3 ขั้นตอนการสอนให้น่าสนใจ ตาม Schema Principle
อาจารย์เเพทย์ส่วนใหญ่น่าจะมีเทคนิคส่วนตัว ในการดึงดูดน้องๆนักศึกษาเเพทย์ให้ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อยู่เเล้ว เเต่สำหรับอาจารย์เเพทย์ใหม่ เทคนิคการสอน 3 ขั้นตอนตาม Schema Principle น่าจะยังขลังอยู่เช่นเดิม
Schema principle เป็นการประยุกต์ทฤษฎีการศึกษาตามเเนวทาง Constructivism มาให้ใช้งานง่าย เข้าใจได้ เเละสามารถปฏิบัติข้างเตียงได้
Schema principle มีทั้งหมด 3 ขั้นตอนดังนี้
1. Schema Activation ขั้นตอนเเรกในการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นภาคทฤษฎี หรือปฏิบัติ ขั้นตอนเเรก ครูจะต้องสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เตรียมพร้อมเปิดรับความรู้ใหม่ก่อน ขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะใช้การตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนสนใจอยากรู้ อยากเรียนต่อ ดังนั้นการตั้งคำถามในขั้นตอนนี้ ไม่ได้มุ่งหวังให้นักเรียนตอบได้ทั้งหมด หรือเป็นคำถามเพื่อการประเมิน การตั้งคำถามก่อนเริ่มเรียนนี้ ยังช่วยให้นักเรียนมีสมาธิ เริ่มเรียกความรู้เก่าขึ้นมา เพื่อพร้อมในการต่อยอดความรู้ใหม่
การถามคำถามในขั้นตอนนี้ อาจารย์อาจจะได้ประโยชน์ด้วย คือสามารถรู้พื้นฐานความรู้ของกลุ่มนักเรียนที่จะสอน ทำให้ยังพอมีเวลาปรับเนื้อหาการสอน ไม่ให้ลึกเกินไป หรือตื้นเกินไปสำหรับนักเรียนในคาบการสอนนั้น
การทำ Schema Activation จึงเปรียบเสมือนการเปิดฝาโอ่งของนักเรียนออก เพื่อให้ความรู้ใหม่ที่กำลังจะเรียนรู้กันนั้น สามารถหาที่ทางที่จะลงไปจัดเก็บได้
2. Schema Construction เป็นการเรียบเรียงเนื้อหา ซึ่งอาจารย์ต้องวาง shot วาง plot ให้ดี เพราะการเรียบเรียงเนื้อหาที่ดีหรือไม่นั้น มีผลกับการเรียนรู้ของนักเรียนมาก เนื้อหาอาจจะถูกเรียงจากของใกล้ตัวไปไกลตัว จากเรื่องง่ายๆไปเรื่องยาก หรือเริ่มจากคำถามที่นักเรียนพอจะตอบได้ลึกลงไปเรื่อยๆถึงเรื่องใหม่ๆที่นักเรียนไม่เคยรู้
การที่อาจารย์ไม่สนใจการเรียบเรียงเนื้อหาให้ดีก่อนสอน เช่น วางเนื้อหาสลับกลับไปกลับมา เนื้อหาบางเรื่องเข้ามาอยู่ในการสอนเเบบไม่มีต้นสายปลายเหตุ นักเรียนย่อมมึนงงเเละทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง
3. Schema Refinement เมื่ออาจารย์อุตส่าห์ตั้งใจกระตุ้นความรู้นักเรียนก่อนเรียนทุกครั้ง อุตส่าห์เรียบเรียงการสอนเป็นอย่างดีเเล้ว ขั้นตอนสุดท้ายนี้จึงมีความสำคัญไม่เเพ้กัน นั่นคือขั้นตอน refinement ซึ่งคือการสรุป หรือการพูดคุยถึงการประยุกต์ใช้ของความรู้ที่ได้เรียนมา
ขั้นตอนการสรุปนี้มีได้หลากหลายวิธี เเต่ที่มีประสิทธิภาพมากคือ การให้นักเรียนเวียนกันสรุป ซึ่งมักจะใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีสุดท้ายของการเรียน อาจารย์อาจจะใช้คำถาม เช่น "take home message วันนี้คือะไร" หรือ "วันนี้ได้อะไรใหม่บ้าง" นักเรียนอาจจะได้ประเด็นสำคัญๆจากการเรียนรู้ในวันนั้นไปอย่างมากมาย เเต่อาจารย์จะต้องกำหนดให้เเต่ละคนพูดได้คนละไม่เกินหนึ่งประเด็น เพื่อให้นักเรียนได้ครุ่นคิดกันออกมาจริงๆว่า อะไรเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ได้เรียนรู้ในวันนั้น เมื่อนักเรียนคนหนึ่งได้พูดประเด็นสำคัญออกมา นักเรียนคนอื่นๆในกลุ่มก็ได้ทบทวนไปด้วยในตัว เป็นการเรียนรู้ไปอีกรอบหนึ่ง นักเรียนคนที่ตอบหลังๆส่วนใหญ่จะมีเวลาคิดก่อนพูด จึงมักจะหาประเด็นการเรียนรู้อื่นๆที่ไม่ซำ้ของเพื่อนอยู่เสมอ ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนการปิดฝาโอ่ง ทำให้ความรู้สถิตอยู่ในตัวนักเรียนได้นาน
สรุป การทำ Schema Activation หรือการตั้งคำถามของอาจารย์ คือการเหนี่ยวนำ (induce) ให้นักเรียนมี focus เเละสนใจในสิ่งที่จะเรียน ทำให้คาบการสอนนั้น "มีการเรียนเกิดขึ้นจริง เเทนที่จะมีเเต่การสอน" การทำ Schema Construction จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะ อาจารย์ได้เรียบเรียงเนื้อหาการสอน ทำให้นักเรียนนำความรู้ใหม่ไปต่อยอดความรู้เดิมได้ อาจารย์ที่ทำ Schema Activation เก่งๆนั้น การสอนหนังสือของอาจารย์เหล่านี้จะเปรียบเสมือนการเล่านิทานเลยทีเดียว ส่วนการทำ Schema Refinement นั้น อาจารย์จะมีความสุขในการสอนมาก เพราะกำลังได้ยินนักเรียนของตนสรุปประเด็นต่างๆจากปากของเขาเอง อาจารย์จะได้รู้ไปด้วยว่า ที่เรียนรู้กันไปในครั้งนี้นั้น นักเรียนได้รู้หรือไม่รู้
การทำการสอน 3 ขั้นตอนตาม Schema Principle นี้ จำเป็นต้องฝึกฝนบ่อยๆให้ชำนาญ เพราะเมื่อทำกระบวนการต่างๆได้อย่างลื่นไหล เเละชำนาญเเล้ว จะทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจ นักเรียนไม่หลับ เเละ จดจ่ออยู่กับการเรียนตลอด ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งกับผู้เรียนเเละผู้สอนอย่างเเท้จริง
CR:
1. https://www.ericdigests.org/pre-9213/schema.htm
2. https://www.eiseverywhere.com/file_uploads/6187623256b8f0279b2b761fbd1c3223_T-53_Gutkind_Schema_Strategies_and_Reading_Comprehension.pdf
3. https://en.wikipedia.org/wiki/Schema_(psychology)
4. https://c1.staticflickr.com/4/3526/4076306959_a2372452e9_b.jpg
5. https://cdn.slidesharecdn.com/ss_thumbnails/karlynsreport-141005231742-conversion-gate01-thumbnail-4.jpg?cb=1412551337
6. https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/03/be/7e/03be7eaa459c3fccfe62d90efea24316.jpg
7. https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhs4TCvHGlJFqUuBcLxKMh1y8BrDUyeAHPn96-4KiJUatXNXAXOWDepbiLcLeohatZI3otZwraTqKD2_7WYEOStvEVV3o3_Le2GIvuC5ho-2m-N8teRrIJ4SPT1VeM3Hs19CVZV0HJwWw/s400/bigstockphoto_Problem_Solving_Series_700575.jpg
8. http://www.funderstanding.com/wp-content/upload/teaching.jpg
Schema principle เป็นการประยุกต์ทฤษฎีการศึกษาตามเเนวทาง Constructivism มาให้ใช้งานง่าย เข้าใจได้ เเละสามารถปฏิบัติข้างเตียงได้
Schema principle มีทั้งหมด 3 ขั้นตอนดังนี้
1. Schema Activation ขั้นตอนเเรกในการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นภาคทฤษฎี หรือปฏิบัติ ขั้นตอนเเรก ครูจะต้องสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เตรียมพร้อมเปิดรับความรู้ใหม่ก่อน ขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะใช้การตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนสนใจอยากรู้ อยากเรียนต่อ ดังนั้นการตั้งคำถามในขั้นตอนนี้ ไม่ได้มุ่งหวังให้นักเรียนตอบได้ทั้งหมด หรือเป็นคำถามเพื่อการประเมิน การตั้งคำถามก่อนเริ่มเรียนนี้ ยังช่วยให้นักเรียนมีสมาธิ เริ่มเรียกความรู้เก่าขึ้นมา เพื่อพร้อมในการต่อยอดความรู้ใหม่
การถามคำถามในขั้นตอนนี้ อาจารย์อาจจะได้ประโยชน์ด้วย คือสามารถรู้พื้นฐานความรู้ของกลุ่มนักเรียนที่จะสอน ทำให้ยังพอมีเวลาปรับเนื้อหาการสอน ไม่ให้ลึกเกินไป หรือตื้นเกินไปสำหรับนักเรียนในคาบการสอนนั้น
การทำ Schema Activation จึงเปรียบเสมือนการเปิดฝาโอ่งของนักเรียนออก เพื่อให้ความรู้ใหม่ที่กำลังจะเรียนรู้กันนั้น สามารถหาที่ทางที่จะลงไปจัดเก็บได้
2. Schema Construction เป็นการเรียบเรียงเนื้อหา ซึ่งอาจารย์ต้องวาง shot วาง plot ให้ดี เพราะการเรียบเรียงเนื้อหาที่ดีหรือไม่นั้น มีผลกับการเรียนรู้ของนักเรียนมาก เนื้อหาอาจจะถูกเรียงจากของใกล้ตัวไปไกลตัว จากเรื่องง่ายๆไปเรื่องยาก หรือเริ่มจากคำถามที่นักเรียนพอจะตอบได้ลึกลงไปเรื่อยๆถึงเรื่องใหม่ๆที่นักเรียนไม่เคยรู้
การที่อาจารย์ไม่สนใจการเรียบเรียงเนื้อหาให้ดีก่อนสอน เช่น วางเนื้อหาสลับกลับไปกลับมา เนื้อหาบางเรื่องเข้ามาอยู่ในการสอนเเบบไม่มีต้นสายปลายเหตุ นักเรียนย่อมมึนงงเเละทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง
3. Schema Refinement เมื่ออาจารย์อุตส่าห์ตั้งใจกระตุ้นความรู้นักเรียนก่อนเรียนทุกครั้ง อุตส่าห์เรียบเรียงการสอนเป็นอย่างดีเเล้ว ขั้นตอนสุดท้ายนี้จึงมีความสำคัญไม่เเพ้กัน นั่นคือขั้นตอน refinement ซึ่งคือการสรุป หรือการพูดคุยถึงการประยุกต์ใช้ของความรู้ที่ได้เรียนมา
ขั้นตอนการสรุปนี้มีได้หลากหลายวิธี เเต่ที่มีประสิทธิภาพมากคือ การให้นักเรียนเวียนกันสรุป ซึ่งมักจะใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีสุดท้ายของการเรียน อาจารย์อาจจะใช้คำถาม เช่น "take home message วันนี้คือะไร" หรือ "วันนี้ได้อะไรใหม่บ้าง" นักเรียนอาจจะได้ประเด็นสำคัญๆจากการเรียนรู้ในวันนั้นไปอย่างมากมาย เเต่อาจารย์จะต้องกำหนดให้เเต่ละคนพูดได้คนละไม่เกินหนึ่งประเด็น เพื่อให้นักเรียนได้ครุ่นคิดกันออกมาจริงๆว่า อะไรเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ได้เรียนรู้ในวันนั้น เมื่อนักเรียนคนหนึ่งได้พูดประเด็นสำคัญออกมา นักเรียนคนอื่นๆในกลุ่มก็ได้ทบทวนไปด้วยในตัว เป็นการเรียนรู้ไปอีกรอบหนึ่ง นักเรียนคนที่ตอบหลังๆส่วนใหญ่จะมีเวลาคิดก่อนพูด จึงมักจะหาประเด็นการเรียนรู้อื่นๆที่ไม่ซำ้ของเพื่อนอยู่เสมอ ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนการปิดฝาโอ่ง ทำให้ความรู้สถิตอยู่ในตัวนักเรียนได้นาน
สรุป การทำ Schema Activation หรือการตั้งคำถามของอาจารย์ คือการเหนี่ยวนำ (induce) ให้นักเรียนมี focus เเละสนใจในสิ่งที่จะเรียน ทำให้คาบการสอนนั้น "มีการเรียนเกิดขึ้นจริง เเทนที่จะมีเเต่การสอน" การทำ Schema Construction จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะ อาจารย์ได้เรียบเรียงเนื้อหาการสอน ทำให้นักเรียนนำความรู้ใหม่ไปต่อยอดความรู้เดิมได้ อาจารย์ที่ทำ Schema Activation เก่งๆนั้น การสอนหนังสือของอาจารย์เหล่านี้จะเปรียบเสมือนการเล่านิทานเลยทีเดียว ส่วนการทำ Schema Refinement นั้น อาจารย์จะมีความสุขในการสอนมาก เพราะกำลังได้ยินนักเรียนของตนสรุปประเด็นต่างๆจากปากของเขาเอง อาจารย์จะได้รู้ไปด้วยว่า ที่เรียนรู้กันไปในครั้งนี้นั้น นักเรียนได้รู้หรือไม่รู้
การทำการสอน 3 ขั้นตอนตาม Schema Principle นี้ จำเป็นต้องฝึกฝนบ่อยๆให้ชำนาญ เพราะเมื่อทำกระบวนการต่างๆได้อย่างลื่นไหล เเละชำนาญเเล้ว จะทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจ นักเรียนไม่หลับ เเละ จดจ่ออยู่กับการเรียนตลอด ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งกับผู้เรียนเเละผู้สอนอย่างเเท้จริง
CR:
1. https://www.ericdigests.org/pre-9213/schema.htm
2. https://www.eiseverywhere.com/file_uploads/6187623256b8f0279b2b761fbd1c3223_T-53_Gutkind_Schema_Strategies_and_Reading_Comprehension.pdf
3. https://en.wikipedia.org/wiki/Schema_(psychology)
4. https://c1.staticflickr.com/4/3526/4076306959_a2372452e9_b.jpg
5. https://cdn.slidesharecdn.com/ss_thumbnails/karlynsreport-141005231742-conversion-gate01-thumbnail-4.jpg?cb=1412551337
6. https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/03/be/7e/03be7eaa459c3fccfe62d90efea24316.jpg
7. https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhs4TCvHGlJFqUuBcLxKMh1y8BrDUyeAHPn96-4KiJUatXNXAXOWDepbiLcLeohatZI3otZwraTqKD2_7WYEOStvEVV3o3_Le2GIvuC5ho-2m-N8teRrIJ4SPT1VeM3Hs19CVZV0HJwWw/s400/bigstockphoto_Problem_Solving_Series_700575.jpg
8. http://www.funderstanding.com/wp-content/upload/teaching.jpg
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น