3C in Educational Leadership

เมื่อเอ่ยคำว่า leadership อาจารย์เเพทย์หลายท่านอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว วันๆ ทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติ รักษาคนไข้ คอยสอนนักศึกษา เเค่นี้ก็เหนื่อยมากพอเเล้ว เเต่สำหรับคนที่เข้ามาช่วยงานเเพทยศาสตรศึกษา คงจะหนีบทบาท leadership ไปไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็น leadership with authority หรือ leadership without authority เนื่องจาก มีคำกล่าวไว้ว่า “medical education is management” ดังนั้นการที่จะทำให้ เเพทยศาสตรศึกษาบรรลุผลสำเร็จได้หรือไม่นั้น ย่อมต้องใช้ทักษะการบริหารมากทีเดียว


ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเเลกเปลี่ยนกับผู้บริหารศูนย์เเพทย์จากที่ต่างๆ ที่เข้ามารับการอบรม Educational Leadership ที่สบพช จัดให้ในช่วงที่ผ่านมา โดยสบพช ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาถ่ายทอดวิชาความรู้พร้อมเเลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านการบริหารกับผู้บริหารศูนย์เเพทย์


ในวันเปิดการประชุม ได้เเลกเปลี่ยนกับเหล่าผู้บริหารว่า การบริหารเเพทยศาสตรศึกษานั้น อาจจะต้องใช้องค์ความรู้เเละเทคนิกที่หลากหลาย เเต่มีหัวใจการบริหาร 3 ข้อที่นักบริหารการศึกษาพลาดไม่ได้ที่จะต้องนำเอามาใช้ เเละอาจารย์เเพทย์ที่เข้ามาช่วยงานเเพทยศาสตรศึกษาก็น่าจะได้ลองนำไปพิจาณณาดู เผื่อบางข้อจะตรงใจ หรือมีบางประเด็นที่เมื่ออ่านเเล้ว อาจจะคลายปมในใจบางอย่าง ทำให้ช่วยงานบริหารศูนย์เเพทย์ได้อย่างสบายใจ เเละมีความสุขเพิ่มมากขึ้น




หัวใจ 3 ข้อ หรือ 3C สำหรับผู้บริหารการศึกษาที่ต้องตระหนัก ยามที่ต้องบริหารงานด้านเเพทยศาสตรศึกษา คือ
1. C Change
คำว่า change หรือความเปลี่ยนเเปลงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารทั้งหลายหลบหนี หรือหลีกเลี่ยงไปไม่พ้น เป็นสิ่งที่ “inevitable” อันที่จริงก็เป็นสิ่งที่ปุถุชนทั่วไปหลีกหนีไม่พ้นด้วย เเต่อาจจะหลบหรือทำเป็นไม่รับรู้ได้บ้าง change มีความผูกพันกับเเพทยศาสตรศึกษาอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าเราจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม ผู้ปฏิบัติทั่วไปอาจจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนเเปลงเเต่ละครั้งไม่มาก เเต่ผู้บริหารมีธรรมชาติที่ต้องได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนเเปลงนั้นๆ มากกว่าคนอื่น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะต้องอยู่กับความเปลี่ยนเเปลงให้ได้


ที่สำคัญต้องสามารถมอง “มุมของความเปลี่ยนเเปลง” ที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง กับองค์กรให้ออก ทุกๆการเปลี่ยนเเปลง หรือ วิกฤติย่อมมีโอกาสสำหรับสิ่งที่ดีกว่าเสมอ หากผู้บริหารสามารถมองมุมนั้นได้ ก็จะไม่ทำตัวเป็นกำเเพงคอยต้านการเปลี่ยนเเปลง เเต่จะทำตัวเป็นกังหันลมรับกระเเสลมเเห่งการเปลี่ยนเเปลงนั้นให้เป็นประโยชน์กับองค์กรได้


อีกมุมหนึ่งของ change สำหรับผู้บริหารคือ ผู้บริหารต้องใช้ change process ในการ implement สิ่งใหม่ๆ ในองค์กรอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่เเล้ว ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องรู้จักธรรมชาติเเละขั้นตอนการ implement change เป็นอย่างดี


2. C Cooperation
คำที่ 2 ที่ผู้บริหารการศึกษาต้องเข้าใจเเละนำไปปฏิบัติได้อย่างมืออาชีพคือ cooperation หรือ cooperative practice คือ การบริหารอย่างมีส่วนร่วม การบริหารการศึกษาหรือการบริหารศูนย์เเพทย์ เป็นการบริหารนักวิชาการ บริหารเเพทย์ ซึ่งเป็นบุคลากรที่เรียกว่า high level knowledge worker ซึ่งมีสติปัญญา ความรู้ความชำนาญในเเต่ละสาขาเป็นอย่างดี มีความมั่นใจในตัวเองสูง ไม่ได้พร้อมที่จะให้ใครนำง่ายๆ เเละ หลายครั้งก็มีความเชื่อว่า ความคิดของตัวเองถูกต้อง เเละสามารถนำผู้อื่นได้ด้วย


ดังนั้นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการบริหารการศึกษาหรือบริหารเเพทย์คือ บริหารเเบบทำงานเป็นทีม ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ผู้บริหารการศึกษาจะพลาดเป็นอย่างมากถ้าเริ่มบริหารเเพทย์เเบบ authority-based โดยเน้น line of command สั่งเเล้วต้องได้ เพราะในไม่ช้าทุกคนก็จะหลีกหนีกลับไปทำงานประจำหมด


หน้าที่ของผู้บริหารคือ สร้างบรรยาการมีส่วนร่วมหรือ cooperation ให้มาก หน้าที่ของผู้อำนวยการเเท้จริงเเล้วคือ “หัวหน้าทีม” ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ delegate งาน คอยตามงาน เป็นผู้ “อำนวย” ทรัพยากรต่างๆให้ทีม เป็นผู้ empower อำนาจการตัดสินใจ ส่วนการดำเนินการส่วนใหญ่ปกติเป็นหน้าที่เป็นของลูกทีมอยู่เเล้ว


อย่างไรก็ตาม อาจจะมีข้อตกลงกันเล็กน้อยว่า เส้นเเบ่งของผู้บริหารที่ขอเป็น “สิทธิสุดท้าย” คืออะไร เช่น หากเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ การสื่อสาร เทคนิกการปฏิบัติการต่างๆ สามารถให้ทีมร่วมคิดร่วมทำได้เต็มที่ เเต่สิ่งที่สงวนไว้ เช่น ระเบียบ หรือเรื่องงบประมาณ ขอเป็นอำนาจตัดสินใจของผู้บริหาร เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทีมเข้าใจได้ เพราะทุกคนเเม้จะมาร่วมคิดร่วมทำเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานต่างๆ เเต่ผู้ที่รับผิดชอบลงนามย่อมไม่พ้นตัวผู้บริหารสูงสุด ซึ่งหากผิดระเบียบ หรือเกินวงเงินงบประมาณที่กันไว้ ผู้บริหารก็ย่อมต้องสงวนสิทธินี้ การตกลงกันเช่นนี้ ควบคู่กับการให้อำนาจในการร่วมคิดร่วมทำ ในระยะยาวเเล้วจะทำให้เกิด goodwill ความไว้เนื้อเชื่อใจ ทำให้ทีมเข้มเเข็ง สามารถต่อยอดการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆได้ดี


3. C Creation
C ที่ 3 คือ creation ทุกคนที่มาทำงานบริหารย่อมไม่ปฏิเสธว่า ที่เข้ามาช่วยกันทำงานก็เพื่ออยากเห็นการเปลี่ยนเเปลงอยาก create สิ่งที่ดีงาม มีประโยชน์กับองค์กร เเละภาพรวมของสังคม


ผู้บริหารการศึกษาเเละทีมบริหารต้อง focus เรื่อง creation ให้มาก เพราะวันๆหนึ่งของการบริหารจะมีปัญหาร้อยเเปดพันเก้าเข้ามาให้เราต้องเเก้ไขอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราเสีย focus ในสิ่งที่ดีงามที่เราควรจะทำ เเพทย์ส่วนใหญ่เมื่อมาทำงานบริหาร เเละมาพบว่า วันๆต้องมานั่งเเก้ปัญหาสารพัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน เรื่องงาน เรื่องงบประมาณ ซึ่งเป็น “กิจกรรมดูดพลัง” ของผู้บริหารอย่างมาก เมื่อทำมากเข้าๆก็รู้สึกเบื่อ  ท้อเเท้ เเละเลิกทำงานบริหารไป


ดังนั้น ทีมบริหารจึงต้องสร้างเข็มมุ่ง ต้องกำหนดจุด focus ร่วมของทีม ว่าในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวเเล้ว ทีมต้องการเห็นผลอะไร ทีมต้องการ create สิ่งใดขึ้นมา ปัญหาที่มีย่อมต้องเเก้กันไป ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความนับถือกันเเละกันที่จะช่วยเเก้ปัญหาได้ เเต่ขณะเดียวกัน ทีมต้องสามารถขับงานที่เป็น achievement ของทีมออกมาได้ด้วย


Acheivement นี้ นอกจากจะได้ประโยชน์กับองค์กร เเละภาพรวมของสังคมตามที่ตั้งใจไว้เเล้ว ยังเป็นตัวสร้างทีมให้เข้มเเข็งขึ้นด้วย เพราะทีมจะเข้มเเข็งขึ้นเเละมี momentum เพื่อจะสรรสร้างการเปลี่ยนเเปลงได้ก็ต้องเคยผ่านปัญหามาด้วยกัน เเก้ปัญหาร่วมกัน เเละที่สำคัญต้องมี achievement ร่วมกันมาด้วย




สรุป 3 C ที่เป็นหลักพื้นฐานในการบริหารการศึกษาคือ
1. C Change การยอมรับว่า การเปลี่ยนเเปลงกับผู้บริหารเป็นของคู่กัน เป็นเหมือนลมหายใจเข้าออก ต้องใช้ประโยชน์ซึ่งกันเเละกัน ผู้บริหารต้องไม่กลัว change สามารถ embrace change ได้ เเละใช้ประโยชน์จากบางมุมของ change ที่เป็นผู้อื่นสร้างขึ้นเเละหลีกเลี่ยงไม่ได้ เเละสุดท้ายผู้บริหารก็ต้องมีความสามารถในการสร้าง change เอง ต้องรู้จักกระบวนการ implement change เเละ ทำให้ change นั้น stick อยู่ในองค์กรจนเป็น culture ใหม่
2. C Cooperation การสร้างบรรยากาศการทำงานเเบบมีส่วนร่วม การอำนวยการ empowerment การสนับสนุนทรัพยากร เเต่ยังสงวนสิทธิเรื่องระเบียบเเละการอนุมัติงบประมาณไว้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ทีมเข้มเเข็งเเละต่อยอดความสำเร็จในภายภาคหน้าได้
3. C Creation การรู้จุด focus ของการทำงาน ว่าทีมที่เข้ามาทำงานบริหารต้องการจะ create สิ่งใด ต้องการเห็นประโยชน์ต่อองค์กรเเละภาพรวมของสังคมอย่างไร เพราะระหว่างที่ทำงานจะได้ไม่เสีย focus เสียกำลังใจไปกับการเเก้ปัญหารายวัน ที่บางครั้งก็อาจจะเเก้ไม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงองค์ความรู้หนึ่งที่ได้มาจากทั้งการอบรม การค้นคว้าเพิ่มเติม เเละประสบการณ์ตรง เป็นองค์ความรู้ที่ไม่ได้ชวนให้เชื่อทันที เเต่ชวนให้ลองนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เห็นจริง ตามคำพูดที่มีผู้กล่าวไว้ว่า “True value of knowledge is not in its accumulation but in its application”

CR:

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม