Community Engaged Medical Education (CEME) เเละกรณีศึกษารพ.ห้วยยอด (2)

ตอนที่เเล้วได้เห็นข้อมูลพื้นฐานของรพ.ห้วยยอดไปพอสมควร ทีนี้เราลองมาช่วยกันคิดว่า เรียนรู้ที่รพ.ชุมชนควรจะเรียนรู้อะไร เพราะ หากพยายามจะจัดการเรียนการสอนให้เหมือนกับที่พบเห็นในศูนย์เเพทย์เเล้ว ก็จะ "เสียของ" เพราะอุตสาห์พาน้องมาเรียนรู้ในรพ.ชุมชนทั้งที ควรได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นจุดเเข็งของรพ.ชุมชนมากกว่า

เท่าที่ทราบ นักเรียนเเพทย์ของห้วยยอด จะมีการหมุนเวียนไป ศูนย์เเพทย์รพ. ตรังเเละบางช่วงเวลาจะต้องหมุนเวียนไป รพ. มอ. ด้วย หากใช้หลักการทำหลักสูตรเเบบ spiral curriculum model จะทำให้สามารถเรียนรู้โรคง่ายไม่ซับซ้อนที่ รพ. ห้วยยอด เเละค่อยๆเขยิบไปเรียนส่วนที่ซับซ้อนที่ รพ.ตรังหรือรพ.มอ.ได้

หลักการ spiral curriculum คือการที่ให้โอกาสน้องๆนักศึกษาได้เรียนรู้เเง่มุมของโรคโรคหนึ่งได้หลายครั้งหลายช่วงเวลาขึ้นกับว่าน้องอยู่ชั้นปีไหน เเละน้องไปหมุนเวียนที่เเหลงใด เช่นภาวะ COPD  น้องควรเรียนรู้ในส่วน acute care การจัดการที่ ER เเละการตรวจติดตามที่ OPD ที่ รพ.ห้วยยอดให้เต็มที่ น้องสามารถ round ward คนไข้ที่ห้วยยอดได้ด้วย เพราะ ตัวโรคต่างๆยังไม่ซับซ้อน ส่วนที่เป็น prevention/ promotion เเละ rehabilitation ของโรคนี้ น้องก็สามารถเรียนที่ ห้วยยอดเช่นกัน



เมื่อน้องเข้าไปในรพ.ตรัง หรือ มอ. น้องก็เรียนเเง่มุมอื่นของ COPD ที่เป็น advanced care ต่อไป ทั้งนี้ผู้จัดทำหลักสูตรก็อาจจะต้องทำ curriculum mapping ออกมาให้เห็นภาพเข้าใจง่าย เเละใช้ portfolio/ logbook เป็นเครื่องมือช่วยให้น้องไม่ตกหล่นที่จะเก็บเกี่ยว learning experience ต่างๆ

ดังนั้นน้องๆนักศึกษาตอนที่อยู่รพ. ห้วยยอดก็ไม่ต้องเครียดว่าไม่ได้เข้า OR ไม่ได้ทำคลอด ไม่ได้ทำผ่าตัด เเต่เป็นช่วงเวลาที่น้องๆมาเก็บเกี่ยว learning experience ที่เป็นจุดเเข็งของที่นี่ คือ basic clinical practice, ออก OPD, round ward, อยู่ ER, ทำผ่าตัดเล็ก ให้เต็มที่ นอกจากนั้นก็เป็นช่วงที่ดีที่น้องจะได้เรียนรู้จาก role model ด้าน family medicine,  community medicine น้องจะได้เรียนรู้ระบบสุขภาพ ได้มีโอกาสสัมผัสชุมชน ได้เรียนรู้ระบบ DHS เเละ primary health care อย่างลงมือปฏิบัติ (experiential learning) เเละยังสามารถเรียนรู้ระบบพัฒนาคุณภาพของรพ. เเละการเป็น change agent ของระบบสุขภาพอีกด้วย


ส่วนที่เป็นหัตถการในห้องผ่าตัดเเละส่วน advanced care ที่นักเรียนเเพทย์ต้องได้เห็น ต้องเข้าช่วยบ้างครั้งหนึ่งในชีวิต ก็สามารถไปเก็บเกี่ยวตอนที่วนไปรพ. ตรังหรือมอ. ได้ โดยใช้ portfolio/ log book เป็น tool ในการกำกับการเรียนรู้

ถ้าเป็นได้เช่นนี้รพ. เเละผู้จัดหลักสูตรก็ไม่ต้องเครียดต้องหา specialist มาสอนวิชา major minor ต่างๆ ไม่ต้องพยายาม copy and paste  ทุกอย่างจากศูนย์เเพทย์มาลงที่รพ. ชุมชน กลุ่มเเฟนพันธ์เเท้ CEME ก็ไม่ต้องคอยลุ้นว่าหากน้องเรียนอยู่รพ.ชุมชนทั้งปี จะสอบ national licensing exam ผ่านหรือไม่

การจัดการเรียนการสอน เเบบผสมผสาน เเละ
ใช้จุดเด่นของเเต่ละที่ อย่างเต็มที่เช่นนี้ จะทำให้ทุกฝ่ายมีความมั่นใจ เเละการเรียนการสอนที่รพ.ชุมชนก็จะได้รับการสนับสนุนมากขึ้น

CR: 1.https://www.reference.com/education/definition-spiral-curriculum-331ff5861fa7c9de#
2.https://faculty.med.virginia.edu/facultyaffairs/files/2016/04/2010-3-23.pdf
3.Strasser R1, Worley P, Cristobal F, Marsh DC, Berry S, Strasser S, Ellaway R.Putting communities in the driver's seat: the realities of community-engaged medical education.Acad Med. 2015 Nov;90(11):1466-70. doi: 10.1097/ACM.0000000000000765.
4.Challis M. AMEE Medical Education Guide No. 11 (revised): Portfolio-based learning and assessment in medical education. Medical Teacher. 1999 Jan 1;21(4):370-86.

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม