IBM Watson for Oncology

AI in health มาเเน่หรือไม่?

AI จะเเย่งงานหมอๆอย่างเราจริงหรือ?

มีวิธีไหนที่เราจะใช้ AI ให้มีประโยชน์สูงสุดกับคนไข้ของเรา เเละจัดให้ AI อยู่ร่วมกันกับเเพทย์อย่างสมานฉันท์?

คำถามเหล่านี้อาจจะไม่ใช่คำถามของหมอรุ่น generation หน้าอีกต่อไป เพราะวันนี้ไม่มากก็น้อย AI (Artificial Intelligence) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานของเเพทย์เเล้ว



การทำงานของ AI ดังกล่าวเป็นการร่วมกันเเก้ปัญหาคนไข้เเบบเป็นทีมกับเเพทย์ โดยเเพทย์ใช้ AI เพื่อมาปิด "ข้อจำกัด" ความเป็นมนุษย์ของเเพทย์เอง

เราทราบกันดีว่าวิวัฒนาการด้านการเเพทย์ได้เพิ่มขึ้นมากในระยะ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา เเละด้วยเทคโนโลยีเเละระบบสารสนเทศที่ทันสมัยมากขึ้น ยิ่งทำให้วิวัฒนาการต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างเท่าตัวในระยะเวลาไม่นาน

โดยธรรมชาติจึงทำให้เเพทย์อย่างเราไม่สามารถ keep up กับความก้าวหน้าต่างๆเหล่านี้ได้ทัน

ตัวช่วยที่มีเเล้วในชีวิตจริงเเละไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไปคือ AI ที่ผลิตโดยบริษัท IBM ที่เรียกว่า IBM Watson for Health ซึ่งตัวที่โดดเด่นมากในปัจจุบัน คือ Watson for Oncology ที่มีการนำมาใช้จริงในการให้บริการคนไข้ ในรพ.ต่างๆ หลายทวีปทั่วโลก



กระบวนการทำงานของ IBM Watson คือ เป็นเเหล่งรวบรวมข้อมูล ผลงานวิชาการต่างๆไม่ว่าจะเป็น textbooks, journals, guidelines, expert opinion ต่างๆที่อยู่ในระบบ internet เพื่อให้ AI ได้มี "ความรู้" ที่เพียงพอ ในการช่วยวินิจฉัยเเละรักษาคนไข้

ระบบของ Watson จะเชื่อมเข้ากับระบบ HIS (Health Information System) ของรพ.ด้วย เเละด้วยวิธีการนี้ Watson จะได้ข้อมูลทุกอย่างของคนไข้เเต่ละคน เพื่อนำมาวิเคราะห์เเละเสนอเเนะการรักษาที่ update ที่สุด เเละเหมาะสมกับคนไข้เเต่ละคนมากที่สุด

จากงานวิจัยที่พึ่งตีพิมพ์ใน Journal Annals of Oncology เดือนกุมภาพันธ์ 2018 โดย Dr Somashekhajr SP เเละคณะ เเสดงให้เห็นว่า suggestion ของ Watson ไม่ว่าจะออกมาในระดับ recommendation หรือ for consideration มีความสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญใน tumor board ของรพ.นั้นถึง 93% ซึ่งถือว่าสูงมาก




ถ้ามองในเเง่บวก การผลิตผุ้เชี่ยวชาญเเต่ละคนใช้เวลา ใช้ทรัพยากรมากมาย จากนั้น ผู้เชี่ยวชาญเเต่ละคนจะต้องหาประสบการณ์จากการรักษาคนไข้อยู่นานพอสมควรจนสามารถเรียกได้ว่า Expert เเต่ expert เหล่านี้หากไม่สามารถเข้าถึงองค์ความรู้สมัยหใม่ หรือไม่สนใจ keep update ความรู้ของตัวเองเเล้ว เพียงไม่นาน expert  เหล่านี้ก็จะกลายเป็น "expire" ดังนั้นการมีเทคโนโลยีเเบบ AI เข้ามานี้จะมีประโยชน์กับระบบสาธารณสุขโดยรวม โดยเฉพาะที่ที่ขาดเเคลน ผู้เชี่ยวชาญสามขาต่างๆที่จะคอยให้ความคิดเห้ฯหรือ ช่วยการวินิจฉัยหรือการรรักษา เช่น ระบบAI ในการ imaging ไม่ว่าจะเป็น xray CT MRI น่าจะมีประโยชน์อย่างมากในประเทศที่ขาดเเคลนรังสีเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ กรณี Watson Oncology น่าจะมีประโยชน์มากกับประเทศที่ขาดเเคลนผู้เชียวชาญทางมะเร็งวิทยา หรือไม่มีระบบ tumor board ที่ ผู้เชี่ยวชาญหลากลายสาขามร่วมประชุมให้ข้อคิดเห้ฯในการรักษาคนไข้เเต่ละรายอย่างมีคุณภาพ

โดยสรุปถ้า AI จะมา ก็ปล่อยให้มา โดยเเพทย์อย่างเราต้องรู้จัดใช้ AI ให้เป็นประโยชน์ โดย AI จะมาช่วยปิด ข้อจำกัด ความเป็นมนุษย์ของเรา เเละมนุษย์อย่างเราก็จะต้องฝึกการทำงานเป้นทีมกับ AI ด้วย

เเต่สบายใจได้ว่า AI ไม่มาเเย่งงานเเพทย์ไปเเน่ๆ เพราะสุดท้ายเเล้ว AI ก็ไม่ยอมมาโดนฟ้องเเทนเเพทย์เเน่ๆ final judegment เเละความรักผิดชอบยังเป็นของเเพทย์เเน่นอน :)

CR:
Somashekhajr SP, et al. Watson for Oncology and breast cancer treatment recommendations: agreement with an expert multidisciplinary tumor board. Ann Oncol. 2018 Feb 1;29(2):418-423. 



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม