Grasha-Riechmann 6 Learning Styles
นักเรียนประเภทไหน ไม่เหมาะกับการเรียนรู้ เเบบ student-centered learning?
จากการที่ได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์แพทย์ ที่เข้า workshop เรื่อง small group learning ซึ่งเป็นรูปเเบบหนึ่งของ student-centered learning ทำให้เกิดคำถามกันขึ้นมาว่า เเล้วจะมีนักเรียนประเภทไหนหรือไม่ ที่ไม่เหมาะกับการเรียน เเบบ student-centered learning/ small group learning
นักเรียนเหล่านี้อาจจะไม่ชอบ ไม่ถนัด หรืออาจจะมี learning style (LS) บางเเบบที่สามารถเรียนด้วยวิธีการอื่นได้ดีกว่า
LS 1. Competitive type
นักเรียนกลุ่มนี้ชอบการแข่งขัน ชอบเเสดงออกเพื่อจะได้คะเเนนหรือความภาคภูมิใจเป็นรางวัลตอบเเทน อาจารย์เเพทย์จำนวนหนึ่งก็เป็นเช่นนี้เมื่อยามเป็นเด็ก เพราะฉะนั้นการเรียนรู้แบบ student-centered learning/ small group learning นี้น่าจะถูกโฉลก กับนักเรียนกลุ่มนี้อย่างมาก เพราะเขาเเละเธอเหล่านั้น จะแย่งกันยกมือถามคำถาม หรือนำเสนอ เพื่อให้อาจารย์เห็นว่าตัวเองมีความรู้ความสามารถ
LS 5 Dependent type
กลุ่มที่ 5 คือกลุ่ม dependent นั่นคือกลุ่มที่พึ่งพาครูสูงมาก เป็นกลุ่มที่ชอบเรียนแบบเลคเชอร์ และเชื่อมั่นในองค์ความรู้ของครูอย่างสูงสุด ดังนั้นหากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มนี้ให้กลับมาเรียนรู้แบบ student-centered learning/ small group learning ได้ ก็จะทำให้เกิดการปรับทัศนคติ ทำให้เขามั่นใจในตัวเองว่า สามารถไปค้นคว้าองค์ความรู้ เเละสรุปประเด็นสำคัญๆมาถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมชั้นได้ ทำให้เขามั่นใจว่า ต่อไปภายภาคหน้า จะสามารถเป็น life long learner ดูเเลการพัฒนาตนเองอยู่เสมอได้
LS 6 Independent type
กลุ่มสุดท้าย คือกลุ่ม independent กลุ่มนี้ชอบการเรียนแบบอิสระ ไม่ชอบฟังเลคเชอร์ ไม่ชอบใครมาบอกมาจำ้จี้ช้ำไช ไม่ชอบรวมกลุ่มติว หรือทำงานกลุ่ม เเต่ชอบอ่านหนังสือเอง เเละมั่นใจในตัวเองสูงว่า ตัวเองสามารถดูเเลจัดการการเรียนรู้ของตัวเองได้ กลุ่มนี้คือกลุ่มที่พบเห็นได้บ่อยๆในนักเรียนเเพทย์ เเละหากเรายอมปล่อยให้นักเรียนของเราส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเรียนเช่นนี้ พฤติกรรมการทำงานของเขาเเละเธอในอนาคตก็จะไม่เเตกต่างกัน อันที่จริงกลุ่มนี้น่าจะถนัดการเรียนแบบ student-centered learning อยู่เเล้ว เพราะมีทักษะการค้นคว้าเเละการจัดการความรู้ของตนเองเป็นอย่างดี แต่สิ่งที่นักเรียนกลุ่มนี้ จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกคือ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเเละการทำงานเป็นทีม เนื่องจากในอนาคต เขาจะต้องได้ทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะทีมที่เป็นสหสาขา ดังนั้นการฝึกการเรียนรู้ แบบ student-centered learning/ small group learning จึงมีความจำเป็นกับนักเรียนกลุ่มนี้มาก
สรุป นักเรียนทั้ง 6 กลุ่ม ตาม learning style ของ Grasha-Riechmann นั้น เหมาะสมกับการเรียนรู้เเบบ student-centered learning/ small group learning ทั้งสิ้น เพียงเเต่มีคำถามอยู่ที่ว่า อาจารย์ผู้สอนต่างหาก ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนกระบวนการสอนของตัวเอง จาก teacher-centered teaching เป็น student-centered learning หรือไม่ เป็นคำถามที่น่าสนใจ ทำให้เราอยากรู้ต่อไปอีกว่า ที่ Grasha-Riechmann ได้เเบ่งอาจารย์ตามสไตล์การสอน ออกเป็น 5 แบบนั้น จะมีแบบใดหรือไม่ที่ตัวอาจารย์เองจะไม่ยอมเปลี่ยนการสอนของตัวเอง มาเป็น student-centered learning
เรามาหาคำตอบกันในครั้งหน้า ส่วนอาจารย์ท่านไหนอยากทราบว่าตนเองหากเป็นผู้เรียนเเล้วจะมี learning style เป็นกลุ่มไหน สามารถทำเเบบทดสอบ online ได้ที่ http://longleaf.net/learningstyle.html
CR
1. https://teach.its.uiowa.edu/sites/teach.its.uiowa.edu/files/docs/docs/Grasha_Reichmann_Student_Learning_Style_Scales_Inventory_ed.pdf
2. http://longleaf.net/learningstyle.html
3. http://blogs.faithlafayette.org/faithkids/files/2011/09/Learning_Styles.jpg
4. https://cdn.slidesharecdn.com/ss_thumbnails/learningstyles-140619081341-phpapp02-thumbnail-4.jpg?cb=1403165735
5. http://www.whatismylearningstyle.com/images/learning-style-header.jpg
6. https://cdn.slidesharecdn.com/ss_thumbnails/learning-20styles-20-283-29-20-281-29-130617082022-phpapp01-thumbnail-4.jpg?cb=1371556315
จากการที่ได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์แพทย์ ที่เข้า workshop เรื่อง small group learning ซึ่งเป็นรูปเเบบหนึ่งของ student-centered learning ทำให้เกิดคำถามกันขึ้นมาว่า เเล้วจะมีนักเรียนประเภทไหนหรือไม่ ที่ไม่เหมาะกับการเรียน เเบบ student-centered learning/ small group learning
นักเรียนเหล่านี้อาจจะไม่ชอบ ไม่ถนัด หรืออาจจะมี learning style (LS) บางเเบบที่สามารถเรียนด้วยวิธีการอื่นได้ดีกว่า
Grasha-Riechmann ได้เคยเเบ่ง learning style ของคนเราออกเป็น 6 เเบบ เเม้การเเบ่งดังกล่าวจะไม่ใช่การเเบ่งเเบบตัดขาด หรือ pure type เเต่การจัดเเบ่งดังกล่าวสามารถบอก dominant type ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี อันที่จริง การเเบ่ง learning styles นั้น มีผู้รู้ได้ทำการจัดเเบ่งกันไว้หลายเเบบมาก เเต่การเเบ่งของ Grasha-Riechmann ถือกันว่าเเบ่ง learning style ได้ practical เเละเห็นภาพพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้ดี ทำให้อาจารย์ผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องได้อย่างเป็นรูปธรรม
เราลองมาไล่ดูกันว่า learning style ของนักเรียนเราเเบบไหนที่น่าจะเป็นสิ่งท้าทายให้กับอาจารย์เเพทย์ หากต้องการจัดการเรียนการสอนเเบบ student-centered learning
เราลองมาไล่ดูกันว่า learning style ของนักเรียนเราเเบบไหนที่น่าจะเป็นสิ่งท้าทายให้กับอาจารย์เเพทย์ หากต้องการจัดการเรียนการสอนเเบบ student-centered learning
LS 1. Competitive type
นักเรียนกลุ่มนี้ชอบการแข่งขัน ชอบเเสดงออกเพื่อจะได้คะเเนนหรือความภาคภูมิใจเป็นรางวัลตอบเเทน อาจารย์เเพทย์จำนวนหนึ่งก็เป็นเช่นนี้เมื่อยามเป็นเด็ก เพราะฉะนั้นการเรียนรู้แบบ student-centered learning/ small group learning นี้น่าจะถูกโฉลก กับนักเรียนกลุ่มนี้อย่างมาก เพราะเขาเเละเธอเหล่านั้น จะแย่งกันยกมือถามคำถาม หรือนำเสนอ เพื่อให้อาจารย์เห็นว่าตัวเองมีความรู้ความสามารถ
LS 2 Collaborative type
นักเรียนกลุ่มนี้จะเรียนได้ดีขึ้น เมื่อมีการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การเรียนเป็นกลุ่มทำให้นักเรียนกลุ่มนี้มั่นใจเเละสนุกกับการเรียน นักเรียนกลุ่มนี้จะชอบเเชร์ความรู้กับคนอื่นๆในกลุ่ม นักเรียนกลุ่มนี้คือคนที่เสียสละทำงานกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มได้คะเเนนที่ดี เเละมั่นใจว่าตัวเองจะได้ความรู้ไปด้วย นักเรียนกลุ่ม 2 นี้ก็น่าจะชอบการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากๆ
LS 3 Avoidant type
นักเรียนกลุ่มนี้คือกลุ่มที่มักจะหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ให้มีส่วนร่วมในชั้นเรียน กลุ่มนี้คือกลุ่มที่คอยหลบตาอาจารย์เวลาถาม เป็นกลุ่มที่ชอบนั่งหลังห้อง ขอฟังเเต่เลกเชอร์เเละไม่เคยยกมือเสนอตัวทำกิจกรรมเลย หากดูผิวเผิน นักเรียนกลุ่มนี้ น่าจะเป็นกลุ่มที่ไม่เหมาะสมกับการเรียนเเบบ student-centered learning/ small group learning เเต่ความเป็นจริงเเล้ว อาจารย์เเพทย์อย่างเราต้องถือว่า นักเรียนกลุ่มนี้เป็นความท้าทาย ที่เราจะต้องช่วยกันปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ให้เค้าเหล่านั้นใหม่ เราต้องการให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตัวเอง เเละมีส่วนร่วมกับการเรียนมากๆ ดังนั้นนักเรียนกลุ่มนี้จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะต้องถูกจัดให้เรียนรู้เเบบ student-centered learning/ small group learning เพื่อจะได้เกิดทักษะการเรียนรู้ ที่เรียกว่า life long learning
LS 4 Participant type
กลุ่มที่ 4 นี้ คือกลุ่มที่คอยให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทในชั้นเรียน กลุ่มนี้คงไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะเมื่อครูบอกให้ทำอะไรก็จะทำ งานที่มอบหมายไปก็จะถูกทำให้สำเร็จทุกครั้ง นักเรียนกลุ่มนี้น่าจะได้ถูกฝึกต่อให้รู้จักเเสดงความคิดเห็นของตนเอง เเละฝึกให้ได้ทำงานเป็นกลุ่ม ดังนั้น การเรียนเเบบ student-centered learning/ small group learning น่าจะเหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มนี้เช่นกัน
LS 5 Dependent type
กลุ่มที่ 5 คือกลุ่ม dependent นั่นคือกลุ่มที่พึ่งพาครูสูงมาก เป็นกลุ่มที่ชอบเรียนแบบเลคเชอร์ และเชื่อมั่นในองค์ความรู้ของครูอย่างสูงสุด ดังนั้นหากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มนี้ให้กลับมาเรียนรู้แบบ student-centered learning/ small group learning ได้ ก็จะทำให้เกิดการปรับทัศนคติ ทำให้เขามั่นใจในตัวเองว่า สามารถไปค้นคว้าองค์ความรู้ เเละสรุปประเด็นสำคัญๆมาถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมชั้นได้ ทำให้เขามั่นใจว่า ต่อไปภายภาคหน้า จะสามารถเป็น life long learner ดูเเลการพัฒนาตนเองอยู่เสมอได้
LS 6 Independent type
กลุ่มสุดท้าย คือกลุ่ม independent กลุ่มนี้ชอบการเรียนแบบอิสระ ไม่ชอบฟังเลคเชอร์ ไม่ชอบใครมาบอกมาจำ้จี้ช้ำไช ไม่ชอบรวมกลุ่มติว หรือทำงานกลุ่ม เเต่ชอบอ่านหนังสือเอง เเละมั่นใจในตัวเองสูงว่า ตัวเองสามารถดูเเลจัดการการเรียนรู้ของตัวเองได้ กลุ่มนี้คือกลุ่มที่พบเห็นได้บ่อยๆในนักเรียนเเพทย์ เเละหากเรายอมปล่อยให้นักเรียนของเราส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเรียนเช่นนี้ พฤติกรรมการทำงานของเขาเเละเธอในอนาคตก็จะไม่เเตกต่างกัน อันที่จริงกลุ่มนี้น่าจะถนัดการเรียนแบบ student-centered learning อยู่เเล้ว เพราะมีทักษะการค้นคว้าเเละการจัดการความรู้ของตนเองเป็นอย่างดี แต่สิ่งที่นักเรียนกลุ่มนี้ จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกคือ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเเละการทำงานเป็นทีม เนื่องจากในอนาคต เขาจะต้องได้ทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะทีมที่เป็นสหสาขา ดังนั้นการฝึกการเรียนรู้ แบบ student-centered learning/ small group learning จึงมีความจำเป็นกับนักเรียนกลุ่มนี้มาก
สรุป นักเรียนทั้ง 6 กลุ่ม ตาม learning style ของ Grasha-Riechmann นั้น เหมาะสมกับการเรียนรู้เเบบ student-centered learning/ small group learning ทั้งสิ้น เพียงเเต่มีคำถามอยู่ที่ว่า อาจารย์ผู้สอนต่างหาก ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนกระบวนการสอนของตัวเอง จาก teacher-centered teaching เป็น student-centered learning หรือไม่ เป็นคำถามที่น่าสนใจ ทำให้เราอยากรู้ต่อไปอีกว่า ที่ Grasha-Riechmann ได้เเบ่งอาจารย์ตามสไตล์การสอน ออกเป็น 5 แบบนั้น จะมีแบบใดหรือไม่ที่ตัวอาจารย์เองจะไม่ยอมเปลี่ยนการสอนของตัวเอง มาเป็น student-centered learning
เรามาหาคำตอบกันในครั้งหน้า ส่วนอาจารย์ท่านไหนอยากทราบว่าตนเองหากเป็นผู้เรียนเเล้วจะมี learning style เป็นกลุ่มไหน สามารถทำเเบบทดสอบ online ได้ที่ http://longleaf.net/learningstyle.html
CR
1. https://teach.its.uiowa.edu/sites/teach.its.uiowa.edu/files/docs/docs/Grasha_Reichmann_Student_Learning_Style_Scales_Inventory_ed.pdf
2. http://longleaf.net/learningstyle.html
3. http://blogs.faithlafayette.org/faithkids/files/2011/09/Learning_Styles.jpg
4. https://cdn.slidesharecdn.com/ss_thumbnails/learningstyles-140619081341-phpapp02-thumbnail-4.jpg?cb=1403165735
5. http://www.whatismylearningstyle.com/images/learning-style-header.jpg
6. https://cdn.slidesharecdn.com/ss_thumbnails/learning-20styles-20-283-29-20-281-29-130617082022-phpapp01-thumbnail-4.jpg?cb=1371556315
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น