ยุทธศาสตร์การผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบท

เสร็จเรียบร้อยไปเเล้วอย่างสวยงาม กับการประชุมสัมนา การพัฒนายุทธศาสตร์โครงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบทปี 2561-70

สบพช ต้องขอขอบคุณท่านคณบดี เเละผู้บริหารจากคณะเเพทย์ทั้ง 15 คณะคู่ความร่วมมือ ท่านผอ.ศูนย์เเพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกทั้ง 37 เเห่ง พร้อมทั้งคณะอาจารย์เเพทย์เเละเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่มาร่วมให้ข้อคิดเห็น เเละวางเเผนเเนวทางการพัฒนาโครงการ CPIRD ของพวกเราทุกคน ให้มีทิศทางการดำเนินงานที่เหมาะสม ตอบโจทย์ประเทศ เเละที่สำคัญได้มาร่วมกันชี้ปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งเสนอเเนวทางเเก้ไขในการประสานงาน เเละการร่วมกันทำงานในภาพรวมของเครือข่าย

สบพช ได้นำเสนอ ยุทธศาสตร์การทำงาน ของ สบพช ในปี 2561 ให้ที่ประชุมได้ใช้เป็นเเนวทางการสัมนา โดยทีมสบพช ได้มีการสัมนาจัดทำยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสำนักงาน ไปก่อนหน้านี้เเล้ว โดยสบพช หวังว่า ตัวเเทนทั้งจากคณะเเพทย์ เเละศูนย์เเพทย์ต่างๆที่เข้าร่วมการสัมนาครั้งนี้ จะได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีเเนวทางการระดมความคิดเห็นดังนี้


1. Outcome ที่คาดหวังของโครงการ ซึ่งมีอยู่ 2 ข้อคือ

  • อัตราการคงอยู่ในระบบของแพทย์โครงการ
  • สัดส่วนของแพทย์ต่อประชากร



2. Output ที่วัดได้ จับต้องได้ จากความร่วมมือในการดำเนินการโครงการ มี 6 ข้อคือ

  • อัตราการรับ นศพ. CPIRD ตามเป้า
  • อัตราการจบการศึกษาของบัณฑิตและได้รับใบประกอบวิชาชีพ
  • อัตราการกระจายแพทย์ ตรงตามพื้นที่เขตสุขภาพ
  • อัตราอาจารย์แพทย์ผ่านการอบรมหลักสูตรแพทยศาสตรศึกษา
  • มีระบบฐานข้อมูล และนำผลมาวิเคราะห์และวิจัยพัฒนา
  • ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์


3. ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานที่จะทำให้ไปถึงจุดมุ่งหมายข้างต้นที่ สบพช ได้วางเอาไว้ในส่วนของสำนักงานเอง มี 5 ยุทธศาสตร์คือ


ยุทธศาสตร์ที่ 1: ร่วมผลิตแพทย์ตามโครงการและพัฒนาแหล่งผลิต

  • พัฒนาระบบจัดการ ส่งเสริมและติดตามโครงการผลิต และจัดสรรแพทย์โครงการเพื่อตอบสนองระบบบริการกระทรวงสาธารณสุข
  • พัฒนาระบบแพทย์พี่เลี้ยง
  • ส่งเสริมให้ศูนย์แพทย์ฯมีระบบพัฒนาการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์


ยุทธศาสตร์ที่ 2: พัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นเลิศในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ตามโครงการ
  • พัฒนาผู้บริหารและอาจารย์แพทย์ ด้านแพทยศาสตรศึกษา ด้านคลินิก ด้านงานวิจัย และด้านบริหาร
  • พัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในศูนย์แพทย์ฯ และสบพช. ให้มีความเชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการ และวิชาการ
  • ส่งเสริมการพัฒนานักศึกษาแพทย์ให้ตอบสนองอัตลักษณ์ของโครงการ
  • ส่งเสริมจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

