The 3rd Pillar of Medical Education


เมื่อช่วงปลายปี 2016 ที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนเเปลงใหญ่อย่างหนึ่งในวงการเเพทยศาสตรศึกษาอเมริกา นั่นคือการที่ AMA (American Medical Association) ได้ประกาศว่า ต่อไปนี้การศึกษาของเเพทย์เราจะมี 3 pillars เเทนที่จะเป็น 2 pillars เช่นปัจจุบัน

3 pillars of medical education ที่ AMA กล่าวถึงคือ Basic Science, Clinical Science เเละ Health Systems Science (HSS)

AMA ยังได้ปักหมุดการเปลี่ยนเเปลงครั้งนี้ด้วยการ launch textbook ทางเเพทยศาสตรศึกษาขึ้นมา 1 เล่ม ชื่อ Health Systems Science  ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับ pillar ที่ 3 ของการเรียนเเพทย์ดังกล่าว หัวข้อ HSS ที่ AMA พยายามครอบคลุมในเล่มคือ patient safety, quality improvement, evidence-based medicine, value in health care, interprofessional teamwork, stewardship of health care resources, population management, clinical informatics, care coordination, leadership, and health care financing/reform

เหตุของการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องย้อนกลับไปถึงปี 1910 ที่  Abraham Flexner ได้เสนอรายงาน Flexner Report ที่สั่นคลอนวงการเเพทยศาสตรศึกษาของอเมริกาในขณะนั้น Flexner ได้ทำสำเร็จในการกระตุ้นให้โรงเรียนเเพทย์ต่างๆมีการจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานในระบบมหาวิทยาลัย เเละให้มีการกำกับติดตามคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ผลพวงของ Flexner Report เมื่อกว่า 100 ปีที่เเล้ว จึงเป็นบ่อเกิดของการเรียนการสอนเเบบ 2 pillars of medical education คือ basic science เเละ clinical science

มาถึงวันนี้ อาจารย์เเพทย์ส่วนใหญ่พอจะรับรู้ได้ว่า ตลอดระยะเวลา 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เเพทย์คนหนึ่งเมื่อจบออกจากโรงเรียนเเพทย์ เเละเข้าไปทำงานจริงเเล้ว ความรู้เพียงเเค่ basic science เเละ clinical science เองอาจจะไม่เพียงพอให้เเพทย์ใหม่คนนั้นทำงานในระบบสาธารณสุข เเพทย์จบใหม่อาจจะต้องรู้จักระบบสาธารณสุขในภาพรวม (health care industry) ระบบบริการภาครัฐ ระบบการจ่ายยา ระบบการประกันตน วิธีการพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าคุ้มทุน เเละที่สำคัญต้องรู้ระบบพัฒนาคุณภาพที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางด้วย

ในอดีต เเพทย์คนหนึ่งมีอิสระในการทำงานสูงมาก การจะวินิจฉัยโรค หรือสั่งการรักษาต่างๆ สามารถกระทำได้เอง โดยอาศัยความรู้จาก basic science เเละ clinical science ที่ตัวเองเรียนมาจากโรงเรียนเเพทย์เท่านั้น เเต่ระยะหลัง "เเพทย์ทุกคน" ถูกจัดให้อยู่ในระบบสุขภาพไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เเละเเพทย์รุ่นเก่าเเละรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ก็เรียนรู้เรื่องระบบสุขภาพเอาเองตามเเต่บริบทที่ตัวเองทำงานอยู่ รู้บ้างไม่รู้บ้างตามยถากรรม

การที่ใช้คำว่า "เเพทย์ทุกคน" เนื่องจากระบบสุขภาพที่กล่าวถึง ไม่ใช่ระบบของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น เเต่เป็นระบบการให้บริการของทุกหน่วยบริการทางสาธารณสุขของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยบริการขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ระบบดังกล่าวได้ถูกเซตให้ครอบคลุมทุกกิจกรรมของคนไข้ ตั้งเเต่คนไข้เดินทางมาถึงโรงพยาบาล (หรือหลายๆครั้งก็ก่อนที่คนไข้จะมาโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการปฐมภูมิ) ดังนั้นเเพทย์ซึ่งมีหน้าที่ดูเเลคนไข้จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เเละยุ่งเกี่ยวกับระบบต่างๆเหล่านี้ไม่มากก็น้อย

Health Systems Science มีความหมายค่อนข้างกว้าง เเละครอบคลุมองค์ความรู้ต่างๆที่วงการเเพทย์เเละสาธารณสุขได้สะสมกันมาในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา บางหัวข้อก็มีข้อสรุปหรือเเนวทางที่เด่นชัด เเละได้รับการบรรจุเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนของเเพทย์เเล้ว เช่น การดูเเลรักษาคนไข้ที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของคนไข้เป็นหลัก (patient safety education) การเลือกใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use) การที่เเพทย์จำเป็นต้องรู้ระบบเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของประเทศ ต้องรู้ค่าทางเศษฐศาสตร์ในการสั่งการวินิฉัยเเละการรักษาเเต่ละครั้ง (health economic) หรือระบบสุขภาพอื่นๆที่ เเพทย์ควรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเช่น ระะบบบริการปฐมภูมิ หรือระบบ DHS (district health system) ของประเทศ ระบบพัฒนาคุณภาพของหน่วยบริการ (quality improvement) หรือระบบสุขภาพหนึ่งที่ควรให้นักเรียนเเพทย์ได้เรียนรู้อย่างดี ก่อนไปปฏบัติงานจริงคือ ระบบการทำงานที่เป็น collaborative practice  ซึ่งหัวข้อเหล่านี้จะเป็นตัวนำให้โรงเรียนเเพทย์จัดการเรียนการสอนที่เป็น interprofessional education มากขึ้น

ตั้งเเต่ปี 2013 AMA ได้สร้างกลุ่มที่พยายามผลักดันการเปลี่ยนเเปลงทางเเพทยศาสตรศึกษาขึ้นมาโดยใช้ชื่อโครงการว่า AMA’s Accelerating Change in Medical Education Consortium ปัจจุบันมีโรงเรียนเเพทย์ที่มีชือเสียงในอเมริกาเข้าร่วมถึง 32 เเห่ง เเละหลายโรงเรียนเเพทย์ก็ได้นำร่องโครงการเปลี่ยนเเปลงหลักสูตรให้สอดคล้องกับเเนวคิด The 3 Pillars of Medical Education ไปเเล้ว เช่น Harvard Medical School เเละ Mayo Clinic School of Medicine

จากนี้ไปคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่า คลื่นการเปลี่ยนเเปลงครั้งนี้จะกระทบอีกฟากฝั่ง Atlantic อย่างไร ต้องจับตามองว่าโรงเรียนเเพทย์ในยุโรป จะเสนอเเนวทางการปรับการเรียนการสอนอย่างไรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนเเปลงของระบบสุขภาพ ส่วนสถาบันผลิตเเพทย์ในไทยทั้งส่วนคณะเเพทย์เเละศูนย์เเพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกนั้น ได้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดอยู่เเล้ว ที่จะพยายามนำเอาวิชา HSS เข้ามาในหลักสูตรการเรียนการสอน ก็จะได้มีโอกาสเห็น model ต่างๆของทั้งฝั่งอเมริกาเเละยุโรป เเละจะได้มีกำลังใจในการพัฒนาหลักสูตรเเพทย์ไทยให้ทันสมัย ทันยุคทันเหตุการณ์ ให้เข้ากับบริบทระบบการเเพทย์เเละสาธารณสุขไทย เนื่องจากการใส่ HSS ไปในหลักสูตรเเพทยศาสตรบัณฑิตได้กลายเป็นกระเเสโลกไปเเล้ว

CR
1. https://www.ama-assn.org/education/creating-medical-school-future
2. https://commerce.ama-assn.org/store/catalog/productDetail.jsp?product_id=prod2780003
3. https://wire.ama-assn.org/education/not-your-grandfather-s-med-school-changes-trending-med-ed?utm_source=FBPAGE&utm_medium=Social_AMA&utm_term=805701537&utm_content=other_accelerating_change_in_med_ed&utm_campaign=article_alert

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม