพทย์ 12 ประการนี้ ไม่เหมือน เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่ 10 อย่าง เพราะ ในการเป็นครูเเพทย์เรามีบทบาทบังคับอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ถูกให้รับผิดชอบ บทบาทเหล่านี้เป็น fight บังคับ ดังนั้นเราจึงต้องฝึกฝนให้ชำนาญ ใช้เทคนิกที่ทันสมัยไม่ out เช่น ควรทำเลคเชอร์เป็นเเบบ interactive ใช้เกมส์/ app ต่างๆมาช่วย เพื่อ engage นักเรียนให้มากขึ้น
บทบาทที่เหลือก็มีอาจารย์เเพทย์จำนวนหนึ่งที่อาจจะรับผิดชอบเพิ่มเติม เช่น บางท่านได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้วางเเผนหลักสูตร หรือ ทำการประเมินหลักสูตร บางท่านก็รักอยากจะทำบางบทบาทเพิ่มเติม เเละทำได้ดีเป็นพิเศษ ซึ่งสถาบันควรส่งเสริมเช่น การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ทั้ง offline เเละ online เป็นต้น
สรุป บทบาทครูเเพทย์ที่ดี 12 ประการนี้ไม่ได้บังคับว่าทุกท่านจะต้องทำทั้ง 12 ประการ เเต่ให้พิจารณาว่าบทบาทใดเป็นบทบาทจำเป็น ก็จะต้องพัฒนาตนให้สามารถทำได้ดี เเละหากมีเวลาว่าง มีความสนใจในเเพทนศาสตรศึกษาก็อาจจะมาช่วยกันเเสดงบทบาทอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของนักเรียนของเราต่อไป
CR: http://ltc.nutes.ufrj.br/constructore/objetos/teacher.pdf
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น