ยุทธศาสตร์ที่ 3: บริหารจัดการแผนปฏิบัติงาน ระบบข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาด้าน hardware และ software ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานต่างๆ (สบพช./มหาวิทยาลัย/ศูนย์แพทย์ฯ/กระทรวง)ให้สามารถตอบสนองการบริหารข้อมูล ด้านการผลิตแพทย์
  • พัฒนายุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล ให้มีความเชื่อมโยง ทันสมัย ใช้เพื่อการวิเคราะห์และวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • พัฒนางานวิจัยเพื่อเผยแพร่และนำไปใช้ในการพัฒนาแพทยศาสตรศึกษา


ยุทธศาสตร์ที่ 4: พัฒนา สบพช.และศูนย์แพทย์ฯ ให้มีความเป็นเลิศด้านการบริหาร
  • พัฒนาระบบบริหาร บุคลากร การเงิน พัสดุ ควบคุมภายใน ให้มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ศูนย์แพทย์ฯและสบพช.
  • นำระบบธรรมาภิบาล มาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศ โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานการศึกษา ให้เป็นมาตรฐานสากล

ยุทธศาสตร์ที่ 5: ร่วมกับเครือข่ายทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุขในการพัฒนาแพทยศาสตรศึกษา
  • ประสานกับหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขทั้งส่วนกลาง และเขตสุขภาพ เพื่อพัฒนาโครงการผลิตแพทย์ฯ
  • ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย แพทยสภา กสพท. สกอ. และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาโครงการผลิตแพทย์ฯ
  • ร่วมมือกับองค์กรการศึกษาต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ
จะเห็นได้ว่า ยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ข้อของ สบพช มีความสอดคล้องกัน โดยศูนย์เเพทย์ต่างๆสามารถนำไปใช้เป็นเเนวทางปรับปรุงยุทธศาสตร์การดำเนิงานของ ศูนย์เเพทย์ในปี 2561 ได้อย่างสะดวก 

ยุทธศาสตร์ข้อเเรก คือการเน้นย้ำบทบาทหน้าที่หลักของ สบพช เเละ ศูนย์เเพทย์ คือการร่วมผลิตเเพทย์ในระดับต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่เป็นมุมมองของ service delivery ขององค์กร 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 เป็นการพัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วน เพื่อให้สามารถดำเนินงานยุทธศาสตร์ข้อเเรกได้อย่างราบรื่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 จึงเป็นมุมมองของ people excellence 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นเรื่องของระบบฐานข้อมูล ระบบ ICT เเละการพัฒนางานวิจัย ที่จะทำให้ people excellence ในยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เเรกได้ดียิ่งขึ้น สมกับเป็น smart organization สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นเรื่องการกำกับการทำงานให้มีระบบธรรมาภิบาล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนเเก่องค์กร เป็นมุมมองของ governance excellence 

เเละสุดท้าย ยุทธศาสตร์ที่ 5 เป็นเรื่องของการเชืื่อมโยงเครือข่ายต่างๆทั้งในกระทรวง นอกกระทรวง ทั้งในประเทศเเละต่างประเทศ เพื่อนร่วมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ เเละพัฒนางานของการผลิตเเพทย์ของประเทศไทยให้ดียิ่งๆขึ้นไป

สรุป สบพช หวังเป็นอย่างยิ่งว่าอาจารย์เเพทย์ในศูนย์เเพทย์ทุกเเห่ง ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร เมื่อได้รับข้อมูลเชิงบริหารเหล่านี้เเล้ว น่าจะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ว่างานที่ตนเองช่วยกันดำเนินการอยู่นั้น มีคุณประโยชน์กับประเทศชาติอย่างยิ่ง องค์กรที่ตนเองสังกัดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์เเพทย์หรือ สบพช มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน วัดได้ จับต้องได้ เเละที่สำคัญมียุทธศาสตร์การดำเนินงาน ที่อาจารย์เเพทย์ทุกท่านน่าจะอุ่นใจได้ว่า เป็นยุทธศาตร์ที่ทำให้องค์กรเป็น smart organization ในศตวรรษที่ 21 อย่างเเท้จริง


















ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม