ทำอย่างไรจะสร้าง "วัฒนธรรม SBME" ในสถาบันการศึกษาเเพทย์?
หากพูดถึงเรื่อง SBME (Simulation-based Medical Education) ส่วนใหญ่จะตั้งคำถามเพียงว่า ทำอย่างไรจะพัฒนา SIM Center ให้ได้ดีเเละมีประสิทธิภาพ
อันที่จริงคำถามที่ใหญ่กว่าคือ ทำอย่างไรจะทำให้เกิด “วัฒนธรรม” การใช้ หุ่นจำลองหรือเหตุการณ์จำลอง (simulation) ในการสอนนักศึกษาเเพทย์อย่างเป็นระบบ ทำอย่างไรให้เกิดเป็น “วัฒนธรรม” ที่ยอมรับกันว่า “ต้องไม่ไปเเตะต้องคนไข้ก่อนที่จะฝึกปฏิบัติกับหุ่นให้เรียบร้อยก่อน”
สบพช ได้จัดตั้งคกก พัฒนาการเรียนการสอน SBME ขึ้น เเละได้ข้อสรุปเเนวทางการพัฒนา SBME ที่น่าสนใจหลายอย่าง ใน คกก มีตัวเเทนทั้งศูนย์เเพทย์ เล็ก กลาง เเละใหญ่ ดังนั้นการจัดทำโครงการ SBME เเละ Simulation Center ของ สบพช จึงคำนึงถึงบริบทเเละงบประมาณของเเต่ละศูนย์เป็นหลัก เเละอย่างที่สรุปกันในที่ประชุมเเล้วว่า จะต้องไม่ติดกับดัก SBME คือ ต้องไม่มัวเเต่มุ่งประเด็นไปที่เรื่อง Technology เเละการลงทุนซื้อหุ่นราคาเเพง ซึ่งอาจจะไม่มีการใช้ประโยชน์ ซึ่ง คกก SBME สบพช จึงไม่เริ่มที่การวางเเผนซื้อหุ่น เเต่เริ่มจากของที่ยากกว่า คือ การทำอย่างไรให้มีการบรรจุชั่วโมงสอนด้วย SIM ให้อยู่ใน curriculum
คกก ทราบดีกว่า เเก่นเเท้ของ SBME คือการพัฒนาเรื่อง Technic มากกว่า Technology นั่นคือ การพัฒนาการสอนของครูโดยใช้หุ่นจำลองเเละสถานการณ์จำลองเป็น tool โดยต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ให้เรียนเเบบ experiential learning เรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง (ซึ่งอาจารย์ยินดีให้ผิดพลาดในสถานการณ์จำลอง) เเละฝึกกระบวนการ reflection เพื่อพัฒนาทักษะของตน
หลังจากคกก ประชุมได้ข้อสรุปกันเเล้วในช่วงเช้า ในช่วงบ่ายได้มีโอกาสขอความรู้เเละเข้าเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการ SIM Center ของคณะเเพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้มีโอกาสเห็นศูนย์ SIM ขนาดใหญ่ถึง 3 ศูนย์ ซึ่งมีการจัดการเเละวัตถุประสงค์เเตกต่างกัน ได้รับความกรุณาจากทีมอาจารย์ที่ศิริราชจะเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้กับอาจารย์เเพทย์ใน ศูนย์เเพทย์ของ สบพช ต่อไป
เเนวทางที่คกก ของสบพช วางไว้ ในการพัฒนาเรื่อง SBME ของสบพช ในระยะเเรกคือ การพัฒนา เเบบ Pre-SIM/ SIM/ Post-SIM นั่นคือ
1.Pre-SIM
คือการพัฒนาสื่อการสอนต่างๆเพื่อจะได้สะดวกในการนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียน SIM เป็นการพัฒนาตามเเนวทางของ Flipped Classroom คือ การเตรียมคู่มือการทำหัตถการต่างๆให้พร้อมเพื่อนักเรียนจะได้ศึกษาเเบบ online ก่อนฝึก SIM การเตรียม clip VDO ทักษะทางคลินิกเเละหัตถการต่างๆไว้บน cloud เพื่อนักเรียนสามารถเรียกดูได้ ทั้งก่อนเเละหลังการเรียนกับหุ่นจำลอง ซึ่งเหล่านี้ สบพช มีเเผนจะทำเป็น Application ให้ นักศึกษาเเพทย์ได้ใช้ประโยชน์ได้ง่าย บน smart phone เพราะการจะเปลี่ยนวัฒนธรรมกับคนรุ่นใหม่จำเป็นจะต้องเข้าใจรสนิยม เเละมี tool ที่สามารถดึงดูดได้ตั้งเเต่ต้น
2.SIM
