Merrill’s First Principles of Instruction

การทำสื่อการสอนให้น่าสนใจนั้น มีได้หลายวิธี บางคนก็ใช้รูปสวยๆ บางคนก็พยายามหาคลิป vdo ที่ดึงดูดตั้งเเต่ตอนต้นของการนำเสนอ อันที่จริง หลักที่มีอยู่ใน Gagne Principles 9 ข้อ (http://mededtweet.blogspot.com/2017/04/gagne-9-events-of-instruction.html) ก็พอใช้การได้ ในการพัฒนาสื่อการสอนของอาจารย์เเต่ละท่านให้น่าสนใจ 

เเต่ไม่ว่าจะไปค้นคว้า ไปอ่านเกี่ยวกับเรื่องสื่อการสอนที่ใด เป็นต้องพบการอ้างอิงถึง Merrill’s First Principles of Instruction ทำให้น่าทำความเข้าใจกันต่อไปว่า หลักการสอนหรือการทำสื่อของ M. David Merill ท่านนี้ ทำไมได้รับการยอมรับให้เป็น First Principles ได้ขนาดนั้น

ก็คงคล้าย Gagne Principles ที่อาจารย์เเพทย์สามารถนำหลักการใหญ่ๆไปใช้ในพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้ทั้งกระบวนการ เเต่ Merrill Principles ดูจะ apply มาให้ใช้กับการพัฒนาสื่อการสอนได้ดีกว่า


Merrill’s First Principles of Instruction มีหลักการสำคัญทั้งหมด 5 ประการ เเละ มีหลักการเสริม เพื่อให้เข้ากับยุค ICT ครองโลก อีก 4 ประการ รวมเป็น 9 ประการดังต่อไปนี้

1.  Task-centered หรือ Problem-centered
เเปลว่าการจะทำสื่อการสอนชิ้นใดขึ้นมาก็ตาม จะต้องมี story มี scenario หรือมี problem อยู่ที่เเก่นกลางของการดำเนินเรื่องเสมอ ยุคนี้สมัยนี้จะทำสื่อการสอนขึ้นมาเเบบ plain plain เล่าเรื่องไปเรื่อยๆ เเบบ lecture-based คงไม่มีใครสนใจเเล้ว สื่อการสอนที่ธรรมดาอย่างเช่น powerpoint ก็ยังต้องมี story มี scenario ผู้ป่วยอยู่เป็นเเกน จึงจะน่าสนใจ

2. Activation
เริ่มต้นมา สื่อการสอนก็ต้องทำให้น่าสนใจหรือดึงดูดผู้เรียนก่อน เวลา 1-2 นาทีเเรกของสื่อการสอน เป็น "เวลาทอง" ที่จะทำให้ผู้เรียน stick อยู่กับสื่อการสอนนั้นได้หรือไม่ ดังนั้นขั้นตอน activation จึงมีความสำคัญอย่างมากในการทำสื่อการสอนทุกประเภท

3. Demonstration
สื่อการสอนที่ดี ย่อมต้องสามารถเเสดงของยากให้เป็นของง่าย เเสดงส่วนที่ซับซ้อนให้สามารถมองเห็นได้เด่นชัดขึ้น วิธีการ demonstration สามารถทำได้หลากหลายรูปเเบบ ขึ้นอยู่กับ medium หรือตัวสื่อที่ใช้ เช่น ปัจจุบันเราสามารถใช้ CG (computer graphic) มาอธิบายกระบวนการ pathophysiology ต่างๆ ให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ชัดเจนมากกว่าเเต่ก่อน ที่ใช้เป็นเพียงภาพบนเเผ่นกระดาษ อาจารย์เเพทย์ควรจะต้องปรึกษาช่างเทคนิกในสถาบันให้มาร่วมกัน นำเอา technology ที่ทันสมัยในปัจจุบัน มาใช้ในการ demonstrate สื่อการสอนของตัวเอง ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยต้องไม่ขังตัวเองอยู่กับวิธีการนำเสนอเเบบ traditional ที่ปฏิบัติตามๆกันมาเท่านั้น

4. Application
สื่อการสอนจะน่าสนใจกับผู้เรียนมากขึ้น ถ้าสามารถนำองค์ความรู้จากสื่อนั้นไปใช้ได้จริง เเละการที่สามารถนำเอาองค์ความรู้นั้นไปใช้ได้จริงนั้น สื่อการสอนจะต้องเเสดงการ apply pure knowledge หรือ ทฤษฎีในสื่อนั้นให้ผู้เรียนได้เห็นอย่างเด่นชัด การมีส่วน application หรือ tips and tricks อยู่ในสื่อการสอนเป็นระยะ จะทำให้ผู้เรียน attach อยู่กับสื่อนั้นตลอดการนำเสนอ

5. Integration
เรื่อง integration หรือบูรณาการในการพัฒนาสื่อนี้ เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเล็กน้อย คือ สื่อการสอนจะน่าสนใจขึ้นถ้าสามารถบูรณาการกับเนื้อหาส่วนอื่นได้ เพราะจะทำให้ผู้เรียนเห็นถึงความเชื่อมโยง ว่าเนื้อหาส่วนนี้มีความสำคัญอย่างไร ต่อยอดจากความรู้เดิมอย่างไร เเละจะส่งต่อไปยังความรู้ที่เหนือกว่าได้อย่างไร การบูรณาการยังครอบคลุมไปถึง การเชื่อมโยง domain ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น สื่อการสอนหัตถการจะน่าสนใจเเละมีประโยชน์มากขึ้นถ้าสามารถมีส่วนองค์ความรู้หรือ ประเด็นเจตคติที่เกี่ยวข้องกับหัตถการนั้นสอดเเทรกไว้ด้วย การบูรณาการอีกมุมหนึ่งที่ Merrill เสนอไว้คือ การเชื่อมโยงการนำไปใช้กับตัวผู้เรียน เทคนิกที่ทำให้เกิดความเชื่อมโยงนี้ได้คือ การหยอดคำถาม หรือ ประเด็นชวนคุย ชวนคิด ไว้เป็นระยะในสื่อการสอน วิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนไม่เพียงเเต่จ้องมองสื่อการสอนนั้นเพียงอย่างเดียว เเต่จะรู้จักตั้งคำถาม คิดวิเคราะห์ตาม หรือมีประเด็นไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ ทำให้สื่อการสอนนั้นมีความสนุกชวนติดตาม เเละผู้เรียนได้ความรู้อย่างเเท้จริง

เนื่องจากปัจจุบัน เทคโนโลยีทางสื่อการสอนได้พัฒนาไปมาก การจำกัดการออกเเบบสื่อการสอนที่ทันสมัยไว้เพียง หลักการ 5 ข้อของ Merrill เท่านั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย จึงมีการเพิ่มหลักการทำสื่อการสอนขึ้นอีก 4 ข้อ เพื่อให้ หลักการของ Merrill สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เเละ น่าดึงดูด ตามคำที่ Merrill เองเคยพูดไว้ว่า e3 (effective, efficient and engaging)


หลักการที่เพิ่มเติมมาอีก 4 ข้อคือ

6. Motivation
ด้วยเทคโนโลยี ICT ปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราสามารถจัดทำสื่อการสอนที่ดึงดูดผู้เรียนได้มากกว่าเเต่ก่อน สื่อดังกล่าว อาจจะมาในรูปเเบบของ vdo หรือหนังสั้น ที่ผ่านการตัดต่อเเบบมืออาชีพ เเต่ใช้เพียงเครื่อง notebook หรือ tablet ธรรมดา โดยการใส่เนื้อหาคำพูดที่ต้องการเน้นต่างๆเข้าไป สามารถทำได้ง่าย ทำให้ตลอดการนำเสนอนั้นสามารถ motivate ผู้เรียนได้ตลอดเวลา สื่ออื่นๆที่เราสามารถเลือกนำมาใช้เพื่อ motivate ผู้เรียนได้ เช่น ระบบ e learning module ต่างๆ เเละในปัจจุบัน gamification ก็กำลังได้รับความนิยมอย่างมากไม่เเพ้กัน การใช้เกมส์เป็น medium ในการเป็นสื่อการสอนนั้น ทำให้สามารถทลายกำเเพงข้อจำกัดต่างๆได้มาก เกมส์สามารถดึงดูดเเละโน้มน้าวให้ผู้เรียน stick อยู่กับเนื้อหาได้มากขึ้น ซึ่งในที่สุดเเล้วจะทำให้การเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทีดีขึ้นด้วย

7. Interaction
เทคโนโลยี ICT สมัยใหม่ทำให้สื่อการสอนน่าสนใจกว่าเดิมมาก เพราะเเทนที่ผู้เรียนจะได้เเต่อ่าน หรือ จ้องมองจอ เพื่อซึมซับเนื้อหาเพียงอย่างเดียว เราสามารถออกเเบบสื่อการเรียนรู้ให้สามารถมี interaction กับผู้เรียนได้ โดยประโยชน์ของ interaction นี้ อย่างน้อยก็สามารถทำให้ ผู้เรียน engage อยู่กับเนื้อหาได้ดีขึ้น interaction สามารถนำมาใช้กับการถามตอบ เพื่อให้ผู้เรียนได้คลายปมสงสัยในเนื้อหาบางตอนได้ หรือ interaction สามารถนำมาใช้เพื่อเป็นการทดสอบผู้เรียนเเบบ realtime คือ ถามตอบเพื่อประเมินความรู้ก่อนใช้สื่อ ถามเป็นระยะเพื่อดึงดูดผู้เรียนขณะใช้สื่อ หรือถามเพื่อประเมิน หลังการใช้สื่อเเล้ว

8. Navigation
เมื่อเรานำเทคโนโลยีชั้นสูงเเละเครื่องมือ gadget ต่างๆ เข้าสู่โลกเเห่งการพัฒนาสื่อเเล้ว เรื่อง navigation ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเป็นไปได้ไม่ยาก ผู้เรียนสามารถ control เเละ navigate การเรียนรู้ของตนเองได้อย่างง่ายดาย อยากจะเดินหน้าให้เร็วขึ้นเพื่อข้ามผ่านเนื้อหาที่ตนเองรู้ดีอยู่เเล้ว หรือต้องการย้อนหลังกลับไปดูเนื้อหาที่เข้าใจยาก หรือต้องการทบทวนอีกครั้งย่อมทำได้ ผู้เรียนยังสามารถ navigate เจาะลึกไปยังเเหล่งความรู้ที่ตนสนใจเป็นพิเศษได้อีกด้วย สื่อการสอนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ย่อมทำให้ การเรียนรู้เเบบ student centered learning เป็นจริงได้อย่างไม่ยาก

9. Collaboration
สื่อการสอนในฝันคือ สื่อการสอนที่สามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนร่วมกันจากสถานที่ต่างๆ หรือบริบทที่เเตกต่างกันได้ สื่อการสอนชนิดนี้ จำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างสอดประสานกัน ประโยชน์ของการเรียนรู้เเบบ collaboration ที่สื่อประเภทนี้สามารถทำให้เกิดขึ้นได้คือ ผู้เรียนจะมีความสนุกมากขึ้นจากการเรียนพร้อมๆกันหลายๆคน การเรียนรู้ไปพร้อมๆกันนี้ทำให้เกิด social learning คือได้เรียนรู้จากกันเเละกัน ผู้เรียนได้ benchmark กับเพื่อนๆ ทำให้เกิด motivation ที่จะเรียน ทำให้รู้ว่า ส่วนใดที่ตนเองทำได้ดีกว่าเพื่อน ส่วนใดที่ตนทำได้อ่อนกว่าเพื่อน การมี collaboration ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ทำให้ฝึกการทำงานเป็นทีม เเละทำให้ตระหนักว่า การช่วยกันเรียน หรือการร่วมกันทำงานเเละเรียนรู้เป็นทีมนั้น ทำให้เเก้ปัญหาที่ยากเเละยิ่งใหญ่ได้


สรุป Merrilll ได้เสนอหลักการจัดการเรียนการสอนที่สามารถนำมา apply ใช้เป็นหลักการจัดทำสื่อการสอนได้เป็นอย่างดี โดยในโลกเเห่งเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเช่นปัจจุบัน อาจารย์ผู้สอนควรจะปรึกษานักเทคนิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพื่อร่วมกันพัฒนาสื่อการสอนให้น่าสนใจ โดยใช้หลักการทั้ง 5 ข้อข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปัญหาหรือ scenario เป็นเเกนในการเดินเรื่องราวของสื่อ การ activate ให้ผู้เรียนสนใจสื่อนั้นตั้งเเต่เริ่มต้น การจัดวาง demonstration ให้เป็นอย่างดีเพื่อจะได้ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย สื่อการสอนต้องเน้น application เพื่อให้ผู้เรียนสนใจ เพราะมีเนื้อหาที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง ในบางช่วงบางจังหวะของสื่อจะต้องมีการชวนคิดชวนคุย มีการตั้งคำถามเพื่อให้ ผู้เรียนได้ฉุกคิด เเละสามารถนำเนื้อหาในสื่อนั่นมาเชื่อมโยงกับชีวิตจริงของตนเองได้ เเละหลักการอีก 4 ข้อ ที่อาจารย์ผู้จัดทำสื่อไม่ควรพลาดในการนำมาใช้ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆได้รับการพัฒนาไปมากเเละสามารถจัดหามาใช้งานได้ไม่ยาก จนทำให้สื่อการสอนสามารถพัฒนาออกมาได้อย่างน่าสนใจ คือ สื่อต้องสามารถ motivate ผู้เรียนได้ตลอดเวลา เเละ สื่อต้องสามารถทำให้เกิด interaction, navigation เเละ collaboration ได้อีกด้วย

CR:
5. http://mdavidmerrill.com/Papers/Finding_e3_instruction_EdTech%5BFinal%5D.pdf
6. http://s3.amazonaws.com/statescoop-media/uploads/_articlesCenterImages/iStock_000045200436_Large.jpg?mtime=20160229093813
7. http://www.edumart.com/public/images/store.jpg
8. http://mrktms.weebly.com/uploads/1/2/7/1/12715332/7670944_orig.jpg



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม