ADDIE Model of Instructional Material Development

ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น สื่อการสอน (Instructional Material/ Media) ได้เข้ามามีบทบาทมากมาย โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า สื่อการสอนที่ดีนั้น ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นได้ เเละในทางตรงกันข้าม สื่อการสอนที่ซับซ้อนเเละสับสนนั้น อาจจะไม่เพียงเเต่ไม่ได้ช่วยทำให้กระบวนการเรียนการสอนง่ายขึ้น เเต่อาจจะทำร้ายผู้เรียน โดยทำให้บั่นทอนความเข้าใจที่มีอยู่เดิมด้วย


ในการผลิตสื่อการสอนเเต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสื่อการสอนง่าย เช่น เอกสารประกอบการสอน powerpoint หรือ สื่อการสอนที่มีความยุ่งยากในการผลิต เช่น vdo clip หนังสั้น e-learning module หรือ โปรเเกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูผู้สอนเเละทีมงานผู้ผลิต จะต้องมีความเข้าใจถึงหลักการทางการศึกษาว่าด้วยการผลิตสื่อ เเละมีเเนวทางในการจัดทำสื่อที่ชัดเจน โดยหลายครั้ง สื่อที่มีความซับซ้อนเเละมีความยากในการผลิตเหล่านี้ ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ด้วยตัวครูผู้สอนเพียงคนเดียว จำเป็นจะต้องมีทีมงานผลิตสื่อ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการการศึกษา หรือเจ้าหน้าที่เทคนิก ที่ล้วนเเต่ต้องมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก


ดังนั้น ครูผู้สอนที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการของการผลิตสื่อ ย่อมจะได้เปรียบคือ สามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาเป็น media manager ของทีม ทำหน้าที่ชี้นำ กำกับ ติดตามการผลิตสื่อของทีม ทำให้ผลงานสื่อชนิดต่างๆออกมาได้ดี มีความน่าสนใจ น่าใช้งาน เเละที่สำคัญก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนได้มาก

หลักการของการผลิตสื่อการสอนนั้น มีผู้เขียนไว้หลากหลายตำรา เเต่ที่เป็นที่นิยม เเละง่ายต่อการนำเอาไปปฏิบัติอันหนึ่งคือ หลักการ ADDIE ซึ่งมีประวัติยาวนาน ตั้งเเต่ปี ค.ศ. 1975 โดยเริ่มต้นที่ Florida State University เเละได้รับการพัฒนาในการตีความหมายเเละขยายความอย่างต่อเนื่อง จนสามารถใช้งานได้ดีมาจนถึงปัจจุบัน 

ADDIE Model of Instructional Material/ Media Development มีขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอนด้วยกันคือ Analysis, Design, Development, Implementation เเละ Evaluation โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. Analysis phase
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ครูผู้สอนเเละทีมผลิตสื่อ ต้องทำการวิเคราะห์ให้ดีว่า สื่อที่จะพัฒนาขึ้นนั้น มีไว้เพื่ออะไร ใช้ร่วมสอนกับหัวข้อใด ต้องการให้นักเรียนได้อะไรจากสื่อการสอนนี้ นักเรียนนั้นอยู่ในระดับใด เเละชนิดสื่อ (media) ที่เลือกนั้น เหมาะสมกับ domain ของการศึกษาเเล้วหรือไม่ เช่น ต้องการจะสอนหัวข้อเกี่ยวกับจริยธรรม เเต่ไปเลือกสื่อธรรมดาอย่าง powerpoint ทั้งๆที่ตนเองต้องการนำเสนอ ฉากละครเพื่อกระตุกความคิดของนักเรียนเป็นต้น ขั้นตอน analysis นี้จึงเป็นขั้นตอนของการตั้งคำถาม context, who, where, when, why

2. Design phase
เมื่อทราบจุดมุ่งหมายของการจัดทำสื่อในภาพรวม ตั้งเเต่ขั้นตอน analysis เเล้ว ขั้นตอน design คือ การเจาะลงรายละเอียดของวัตถุประสงค์เเละเนื้อหาของหัวข้อนั้นๆ ขั้นตอน design คือการจัดวาง content ให้ตรงตาม objective โดยพยายามตัดทอนส่วนที่ไม่สำคัญออก เเละคงไว้เเต่ส่วนที่สำคัญซึ่งจำเป็นต่อผู้เรียนเท่านั้น ขั้นตอนนี้ ช่างเทคนิกจะมีส่วนช่วยครูเจ้าของสื่ออย่างมากในการเเนะนำว่า ควรจะนำเสนอเนื้อหาเหล่านั้นออกมาอย่างไร


3.Development phase
ขั้นตอนนี้ไม่มีอะไรมาก เป็นขั้นตอนของการ “ลงมือทำ” ผู้ที่พัฒนา ADDIE Model ในระยะหลัง พยายามเน้นขั้นตอนนี้เป็นอย่างมาก โดยเเม้ขั้นตอน analysis เเละ design จะมีความสำคัญ เเต่เรายังไม่อาจรู้ได้เเน่ชัดว่า หน้าตาของสื่อจะออกมาเป็นเช่นไร จนกระทั่งมีการ “ลงมือทำ” โดยระหว่างการ “ลงมือทำ” นี้ ครูผู้สอนเเละเจ้าหน้าที่เทคนิกก็จะกลับไปทบทวนขั้นตอน analysis เเละ design กันอีกครั้ง ซึ่งเข้ากับกระบวนการทำงานของศิลปินยุคปัจจุบันที่ “ทำไปเเก้ไป” ทั้งนี้สามารถทำได้ในยุคปัจจุบันเนื่องจาก งานผลิตสื่อส่วนใหญ่ทำอยู่บนคอมพิวเตอร์ จึงทำให้ใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองน้อย เเละเเก้ไขงานได้ตลอด

4. Implementation phase
ขั้นตอนนี้ คือขั้นตอนที่ครูผู้สอนจะนำสื่อนั้นๆไปใช้ โดยมีข้อเเนะนำว่า ให้นำไปใช้ให้บ่อยครั้งมากที่สุด เพื่อจะได้รับ feedback จากผู้ใช้สื่อได้มาก เเละขั้นตอน implementation นี้ จะเเยกไม่ออกจากขั้นตอนที่ 5 การประเมินสื่อ เเละขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาเพิ่มเติมด้วย

5. Evaluation phase
ขั้นตอนนี้ เเม้จะถูกจัดอยู่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของ ADDIE Model เเต่อันที่จริงเเล้ว ADDIE Model มีขั้นตอนการประเมินเพื่อพัฒนาอยู่ตลอดเวลาตั้งเเต่ขั้นตอนเเรก โดยใน ADDIE Model ได้กำหนด evaluation เป็น 2 ประเภทคือ formative evaluation เเละ summative evaluation ความหมายคือ ทุกขั้นตอนที่กล่าวมาตั้งเเต่เเรก จะต้องมี formative evaluation เสมอ ซึ่งเกิดจากทีมงานหรือผู้เรียนกลุ่มเล็กๆ ที่เข้ามาให้ข้อคิดเห็นของการผลิตเเละพัฒนาสื่อขณะที่กำลังดำเนินการอยู่ ส่วน summative evaluation คือการประเมินขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งได้จากผู้ที่รับชม หรืใช้สื่อนั้นในกิจกรรมการเรียนการสอนจริง ซึ่งสามารถทำได้โดยการออกเเบบสอบถาม online สั้นๆ เพื่อให้มีการประเมิน เเละ feedback จากนั้นครูผู้สอน จากนั้นเราก็จะได้นำข้อ feedback เหล่านั้นมาพัฒนาสื่อการสอนของเราให้ดีขึ้นต่อไป

สรุป ADDIE Model เป็นเเนวทางที่ให้คำเเนะนำในการจัดทำสื่อรูปเเบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อพื้นฐาน เช่น powerpoint หรือสื่อที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น vdo clip หนังสั้น e-learning module หรือ โปรเเกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ADDIE Model เเนะนำให้เราวิเคราะห์บริบทต่างๆที่เราจะนำสื่อไปใช้ให้ดีเสียก่อนที่จะเริ่มดำเนินการ เเนะนำให้เราวางเเผน design สื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เเละนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสม ADDIE Model เน้นยำ้เรื่องการนำไปใช้ ร่วมกับการรับคำ feedback เพื่อพัฒนาสื่อนั้นอย่างสมำ่เสมอ จนในที่สุดสามารถนำไปใช้ได้จริง เเละช่วยเสริมการเรียนรู้เเก่ผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยได้รับความประทับใจเป็นของเเถม

CR:
  1. https://en.wikipedia.org/wiki/ADDIE_Model
  2. https://educationaltechnology.net/the-addie-model-instructional-design/
  3. http://www.nwlink.com/~donclark/history_isd/ADDIE_timeline.png
  4. http://www.ryanetec.com/images/ADDIE.png
  5. http://www.noodlenook.net/noodlenook/wp-content/uploads/2013/01/addie_process1.jpg
  6. http://www.ispringsolutions.com/blog/wp-content/uploads/2015/10/ADDIE-model.jpg








ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม