Gagne 9 Events of Instruction
Gagne 9 Events of Instruction เป็นอีกเทคนิกหนึ่งที่อาจารย์เเพทย์ใหม่น่าจะลองรับไว้พิจารณาดู เผื่อจะทำให้การจัดการเรียนการสอนของตัวเองน่าสนใจ เเละทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้มากขึ้น
Robert M Gagne (1916-2002) ได้เสนอ 9 ขั้นตอนของการจัดการสอนไว้ในปีคศ. 1985 ซึ่งเป็นที่นิยมมาก เเละมีการนำไปใช้ประยุกต์ในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก โดยพบว่ายังคงใช้ได้ดี ไม่ว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันจะขยับเคลื่อนจาก face to face instruction ไปเป็น online หรือ distance learning เเล้วบ้างก็ตาม
อาจารย์ผู้สอนอาจจะนำ Gagne 9 Events of Instruction ไปปฏิบัติทั้ง 9 ขั้นตอนเรียงกัน หรืออาจจะเลือกไปใช้ครั้งละ 2-3 ข้อในเเต่ละชั่วโมงการสอน ก็จะได้ประโยชน์เช่นกัน
Gagne 9 Events of Instruction มี 9 ขั้นตอน ดังนี้
- Gain attention การสอนทุกครั้ง ทุกชั่วโมง หรือการทำสื่อการสอนใดๆก็ตาม ครูผู้สอนจะต้องสามารถเรียกความสนใจจากนักเรียนให้ได้ ตั้งเเต่ต้นชั่วโมงก่อน การเรียกความสนใจจากนักเรียนทำได้หลายวิธี ตั้งเเต่ชวนคิดชวนคุยเรื่องใกล้ตัว ข่าวใหญ่ทางสุขภาพที่สามารถนำเข้าบทเรียนได้ อาจารย์บางท่านนำรูปสวยๆมาขึ้นเพื่อชวนคุย หรืออาจจะใช้ VDO clip สั้นๆบางชิ้นที่จะสามารถดึงดูดความสนใจนักเรียนก่อนเข้าเนื้อหาก็ได้
- Inform learners of objectives เเจ้งผู้เรียนทุกครั้งว่า 1 ชั่วโมงต่อจากนี้ จะได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง การบอกกล่าวตั้งเเต่ต้นนี้ จะทำให้ผู้เรียนเห็นภาพการเรียนตั้งเเต่เเเรก ซึ่งในทาง cognitive psychology นั้นอธิบายว่า จะทำให้นักเรียนจัดเก็บข้อมูลที่รับได้ดีกว่า การไม่บอกอะไรเลย หรือปล่อยให้เนื้อหาเเต่ละอย่าง pop up ขึ้นมา เเบบไม่มีที่มาที่ไป
- Stimulate recall of prior learning การกระตุ้นความรู้เดิมของนักเรียนบ้าง จะช่วยทำให้นักเรียนสามารถจัดเรียงความรู้ใหม่ได้ถูกที่ถูกทางมากกว่า ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะทำได้โดยถามความรู้เดิมที่เรียนไปครั้งก่อน หรือถามเนื้อหาบางอย่างของชั่วโมงอื่น ที่มีอาจารย์ท่านอื่นได้สอนไปเเล้วว่าเป็นอย่างไร หรือให้นักเรียนพยายามบอกความเชื่อมโยงว่า การเรียนในวันก่อนจะเชื่อมต่อเนื้อหาในวันนี้อย่างไร
- Present the content วิธีการนำเสนอเนื้อหาของอาจารย์ในเเต่ละชั่วโมง ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งของการเรียน เเละ Gagne ได้เน้นยำ้ไว้มากมายเกี่ยวกับขั้นตอนที่ 4 นี้ จนทำให้ผู้รู้ทางการศึกษาหลายท่าน นำเอาหลักการของ Gagne ไปพัฒนาโดยขยายความจากขั้นตอนที่ 4 นี้อย่างมาก ในขั้นตอนนี้ Gagne พยายามเน้นว่า การจัดเรียงความรู้ที่อาจารย์จะสอนนี้ ต้องทำให้ดี จำเป็นต้องรู้วิธีการนำเสนอ เเละเทคนิกการเรียนการสอนเเบบต่างๆอย่างดี เน้นว่า ต้องดูวัตถุประสงค์ของการสอนเเต่ละครั้งว่า ต้องการให้นักเรียนได้อะไร เเล้วจึงเลือกวิธีการสอน เเละสื่อการสอนให้สอดคล้องกัน เช่น หากจะทำการสอนหัตถการ เเละมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้นักเรียนชั้นปีที่ 4 สามารถ "show how" หัตถการหนึ่งได้ ก็จำเป็นจะต้องมีวิธีการสอนที่อาจจะเริ่มจาก ให้นักเรียนค้นคว้าความรู้เองเเบบมี guidance จากนั้นให้มาฟังข้อสรุปจากอาจารย์ เเละมีการใช้ VDO clip มาประกอบการสอน เพื่อให้เห็นภาพการทำหัตถการนั้นอย่างชัดเจนเเละถูกต้อง จากนั้นต้องให้นักเรียนได้ hands-on ฝึกปฏิบัติกับหุ่นจำลอง (manikin) ทีละคน ด้วยวิธีการสอนเช่นนี้จึงจะเป็นการสอนที่ถูกต้องตามหลักการสอนใน psychomotor domain เเละตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนครั้งนั้น
- Provide learning guidance การเรียนการสอนหรือสื่อการสอนในปัจจุบัน ต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูทำหน้าที่เป็น facilitator ดังนั้นจึงต้องเน้น "ให้นักเรียนเรียนมากกว่าครูสอน" เเละครูอาจจะต้องพัฒนาสื่อการสอน เช่น study guide เพื่อเป็นตัวช่วยการเรียนรู้เเก่นักเรียน ครูเองจะต้องรู้จักการตั้งคำถามที่เรียกว่า guiding question เพื่อ lead หรือ support นักเรียนตลอดการเรียนรู้นั้น ขั้นตอนนี้ผู้รู้บางท่านยังให้รวมการ simplify content ไว้ด้วย โดยหากมีเนื้อหาส่วนใดที่ดูซับซ้อน ครูควรจะทำให้ชัดเจน ส่วนใดที่ทำให้เป็นภาพหรือ diagram ได้ ควรทำให้ผู้เรียนได้เห็นอย่างชัดเจน ปัจจุบันเนื้อหาที่วุ่นวายซับซ้อนหลายอย่างทางการเเพทย์สามารถทำให้เป็น animation สั้นๆได้อย่างง่ายดาย ก็จะเป็นส่วนเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนได้ดีทีเดียว
- Elicit performance การเรียนการสอนต้องไม่ติดกับดักอยู่ที่การสอนเเต่ภาคทฤษฎีเท่านั้น การเรียนเเต่ละครั้งควรจะต้องมีการยกตัวอย่างให้ผู้เรียนได้เห็น หรือถ้าเป็นไปได้จะต้องมีโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ (practice) การฝึกปฏิบัตินี้จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นอย่างมาก ทำให้สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ท่องเเท้มากขึ้น เเละทำให้นักเรียนบางกลุ่มที่เรียนรู้ได้ดีจากการเห็นตัวอย่างเเละการลงมือปฏิบัติ ไม่ได้ถูกละทิ้งจากการสอนที่เน้นเเต่ภาคทฤษฎี
- Provide feedback ส่วนนี้น่าจะเป็นส่วนที่สำคัญของการเรียนรู้ทุกระดับ เเละทุกๆ domain ไม่ว่าจะเป็น cognitive, psychomotor เเละ aptitude domain เนื่องจากการเรียนรู้จะไม่มีความหมายใดๆหากขาดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ เเละการฝึกปฏิบัติที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการได้ฝึกปฏิบัตต่อหน้าอาจารย์ เเละได้รับคำชี้เเนะทีละคน
- Assess performance การเรียนการสอนควรจะเเทรกการประเมินเพื่อพัฒนาเข้าไปด้วยทุกครั้ง ขั้นตอนนี้ครูที่เป็นมืออาชีพ จะมีศิลปะในการใช้คำถามที่สามารถเชื่อมโยง ขั้นตอนการถามเพื่อ guidance การถามเพื่อประเมิน เเละการให้ feedback เข้าด้วยกันอย่างสวยงามเเละลงตัว ครูเเพทย์มือใหม่ควรจะหาโอกาสฝึกพัฒนาทักษะด้านนี้ เพราะนอกจากจะทำให้รู้ว่านักเรียนรู้หรือไม่รู้ในสิ่งที่พึ่งสอนไปเเล้ว ยังเป็นคุณูปการกับผู้เรียนทำให้รู้ว่าตนเองจะต้องพัฒนาส่วนใดต่อไปให้ดีขึ้นด้วย
- Enhance retention and transfer to the job ขั้นตอนสุดท้ายเป็นขั้นตอนการสรุปเพื่อไปใช้งาน ขั้นตอนนี้สำคัญไม่เเพ้ขั้นตอนข้างต้น เเละที่นิยมให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุปเอง ขั้นตอนนี้ควรจะมีเวลาให้ผู้เรียนได้ทำ reflection สักเล็กน้อย ก่อนที่จะช่วยกันสรุปออกมา ว่าวันนี้ได้เรียนรู้อะไร หรือการเรียนวันนี้สามารถนำไปใช้เเก้ไขปัญหาคนไข้ได้อย่างไร
หวังว่า Gagne 9 Events of Instruction ยังคงมีประโยชน์สำหรับอาจารย์เเพทย์ทั้งใหม่เเละเก่า ที่จะได้หยิบเอา trips and tricks สัก 2-3 ข้อไปเหยาะเพิ่มเติมในชั่วโมงสอนของตน ทำให้น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น ตามความมุ่งหมายของอาจารย์ที่วางไว้ต่อไป
CR:
1. http://citt.ufl.edu/tools/gagnes-9-events-of-instruction/
2. http://www.niu.edu/facdev/_pdf/guide/learning/gagnes_nine_events_instruction.pdf
3. https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_M._Gagn%C3%A9#Nine_steps_of_instruction
4. http://check-n-click.com/wp-content/uploads/2014/02/Gagnes_Nine_Events_Instruction.jpg
5. https://kevinthelibrarian.files.wordpress.com/2012/07/nine_events011.png
6. https://i.ytimg.com/vi/OgYZ-BiZ2OQ/hqdefault.jpg
7. https://www.remote-learner.com/wp-content/uploads/2016/01/RL2.jpg
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น