ทีมงาน สบพช ทราบดีว่า SBME ไม่ได้มีเอาไว้เพียงสอนหัตถการเท่านั้น SBME สามารถใช้สอนวิชาต่างๆในทางการเเพทย์ได้ทั้ง 3 domain คือ cognitive, psychomotor เเละ attitude domain SBME ที่คกก ช่วยกัน list นั้นมีมากกว่า หุ่นตัวเเพงๆราคาเป็นล้าน เเต่ SIM ในความหมายของคกก สบพช เริ่มตั้งเเต่
- Training box and model
- Animal model
- Simulated patient
- Game and simulation program to enhance decision making
- Basic specific task simulator
- Advanced interactive multitask simulator
- Simulated component for training advanced surgical skill
- VR (virtual reality)
ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่ว่าทุกศูนย์เเพทย์จะต้องมีเหมือนกันหมด เเต่เเนวทางการพัฒนาอุปกรณ์ เเละระบบ SBME เหล่านี้ จะเริ่มจากเป้าหมายที่ง่ายๆเเละใกล้ตัวคือ การตั้งคำถามว่า “เมื่อนักเรียนจบออกไปเเล้วจะต้องทำหัตถการอะไรได้บ้าง” ซึ่งทีมงานกลางของสบพช กำลัง draft เเนวทางตามเป้าประสงค์ดังกล่าว เพื่อติดตามพัฒนาศูนย์เเพทย์ต่างๆ โดยจากนี้ไป การลงทุนซื้อหุ่นจำลองหรือการพัฒนาห้อง SIM เเต่ละปีของเเต่ละศูนย์ ก็จะมีเป้าหมายชัดเจนไม่ได้เป็นเเบบ “คนใช้ไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้ใช้”
3.Post-SIM
ในกระบวนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองหรือ simultaion นี้ ที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นขั้นตอน Post-SIM นั่นคือ การ Debriefing ซึ่งเป็นจังหวะเวลาที่ครูผู้สอนเเละนักเรียนจะได้มีการให้ feedback กัน นักเรียนจะได้มีโอกาสคิดวิเคราะห์ ประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเองเพื่อพัฒนา ขั้นตอนนี้เป็นหัวใจของ SBME ที่ชอบพูดกันว่า SBME คือ “การได้เรียนรู้จากความผิดพลาด” ซึ่งเป็นการเปลี่ยน approach การเรียนรู้ของเเพทย์ จากการที่ต้องเคร่งเครียดทำให้ถูกต้องที่สุดตั้งเเต่ครั้งเเรก กลับกลายเป็นว่า นักเรียนสามารถเเตกทักษะหัตถการใหญ่ๆมาเป็น mini task เเละค่อยๆเรียนรู้ไปผิดพลาดไปไม่เป็นไร เเก้ไขกันไป จนสามารถทำทักษะหัตถการนั้นในภาพรวมได้ในที่สุด การ reflection สำคัญๆในขั้นตอน debriefing ก็ไม่พ้น การพูดคุย 3 ประเด็นคือ
1.What did i do well?
2.What didn't i do well?
3.What should i do to improve it?
ซึ่งขั้นตอนนี้ทั้งครูเเละนักเรียนจำเป็นจะต้องมีการฝึกฝนการทำ debriefing ไปสักระยะ จะสามารถทำขั้นตอนนี้ได้รวดเร็ว เเละมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้กับการเรียนการสอนในลักษณะอื่นได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการดูเเลคนไข้ข้างเตียง หรือการเข้าทำหัตถการจริงของนักเรียนเอง
โดยสรุป ทางสบพช ร่วมกับ 37 ศูนย์เเพทย์ ได้เห็นความสำคัญของการใช้ SBME ในการเรียนการสอนของเเพทย์ในศตวรรษที่ 21 เหตุเพราะ ไม่ว่านักเรียนจะจบออกไปเเล้วเป็น เเพทย์ researcher เเพทย์ advanced care หรือว่า เเพทย์ for community ไม่ว่าจะเป็นเเพทย์ทำงานที่ใดก็ตาม เเพทย์ก็ยังคงเป็นเเพทย์วันยังค่ำ เป็นผู้ที่ต้องมีทักษะหัตถการที่ทำได้ถูกต้องปลอดภัย ตามที่ Hippocrates ได้กล่าวไว้เมื่อ 2500 ปีก่อนว่า “First, do no harm”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น