การเรียนรู้จาก Role Model (2)
เมื่อเราทราบเเล้วว่า การเรียนรู้จาก role
model นั้นมี content ทั้งหมด
6 ประการ (http://mededtweet.blogspot.com/2017/12/role-model-1.html) ซึ่งเป็นสิ่งที่ common ที่นักเรียนหรือ
role modelee มักจะ observe เเละลอกเลียนเเบบจากอาจารย์หรือรุ่นพี่ที่เป็น role modeler
คำถามต่อมาคือ กระบวนการเรียนรู้จาก role model เป็นเช่นไร
คำถามต่อมาคือ กระบวนการเรียนรู้จาก role model เป็นเช่นไร
งานวิจัยของ Passi เเละคณะ ได้เสนอไว้ว่า
กระบวนการเรียนรู้จาก role model มีด้วยกัน 2 phase คือ
Exposure phase เเละ Evolution phase
1. Exposure Phase
เป็น phase ของการที่ role modelee ได้สัมผัส ได้เฝ้ามอง ได้ค้นหาคุณลักษณะต่างๆจาก role modeler ซึ่ง phase นี้นักเรียนจะมีปฏิกิริยาเบื้องต้นว่า จริงๆชอบหรือไม่ชอบคุณลักษณะนั้นๆของอาจารย์หรือรุ่นพี่ นักเรียนจะรู้สึกมีความสุข มีความสนใจ มี engagement ที่ดี เมืิอได้อยู่กับอาจารย์ที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับคุณลักษณะพื้นฐานของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ เเละจะมีความอึดอัดเมื่อได้อยู่กับอาจารย์ที่มีคุณลักษณะหรือค่านิยมตรงข้ามกับพื้นฐานของตนเอง โดยความสนใจ/engagement หรือความอึดอัด/rejection นี้ จะเป็นตัวส่งต่อให้นักเรียนนำการเรียนรู้จาก role model เข้าสู่ phase ต่อไป
1. Exposure Phase
เป็น phase ของการที่ role modelee ได้สัมผัส ได้เฝ้ามอง ได้ค้นหาคุณลักษณะต่างๆจาก role modeler ซึ่ง phase นี้นักเรียนจะมีปฏิกิริยาเบื้องต้นว่า จริงๆชอบหรือไม่ชอบคุณลักษณะนั้นๆของอาจารย์หรือรุ่นพี่ นักเรียนจะรู้สึกมีความสุข มีความสนใจ มี engagement ที่ดี เมืิอได้อยู่กับอาจารย์ที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับคุณลักษณะพื้นฐานของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ เเละจะมีความอึดอัดเมื่อได้อยู่กับอาจารย์ที่มีคุณลักษณะหรือค่านิยมตรงข้ามกับพื้นฐานของตนเอง โดยความสนใจ/engagement หรือความอึดอัด/rejection นี้ จะเป็นตัวส่งต่อให้นักเรียนนำการเรียนรู้จาก role model เข้าสู่ phase ต่อไป
2. Evolution Phase
ช่วงที่ 2
ของการเรียนรู้จาก role model ที่เรียกว่า evolution
phase นี้ จริงๆคือช่วงที่เกิดการสะท้อนคิดหรือ "reflection"
นั่นเอง โดยตัวนักเรียนจะมีการตัดสินใจ ครุ่นคิดข้างในใจของตน
ว่าความรู้สึกชื่นชอบหรือไม่ชื่นชอบของตนกับรุ่นพี่ หรืออาจารย์นั้น
จริงๆมาจากสาเหตุใด จุดใดเป็นจุดเด่นที่ตนเองอยากจะทำตาม คิดว่าหมอที่ดีควรจะเป็นเช่นไร
คิดว่าตนเองจะทำเหมือนหรือเเตกต่างอาจารย์อย่างไร กระบวนการนี้หากเราได้ทำให้เห็นเด่นชัด มีการ facilitate อย่างชัดเจน จะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้มากเเละสามารถ พัฒนาบุคลิกลักษณะ เกิดกระบวนการ transformative learning ได้ทัศนคติที่พึงประสงค์ของการเป็นเเพทย์ที่ดี
Passi เเละคณะ ได้สรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า content ทั้ง 6 ประการที่นักเรียนสามารถเรียนรู้จาก role model โดยใช้กระบวนการทั้ง 2 phase ข้างต้นนั้น สุดท้ายจะได้มาซึ่งการพัฒนา 3 ประการที่สำคัญ เเละเป็นที่ต้องการในวงการเเพทยศาสตรศึกษาคือ
1.Professionalism
2. Professional Identity
เเละ 3.Career choices
2. Professional Identity
เเละ 3.Career choices
ซึ่งว่าไปเเล้ว นักเเพทยศาสตรศึกษาก็ยังหา teaching and learning methods ที่ได้ผลไม่ค่อยพบ ในการพัฒนาคุณลักษณะทั้ง 3 นี้ ดังนั้น การเรียนรู้จาก role model จึงเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจเพื่อนำไปใช้กับการเรียนรู้เพื่อให้ได้คุณลักษณะทั้ง 3 ประการนี้ออกมา
โดยสรุปหวังว่า งานวิจัยของ Passi เเละคณะ น่าจะพอนำทาง เเละอธิบายกระบวนการเรียนรู้จาก role model ที่เราพูดถึงกันมากได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่ออาจารย์เเพทย์เข้าใจทั้ง content เเละ process ของการเรียนรู้จาก role model เเล้ว ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทั้งการเรียนการสอนในห้องเรียนเเละข้างเตียง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จาก role model ที่พึงประสงค์ต่อไป
CR:
1.Passi V, Johnson N. The hidden process of positive doctor role modelling. Med Teach. 2016 Jul;38(7):700-7. doi: 10.3109/0142159X.2015.1087482.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น