Community Engaged Medical Education (CEME) เเละกรณีศึกษารพ.ห้วยยอด (1)


พูดถึงกันมานานเเล้ว กับหลักสูตรผลิตเเพทย์เเนวใหม่โดยใช้รพ. ชุมชนห้วยยอดเป็นฐาน ได้มาเห็นกับตาตัวเองเเละได้พูดคุย สอบถามข้อมูลต่างๆพบว่าน่าสนใจมาก

การใช้รพ. ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตเเพทย์เป็นสิ่งที่พูดกันมานาน  ในต่างประเทศมีการจัดการที่มีผลลัพธ์เป็นที่น่าประทับใจอย่างชัดเจน

ในเเต่ละประเทศก็มีรูปแบบที่เเตกต่างกัน ส่วนในเมืองไทยเเม้จะยังมีตัวอย่างให้เห็นไม่มาก เเต่มีกลุ่มเเฟนพันธุ์เเท้ CEME (community engaged medical education) พยายามผลักดันให้เกิดหลักสูตรลักษณะนี้พอสมควร

รพ. ห้วยยอด เป็นรพ. 60 เตียง ที่มีนวัตกรรมดีๆที่สามารถเป็น inspiration เเละมีบุคลากรที่สามารถเป็น role model ให้นักศึกษาเเพทย์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นงาน palliative care, inter professional teamwork,  alternative medicine ความสัมพันธ์กับชุมชนที่ดีมากๆ ระบบ DHS ที่เหล่าเเพทย์พยาบาล เเละบุคลากรสาธารณสุขได้พยายามให้ชุมชนเป็นเเกนนำในการเเก้ปัญหาสุขภาพของตัวเอง

ระบบต่างๆที่กล่าวมานี้ อันที่จริงที่รพ.อื่นอาจจะมีอยู่ เเละมีนักศึกษาเเพทย์ได้เเวะเวียนไปเยี่ยมชมบ้าง เเต่การที รพ.่ห้วยยอดจะเป็น รร. เเพทย์ นั้น มีความท้าทายมากกว่า เพราะหลักสูตรของห้วยยอดจะต้องใช้จุดเเข็งเหล่านี้เป็นเเกนหลักในการจัดการเรียนการสอนได้จริง ไม่ใช่ออกเเบบหลักสูตรเพื่อให้ struggle ที่จะเป็น mini MEC  (ศูนย์เเพทย์ขนาดจิ๋ว)

ลักษณะเคส common ที่เหมาะสมกับการทำ basic clinical practice ของนักศึกษาเเพทย์มีให้ได้เรียนรู้มาก OPD วันละ 500-600 คน เคสวอร์ดที่ไม่ซับซ้อนเกินไป การได้เป็นเจ้าของเคสอย่างเเท้จริง ไม่ต้องคอยตามยื่นชาร์ตเก็บชาร์ตเหมือนอยู่ในศูนย์เเพทย์ขนาดใหญ่ จะทำให้เราได้หมอที่มี ความรู้ ทักษะทางคลินิก เเละเจตคติที่ดีอย่างเเน่นอน

Hi light คงไม่พ้น จำนวนอาจารย์เเพทย์ ที่ขณะนี้มีประมาณ 20 คน โดยมีที่กำลังเรียน residents อีกพอสมควร  หากตามเเผนที่จะให้มีนักศึกษาเเพทย์ 20 คนต่อปีอาจจะมากเกินไป เเต่ถ้าเริ่มประมาณ 8 คนต่อปีน่าจะเหมาะสมกว่า

ที่น่าสนใจคือ อาจารย์เเพทย์ เกินครึ่งเป็น เเพทย์ generalists เเละ fammed ซึ่งหากทีมทำหลักสูตร ออกเเบบหลักสูตรสวยๆ โดยอิง หลักการเรียนการสอนเเบบ 21 st century เเล้ว จะได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างยอดเยี่ยมทีเดียว

สรุป การให้รพ.ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาเเพทย์ในอนาคต มีความเป็นไปได้ ที่สำคัญต้องเลือกรพ.ชุมชนให้ดี การพัฒนารพ.ชุมชนเพื่อรองรับนักศึกษาเเพทย์มีความจำเป็น เเต่ต้องระวังไม่พัฒนามากจนเกินไป จนขาดเสน่ห์ของการเรียนการสอนใน รพ.ชุมชนมาตรฐาน เพราะ หากเราพัฒนารพ.ชุมชนที่สอนนักศึกษาจนกลายเป็น mini MEC น้องที่จบจากหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนในรพ.ชุมชนดังกล่าว ก็จะไม่สามารถไปปฏิบัติงานที่รพ.ชุมชนเเห่งอื่นได้อยู่ดี

ตอนหน้าเราจะมาชวนคิดเรื่องการทำหลักสูตรกันว่า ทำอย่างไร จะ "ไม่เสียของ" ในการที่อุตสาห์พาน้องๆนักศึกษาเเพทย์มาเรียนรู้ที่รพ.ชุมชนทั้งที (ต่อตอน 2)

CR: 1.https://www.reference.com/education/definition-spiral-curriculum-331ff5861fa7c9de#
2.https://faculty.med.virginia.edu/facultyaffairs/files/2016/04/2010-3-23.pdf
3.Strasser R1, Worley P, Cristobal F, Marsh DC, Berry S, Strasser S, Ellaway R.Putting communities in the driver's seat: the realities of community-engaged medical education.Acad Med. 2015 Nov;90(11):1466-70. doi: 10.1097/ACM.0000000000000765.
4.Challis M. AMEE Medical Education Guide No. 11 (revised): Portfolio-based learning and assessment in medical education. Medical Teacher. 1999 Jan 1;21(4):370-86.


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม