นักศึกษาเเพทย์ไปเรียนรู้ในชุมชนนานเท่าไหร่ถึงจะพอ ?

ข้อมูลจากต่างประเทศว่าอย่างไรเรื่องการนำนักเรียนไปสอนที่รพ. ชุมชน?


จากความสำเร็จ 24 ปีของโครงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบทของประเทศไทย เป็นที่ประจักษ์เเล้วว่า ความร่วมมืออันดีระหว่าง 14 มหาวิทยาลัยเเละ 37 ศูนย์เเพทย์ที่ผ่านมา ได้เพิ่มจำนวนเเพทย์ที่มีอัตราการคงอยู่ในชุมชนสูงกว่าเเพทย์ regular track ทั่วไป

ปัญหาการขาดเเคลนเเพทย์ในชนบทนั้นเป็นปัญหาที่เรียกว่าเป็น"โจทย์ซ้ำ" นั่นคือ สามารถพบได้ในต่างประเทศหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่เเละมีประชากรพื้นถิ่นที่รัฐบาลต้องดูเเลเช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เเละเเคนาดาเป็นต้น


การเรียนการสอนในต่างประเทศอาจจะเเตกต่างจากบ้านเรา เเต่ คำถามที่ถามเหมือนๆกันในวงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบทคือ
- ควรจะให้น้องๆนักศึกษาเเพทย์เข้าไปเรียนในชุมชนนานเท่าไหร่ดี?
- ควรให้เรียนในรพ.ระดับไหน?
- เเละใครควรจะเป็นคนสอน?

งานวิจัยโดย O Sullivan เเละคณะ จาก Monash University, Australia เรื่อง Duration and setting of rural immersion during the medical degree relates to rural work outcomes ซึ่งพึ่งตีพิมพ์ ในวารสาร Medical Education เดือนเมษายนที่ผ่านมา ให้คำตอบที่ค่อนข้างชัดเจนว่า การเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาเเพทย์ได้ immerse ในชนบทมากกว่า 1 ปีนั้น ทำให้หมอจบใหม่มี retention อยู่ในชนบทมากกว่าการไม่มี immersion โดยมี OR เท่ากับ 1.79 โดย OR ของความสัมพันธ์นี้จะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 2.26 เเละ 4.43 หากระยะเวลาในการ immersion เพิ่มเป็น 1-2 ปี เเละ มากกว่า 2 ปี ตามลำดับ

เเต่ส่วนที่น่าสนใจอยู่ตรงที่ เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่ปฏิบัติงานอยู่รพ.ศูนย์ (regional hospital) กลุ่มที่อยู่รพ. ชุมชนที่สอนโดย GP เเละกลุ่มที่ผสมผสาน พบว่า กลุ่มที่ retention ดีที่สุดคือกลุ่มที่ปฏิบัติงานเเบบผสมผสาน คือ อยู่ทั้งที่รพ. ศูนย์เเละรพ.ชุมชนที่สอนด้วย GP โดยมี OR ของความสัมพันธ์เรียงกันดังนี้ คือ OR 3.26 สำหรับกลุ่มที่เรียนเเบบผสมผสาน OR 1.94 สำหรับกลุ่มที่เรียนที่รพ. ศูนย์อย่างเดียว เเละ OR 1.91 สำหรับกลุ่มที่เรียนที่รพ. ชุมชนอย่างเดียว


เมื่อทราบข้อมูลกันเช่นนี้เเล้ว น่าจะพอรั้งทีมจัดการเรียนการสอนบางทีม ที่พยายามจะเอานักศึกษาเเพทย์ไปเรียนกับ "specialist ในรพ. ชุมชน" ให้พอหยุดคิดทบทวนได้บ้างว่า จะเกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใด

ขณะเดียวกันงานวิจัยนี้ก็น่าจะเป็นการให้กำลังใจเเก่อาจารย์เเพทย์ที่ช่วยกันสอนนักเรียนเเพทย์โครงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบท ว่าเราได้มาถูกทางเเล้ว มีทั้งงานวิจัยจากต่างประเทศเเละงานวิจัยของโครงการเราเองที่ยืนยันความสำเร็จดังกล่าว จากนี้ไปคงจะอยู่ที่ การจัดการเรียนการสอนในส่วนอื่นๆให้เข้มข้นมากขึ้น เช่น การสอนหัตถการ เเละการเรียนรู้เพื่อเข้าใจระบบสุขภาพ การทำให้เเพทย์รุ่นใหม่ๆมีหัวใจความเป็นมนุษย์ในการดูเเลประชาชน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเสริมสมรรถนะของเเพทย์ให้อยู่ปฏิบัติงานในชนบทได้อย่างมั่นใจ มั่นคง เเละมีความสุข

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม