ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของงานวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษา กับการได้รับทุนสนับสนุน
ทำไมงานวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษาถึงไม่ค่อยได้รับทุนสนับสนุนมากเท่าที่ควร
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะงานวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษามีความอ่อนเเอเรื่อง methodology จริงหรือไม่ เลยทำให้ผู้สนับสนุนทุนส่วนใหญ่ "ให้ทุนไม่ค่อยลง"
งานวิจัยของ Reed DA เเละคณะ ได้พยายามตอบคำถามสำคัญในวงการวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษา ว่าจริงๆเเล้ว "ไก่เกิดก่อนไข่หรือไข่เกิดก่อนไก่"
นั่นคือ งานวิจัยทาง Med Ed ควรทำตัวให้มีคุณภาพที่ดีก่อน จึงจะได้รับทุนสนับสนุน หรือการให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยทาง Med Ed อย่างเป็นระบบ จะทำให้งานวิจัย Med Ed มีคุณภาพ
งานวิจัยนี้กำหนดเกณฑ์คุณภาพของงานวิจัย Med Ed ขึ้นมาก่อน โดยคุณภาพที่ดีที่สุดคือมีคะเเนน MERSQI (Medical Education Research Study Quality Instrument) score เท่ากับ 18 จากนั้นจึงพยายามหา correlation ระหว่างงานวิจัยที่มีคุณภาพที่มี MERSQI score สูงกับปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ในที่สุด Reed DA เเละคณะก็สามารถหาคำตอบมาฝากพวกเราได้ว่า งานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนนั้นมี correlation กับงานวิจัยที่มีคุณภาพจริง
งานวิจัยนี้ยังได้คำตอบอีกว่า MERSQI score correlates กับ ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญว่างานวิจัยชิ้นนั้นมีคุณภาพหรือไม่ เเละยัง correlates กับ 3-year citation rate, journal impact factor เเละ previous medical education publications by the first author
เมื่อได้คำตอบเช่นนี้เเล้ว ก็ถือเป็นการสนับสนุน สิ่งที่องค์กรต่างๆพยายามพัฒนางานวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษา ว่าได้เดินมาถูกทางเเล้ว นั่นคือ การมีคณะกรรมการสนับสนุนทุนให้กับงานวิจัย Med Ed เป็นการเฉพาะ เนื่องจากจะทำให้มีกระบวนการพัฒนาโครงการร่างงานวิจัยให้มีคุณภาพก่อนการได้รับทุน
โดยเมื่องานวิจัยเรื่องเเรกๆได้รับอนุมัติทุนหลังจากได้พัฒนาคุณภาพเเล้ว ย่อมส่งผลทำให้งานวิจัยเรื่องต่อๆไปของนักวิจัยท่านเดิม หรือ งานวิจัยที่จะเข้ามารับการสนับสนุนของนักวิจัยหน้าใหม่มีคุณภาพเพิ่มสูงขึ้นด้วย เพราะได้เห็นตัวอย่างจากงานวิจัยที่ได้รับทุนก่อนหน้าเเล้ว
ที่สำคัญคณะกรรมการหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ช่วยกันพัฒนาคุณภาพงานวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษา คงต้องช่วยกันกำหนดทิศทางเเละความคาดหวังของคุณภาพของงานวิจัยเหล่านี้ด้วย
CR:
1. Reed DA, Cook DA, Beckman TJ, Levine RB, Kern DE, Wright SM. Association Between Funding and Quality of Published Medical Education Research. JAMA. 2007;298(9):1002–1009. doi:10.1001/jama.298.9.1002
2. https://researchfunding.iqpc.com.au/
3. https://www.newsone.tv/business/micro-credit-outreach-witnesses-22-growth
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะงานวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษามีความอ่อนเเอเรื่อง methodology จริงหรือไม่ เลยทำให้ผู้สนับสนุนทุนส่วนใหญ่ "ให้ทุนไม่ค่อยลง"
งานวิจัยของ Reed DA เเละคณะ ได้พยายามตอบคำถามสำคัญในวงการวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษา ว่าจริงๆเเล้ว "ไก่เกิดก่อนไข่หรือไข่เกิดก่อนไก่"
นั่นคือ งานวิจัยทาง Med Ed ควรทำตัวให้มีคุณภาพที่ดีก่อน จึงจะได้รับทุนสนับสนุน หรือการให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยทาง Med Ed อย่างเป็นระบบ จะทำให้งานวิจัย Med Ed มีคุณภาพ
งานวิจัยนี้กำหนดเกณฑ์คุณภาพของงานวิจัย Med Ed ขึ้นมาก่อน โดยคุณภาพที่ดีที่สุดคือมีคะเเนน MERSQI (Medical Education Research Study Quality Instrument) score เท่ากับ 18 จากนั้นจึงพยายามหา correlation ระหว่างงานวิจัยที่มีคุณภาพที่มี MERSQI score สูงกับปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ในที่สุด Reed DA เเละคณะก็สามารถหาคำตอบมาฝากพวกเราได้ว่า งานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนนั้นมี correlation กับงานวิจัยที่มีคุณภาพจริง
งานวิจัยนี้ยังได้คำตอบอีกว่า MERSQI score correlates กับ ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญว่างานวิจัยชิ้นนั้นมีคุณภาพหรือไม่ เเละยัง correlates กับ 3-year citation rate, journal impact factor เเละ previous medical education publications by the first author
เมื่อได้คำตอบเช่นนี้เเล้ว ก็ถือเป็นการสนับสนุน สิ่งที่องค์กรต่างๆพยายามพัฒนางานวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษา ว่าได้เดินมาถูกทางเเล้ว นั่นคือ การมีคณะกรรมการสนับสนุนทุนให้กับงานวิจัย Med Ed เป็นการเฉพาะ เนื่องจากจะทำให้มีกระบวนการพัฒนาโครงการร่างงานวิจัยให้มีคุณภาพก่อนการได้รับทุน
โดยเมื่องานวิจัยเรื่องเเรกๆได้รับอนุมัติทุนหลังจากได้พัฒนาคุณภาพเเล้ว ย่อมส่งผลทำให้งานวิจัยเรื่องต่อๆไปของนักวิจัยท่านเดิม หรือ งานวิจัยที่จะเข้ามารับการสนับสนุนของนักวิจัยหน้าใหม่มีคุณภาพเพิ่มสูงขึ้นด้วย เพราะได้เห็นตัวอย่างจากงานวิจัยที่ได้รับทุนก่อนหน้าเเล้ว
ที่สำคัญคณะกรรมการหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ช่วยกันพัฒนาคุณภาพงานวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษา คงต้องช่วยกันกำหนดทิศทางเเละความคาดหวังของคุณภาพของงานวิจัยเหล่านี้ด้วย
CR:
1. Reed DA, Cook DA, Beckman TJ, Levine RB, Kern DE, Wright SM. Association Between Funding and Quality of Published Medical Education Research. JAMA. 2007;298(9):1002–1009. doi:10.1001/jama.298.9.1002
2. https://researchfunding.iqpc.com.au/
3. https://www.newsone.tv/business/micro-credit-outreach-witnesses-22-growth
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น