งานวิจัยว่าด้วย อายุของเเพทย์กับผลลัพธ์การรักษา

หมอศัลย์เก่า (เเก่) ผ่าเเล้วตายน้อยกว่าหมอศัลย์หนุ่มจริงหรือ ?


หมอเมดหนุ่มรักษาหายมากกว่าหมอเมดเก่า (เเก่) ....


หมอศัลย์ผู้หญิงเเละหมอศัลย์ผู้ชายล่ะ ใครผ่าเเล้วตายมากกว่ากัน ?


คำถามที่น่าสนใจเหล่านี้มีคำตอบจากงานวิจัย 3 ชิ้นนี้






Wallis C, et al. Comparison of postoperative outcomes among patients treated by male and female surgeons: a population based matched cohort study.  BMJ 2017;359:j4366


Coburn N, et al. Links between age and sex of surgeons and patients’ outcomes. BMJ 2018;361:k1691


Tsugawa Y, et al. Age and sex of surgeons and mortality of older surgical patients: observational study. BMJ 2018;361:k1343


สรุปจากงานวิจัยเเละบท editorial ข้างต้นได้ว่า




หมอศัลย์ที่เมื่อมีอายุมากขึ้นจะ correlate กับ perioperative mortality ของคนไข้ที่ลดลง paper เดียวกันนี้ในปี 2018 ไม่เห็นความเเตกต่าง ของผลลัพธ์การผ่าตัดระหว่างศัลยเเพทย์ผู้หญิงเเละผู้ชาย เเต่งานวิจัยก่อนหน้านั้นในอเมริกาที่พบว่า ศัลยเเพทย์ผู้หญิงผ่าเเล้ว outcomes คนไข้ดีกว่า ศัลยเเพทย์ผู้ชาย

เเต่หากถามถึงผลการรักษาของหมอ internist (หมอเมด) เเล้วจะพบว่า internist หนุ่มมีผลการรักษาดีกว่าหมอ internist อาวุโส 


ซึ่งจาก  findings ข้างต้น น่าจะอธิบายได้ว่า การรักษาด้วยการผ่าตัดโดยธรรมชาติเป็น skills ที่ต้องฝึก ซึ่งหากมีความชำนาญเเล้วก็จะสามารถลด complications หรือสามารถ handle condition คนไข้ได้ดีกว่า คนที่ยังมีความชำนาญน้อย 


ส่วนการรักษาของ internist เป็นลักษณะการที่จะต้อง update ความรู้ follow guidelines ใหม่ๆ จึงจะได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดี ดังนั้นงานวิจัยจึงพบว่า หมอหนุ่มๆที่มีความรู้ดีกว่าหมออาวุโสที่จบมานานเเล้ว ึงรักษาเเล้วได้ outcomes ที่ดีกว่า 






เนื่องจากวงการเเพทย์ของเราไม่ใช่สนามเเข่งขัน เราไม่ได้ต้องการรู้เพียงเเค่หมอหนุ่มหรือหมออาวุโสใครเก่งกว่ากัน เราไม่ได้อยากรู้ว่าหมอผู้หญิงหรือหมอผู้ชายใครดูเเลคนไข้ดีกว่ากัน เเต่ข้อมูลชุดนี้ทำให้เราต้องตระหนักถึงเรื่อง mentor and coaching ในการทำงานของเเพทย์ ซึ่งถูกพูดถึงเเละนำมาใช้กันน้อยมาก 


mentor and coaching เป็นไปได้ทั้ง 2 ด้าน คือ ทั้งคนอาวุโสที่มีประสบการณ์มากกว่า อาจจะถูกจัดเป็น coach ให้หมอหนุ่มที่พึ่งจบใหม่ หรือ mentor and coaching อาจจะมาในรูปเเบบของ peer assisted learning เช่นการประชุมเเลกเปลี่ยนความรู้ หรือ การได้รับฟังความรู้ใหม่ๆในการประชุม interesting case ซึ่งหมออาวุโสจะได้ update ความรู้เเละ guideline ใหม่ๆไปเเบบไม่รู้ตัว ไม่ต้องมี formal coaching จาก หมอหนุ่มๆ ให้รู้สึกอึดอัด





สรุป การเรียนรู้ของเเพทย์ต้องมีอยู่ตลอดชีวิต การให้ความสำคัญเพียงการศึกษาระดับ undergraduate เเละ postgradutae เท่านั้นอาจจะไม่พอ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก กำลังพัฒนาหลักสูตรการศึกษาสำหรับ CE หรือ Continuing Education กันอยู่ ซึ่งมีหลากหลายเทคนิกที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ CE ให้กับวิชาชีพต่างๆ วิชาชีพเเพทย์อย่างเรา ทำงานอยู่บนความเสี่ยงเเละความเป็นความตายของคนไข้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง CE นี้เป็นอย่างยิ่งเช่นกัน


CR:

Wallis C, et al. Comparison of postoperative outcomes among patients treated by male and female surgeons: a population based matched cohort study.  BMJ 2017;359:j4366


Coburn N, et al. Links between age and sex of surgeons and patients’ outcomes. BMJ 2018;361:k1691


Tsugawa Y, et al. Age and sex of surgeons and mortality of older surgical patients: observational study. BMJ 2018;361:k1343














ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม