การวิจัยทางเเพทยศาสตรศึกษา



3 วันนี้ (30 ตค ถึง 1 พย 2556) นั่ง ประชุมอยู่ในงานประชุมเเพทยศาสตรศึกษาเเห่งประเทศไทยครั้งที่ 14 ครับ 

     โดยวันสุดท้ายช่วงเช้า สบพช ได้รับเชิญให้ร่วมวงเสวนา หัวข้อ Workshop: Medical Education Research : Where should we begin? By MedResNet โดย อ.ดร.นพ.สุธรี์ รัตนะมงคลกุล เป็นผู้ organize workshop นี้ 
     
     อจ ท่านทาบทามมาให้ สบพช มาเล่าเรื่องการพัฒนางานวิจัย med ed ของสบพช เองในช่วงเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ว่าทำอะไรไปบ้าง ได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร ก็เลยถือโอกาสมาเล่าให้พวกเราฟังก่อน เป็น sneak peek preview เเละใครที่เข้ามาอ่าน blog ในวันที่ 31 ก็ ยังสามารถให้ความคิดเห็น ข้อเสนอเเนะ เพื่อผมจะได้ไปเเจ้งในที่ ปช วันที่ 1 พย ได้ด้วยนะครับ ช่วยๆกันนะครับ เพื่อ สบพช ของเรา 

CPIRD ทำอะไรมาบ้าง เกี่ยวกับ RIME (Research in Medical Education)
     อันที่จริงงาน RIME ของ CPIRD เริ่มจากอะไรที่ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน คือเริ่มจาก การที่ medical educator ของเราที่จบ med ed มา เเละต้องการที่จะไปฟื้นฟูวิชาการประชุมต่างประเทศ ทาง สบพช ก็เลยกำหนดว่า ให้มีการนำเอางานวิจัยไปนำเสนอด้วย โดยทาง สบพช ให้ทุนสนับสนุน ช่วงเเรกๆ ก็มีอจ เเพทย์ที่จบ เเพทยศาสตรศึกษาที่ได้ทำงานวิจัยต่างๆ ส่งนำเสนอต่างประเทศเป็นหลัก 

     หลังจากนั้นก็เริ่มมี น้องๆ เเละ อจ เเพทย์หน้าใหม่ตาม ศพค ต่างๆสนใจทำวิจัย med ed มากขึ้น จน สบพช จัด course RIME ขึ้น ซึ่งเป็น workshop 2 วันที่อจ เเพทย์ที่เข้า อบรม จะได้นำเสนอหัวข้องานวิจัย ได้รับคำเเนะนำเรื่อง methodology เเละ ได้ proposal เป็น product กลับไปทำงานวิจัยของตนเองต่อ 
     เเต่หัวข้องานวิจัยส่วนใหญ่ก็เป็นการประเมิน innovation ของตัวเองเป็นหลัก มีตั้งเเต่เรื่อง student selection, teaching and learning methods ต่างๆ มีเเม้กระทั่งการจัดค่าย นพลักษณ์ การสอนหัตถการ laparoscopy การใช้ mind mapping การใช้ hybrid simulation teaching model ประเมินการใช้ facebook การใช้ Google Apps for Education เปรียบเทียบการประเมินผล/ การตัดเกรด เป็นต้น

     ผลงานของ สบพช ที่ผ่านมาก็ได้รับรางวัล ทั้งการนำเสนอเเบบ poster เเละ oral จาก การประชุมวิชาการนานาชาติ เเต่สรุป ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นการประเมิน Innovation in Med Ed ตาม ศพค ต่างๆ อยู่ดี ยังไม่มี issue ที่ใหญ่ ที่มี impact ระดับประเทศ

     เเต่ตั้งเเต่ปี งบประมาณ 2557 นี้เป็นต้นไป สบพช จะเปลี่ยนวิธีการให้การสนับสนุน งานวิจัยลักษณะ รายย่อย เช่นนี้เเล้ว โดยมีนโยบายให้ ศพค สนับสนุนงานวิจัยลักษณะนี้ของตนเอง เพื่อกระตุ้นการนำกลับมาใช้ประโยชน์ในสถาบันให้มากขึ้นกว่าเดิม โดย สบพช จะสนับสนุนการทำวิจัยของ core group Med Ed ของตนเอง นั่นคือ คือ อจ เเละ นร ECME (Essential Course for Medical Educator) ซึ่งมีความพยายามที่จะทำวิจัยที่มีคุณภาพมากขึ้น เเละ มีคำถามงานวิจัยในภาพรวมมากขึ้น เเละ ที่สำคัญจะได้รับการเชิญชวนให้มาทำ data mining ที่ สบพช มากขึ้น 

เมื่อกล่าวถึงงานวิจัย med ed โดยรวม เท่าที่ผ่านมา 
สามารถเเบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
ลักษณะที่ 1 
     เป็นวิจัยเเบบ บอกเล่าสู่กันฟัง ว่าฉันทำอะไรไปบ้าง ไม่ว่าจะ description/ justification หรือ clarification research  ก็ยังเป็นการบอกเล่าเรื่อง innovation ทาง med ed ที่ตัวเองทำอยู่ดี ว่า work หรือไม่ work เช่นไร เช่น ทำ study guide ไป เมื่อใช้กับนศพ เเล้ว พบว่าเป็นเช่นไร หรือ ประเมินบัณฑิตของ ศพค ตนเอง ว่าหลายรุ่นที่ผ่านมาเป็นเช่นไร

ลักษณะที่ 2 
     เป็นงานวิจัย ระบบใหญ่ของประเทศ เป็นคำถามงานวิจัยภาพรวม มี data ระดับ national scale เช่น
         * ความต้องการหรือการขาดเเคลนเเพทย์ในประเทศ
         * ทัศนคติ เรื่องการเรียนต่อของบัณฑิต
         * การเปรียบเทียบค่าคะเเนนสอบเข้ากับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
         * สัดส่วนของเพศชาย/หญิง ที่เปลี่ยนเเปลงของนศพ ในระยะ 25 ปีหลัง
         * การคงอยู่ในระบบราชการ หรือ เหตุผลการลาออกของเเพทย์
         * สาขายอดนิยมในการเรียนต่อ เป็นต้น
 
     จะสังเกตได้ว่า เรื่องที่ทำในเชิงระบบส่วนใหญ่ ในเเบบที่ 2 นี้ หากเปรียบเทียบเป็น hamburger model ก็จะเป็นส่วนขนมปังของ hamburger ชิ้นบนกับล่าง คือไม่ใช่ส่วนเนื้อตรงกลาง หมายถึงข้อมูลระดับประเทศที่ใช้ร่วมกันได้ ก็มักจะเป็นข้อมูล นศ ก่อนเข้าสถาบัน เเละบัณฑิตเเพทย์ตอนจบออกจากสถาบันเเล้ว เเต่ข้อมูลตรงกลางที่เป็นส่วนเนื้อ ของ hamburger มักจะเป็นข้อมูลที่มีความจำเพาะของเเต่ละสถาบัน ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

ลักษณะที่ 3 
     คือ research for development คือ R2R ดีๆนี่เอง เเละนี่คือจุดเเข็งเเละข้อจำกัดของ research in med ed ในเวลาเดียวกัน ก่อนอื่นเราต้องยอมรับก่อนว่า ธรรมชาติของ งานวิจัยทางการศึกษามีความเป็น contextual based สูงมาก imply หรือ extrapolate ไปใช้ในบริบทต่างๆยาก ยิ่งทำวิจัยให้มี internal validity สูงเท่าไหร่ ก็มักมีเเนวโน้มจะได้ external validity ตำ่เท่านั้น เพราะปกติในการศึกษาจะไม่มี 5mg of PBL comparing to 20 mg of traditional lecture เเละเราจะหา RR/ OR หรือ p value ออกมาว่าเท่าไหร่ เเล้วทุกคนในโลกหรือในประเทศเอาไปใช้ได้เลย ไม่มี 

     ปกติงานวิจัยทางการศึกษาจะ relative มาก เพราะขึ้นกับ สถานที่สอน วัฒนธรรมสถาบัน คุณลักษณะผู้เรียนเเละผู้สอน curriculum, hidden curriculum เเละอื่นๆอีกมากมาย นี่คือส่วนเนื้อ ของ hamburger ที่กล่าวถึงตั้งเเต่เเรกว่า เป็น contextual specific สูง การทำวิจัยเพื่อเปรียบเทียบ หรือ ทำวิจัยเเบบ multisite ในคำถามงานวิจัยเดียวกันก็ทำได้ยากด้วย

     เเต่ในขณะที่มีข้อจำกัดสูงเช่นนี้ กลับกลายเป็นโอกาสที่ดี เเละเป็นจุดเเข็ง ที่จะ approach งานวิจัย med ed ให้เป็น R2R เเละ R2P นั่นคือ ทำเเล้วใช้ ประโยชน์ในสถาบันของตัวเองเป็นหลัก คือทำเพื่อพัฒนา 

     งานวิจัยลักษณะนี้จะเจริญงอกงามได้ ต้องการการเปลี่ยนเเปลงที่ สำคัญ คือ คกก คณะ หรือ คกก หลักสูตร ที่ต้องเปิดหัวใจเเละเพรียกหา evidence-based practice in education มากๆกว่านี้ ทุกๆการเปลี่ยนเเปลงของสถาบันจำเป็นจะต้องมีงานวิจัยจากสถาบันตัวเองหรือจากสถาบันใกล้เคียง หรือย่างน้อยก็เป็นงานวิจัยจาก ตปท มารองรับ ไม่ใช่เปลี่ยนเเปลงเพราะ authority บอก อ่าน article พบหรือ ไป ปช med ed ต่างประเทศเเล้ว เห็นฝรั่งทำ ก็เลยเอามาทำบ้าง 

     อย่างน้อยถ้าไม่วิจัยก็ต้องวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นเชิง quantitative หรือ qualitative โดยถ้ามีวัฒนธรรมเช่นนี้เเล้ว งานวิจัย med ed ต่างๆจะมีประโยชน์ขึ้นมากเเละ อจ เเพทย์ ก็จะมีเเรงจูงใจเเบบ internal motivation เองไม่ต้องเอาตำเเหน่งทางวิชาการมาล่อ ก็จะทำวิจัย med ed อยู่เนืองๆ

     ในเรื่องโอกาสพัฒนาระยะใกล้ของวงการวิจัย med ed ในประเทศขณะนี้ คือการรวมกลุ่มผู้สนใจ med ed research เข้าด้วยกัน จะเป็นรูปเเบบชมรม หรือเครือข่ายก็ได้ ตามความนิยม จัด ทำ KM ให้เป็น รูปธรรมที่ชัดเจน เช่น รวบรวมงานวิจัย med ed ที่ตีพิมพ์เเละไม่ตีพิมพ์ เพื่อเป็นเเหล่งค้นขว้า ของนักวิจัย เพื่อจะได้มีไว้ เทียบเคียง หลีกเลี่ยงการทำซำ้ เเละสามารถทำงานต่อยอดจาก งานวิจัยที่ อจ ท่านอื่นๆทำไว้ได้
 
สุดท้าย 
     อยากจะฝากว่า งานวิจัย med ed เเม้จะเป็นไปได้ 3 ลักษณะตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น เเต่ อยากจะเน้นมุมมอง ของการเป็น R2R 2 R2P (Routine to Research and Research to Practice) เพราะ นี่คือวัตถุประสงค์สูงสุดของการทำวิจัย ที่เหนือกว่า การคอยตีพิมพ์ในวารสารที่มี imapct factor สูงๆ เพราะ This is the real IMPACT FACTOR of Med Ed research.


Rajin Arora MD

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม