Interprofessional Education starts at the "END"

อาจารย์เเพทย์หลายท่านอาจจะยังงงๆ กับการเรียนการสอนระหว่างวิชาชีพ (Interprofessional Education: IPE) ที่ได้รับการโปรโมทมาได้ระยะหนึ่งเเล้ว หลายท่านเมื่อได้เห็นตัวอย่างก็พอจะเข้าใจได้ เเละคิดว่า การจัดการเรียนรู้เเบบนี้สามารถทำให้เป็นไปได้ เเต่ลึกๆ ก็อาจจะยังไม่ชัดเจนว่า เหตุผลจริงๆของการที่ต้องจับเอานักศึกษาต่างคณะ มาจัดการเรียนการสอนร่วมกันนั้นคืออะไร



บางท่านพอจะหาเหตุผลกล้อมเเกล้มให้ตัวเองได้ว่า ครั้งหนึ่งในชีวิต น้องๆเหล่านี้ก็ควรจะได้ออก field หรือทำกิจกรรมร่วมกันบ้าง เพื่อจะได้เพิ่ม team working skill หรือ communicaton skill เเต่อันที่จริง เหตุผลของ IPE อาจจะอยู่ลึกกว่านั้น 

จากการฟังบรรยายของ Professor John Gilbert ในงานประชุมวิชาการระดับชาติเพื่อพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ (ANHPERF 2016) ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นว่า ในวงการ IPE นั้นเค้าทำอะไรกันบ้าง โดย Prof Gilbert ได้นิยามขอบเขต IPE ไว้ว่า .....


"Interprofessional education occurs when students from two or more professions learn about, from and with each other to enable effective collaboration and improve health outcomes."




หลังจากได้ฟังบรรยาย ได้เห็นตัวอย่างของทีมสหวิชาชีพของคนไทยที่ดำเนินการไปเเล้วบ้าง เเละได้ค้นคว้า WHO Framework for Action on Interprofessional Education & Collaborative Practice เพิ่มเติม พบว่า เเหล่งพลังสำคัญที่จะทำให้อาจารย์เเพทย์อย่างเราอยากจะลุกขึ้นมาทำ IPE คือ ส่วนท้ายของนิยามข้างต้น คือ เราต้องยอมรับอย่างมั่นใจก่อนว่า health outcomes จะดีขึ้น ถ้ามี collaborative practice ที่ดีระหว่างวิชาชีพ เเละนี่จึงจะเป็นเเรงผลักดันที่สำคัญทำให้เราอยากจะลุกขึ้นมาจัดการเรียนการสอนบางรายวิชาให้เป็นเเบบ IPE เพื่อให้ได้ collaborative practice-ready healthworkforce ในอนาคต

ในฐานะหมอสูติเเละเคยเป็นหัวหน้ากลุ่มงานสูติ ทำให้เห็นภาพตรงนี้ได้ชัดเจนมาก เพราะผลลัพธ์การดูเเลคนไข้ทางสูตินรีเวชที่ผ่านมานั้น ดีขึ้นได้เพราะ collaborative practice โดยเเท้ ไม่ว่าตั้งเเต่สมัยเริ่มทำโครงการลด newborns subtemp มาจนถึงการที่ทุกวิชาชีพพยายามช่วยกันลดภาวะ birth asphyxia หรือเเม้กระทั่งการพยายามลดหญิงคลอดก่อนกำหนดในปัจจุบัน หากลุยทำเฉพาะส่วนของเเพทย์ หรือของพยาบาลเท่านั้น ไม่มีทางที่ปัญหาเหล่านี้จะได้รับการเเก้ไขเเน่นอน



เมื่อดูตาม diagram ของ WHO framework จึงทำให้เข้าใจ IPE ได้ว่า เมื่อเรามุ่งหวัง ให้ collaborative practice ช่วย improve health outcomes จึงจำเป็นที่เราจะต้องมีช่วงเวลาหนึ่งที่ฝึกน้องหมอของเรา ในการทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นๆ เพราะน้องจะได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตัวเอง เเละที่สำคัญจะได้ตระหนักว่า ทุกวิชาชีพสามารถ contribute ไม่ส่วนหนึ่งให้กับทีมเสมอ

เราสามารถดำเนินการ IPE ได้หลากหลาย
เช่น กิจกรรม primary healthcare ต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยกันทำเป็นทีมได้ หรืออาจจะเป็นกิจกรรมที่เรียกว่า ความรู้เเเบบ soft skill เช่น กิจกรรมพัฒนาคุณภาพของรพ. ไม่ว่าจะเป็น patient safety, rational drug use หรือ qualty improvement ต่างๆ ก็ล้วนเเล้วเเต่เหมาะสมนำมาเป็นธีมในการจัดการเรียนรู้เเเบบ IPE ทั้งสิ้น หัวใจสำคัญคือการ identify learning outcome ที่ดี ซึ่งไม่ต้องไปหาจากที่อื่นใด ให้มองหาเอาจาก collaborative practice ที่เราทำกันอยู่ทุกวันนั้นเป็น goal จะทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า เมื่อน้องจบออกไปต้องทำงานเชื่อมโยงอะไรกันบ้าง เราสามารถเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็น learning outcomes ของ IPE ได้อย่างสบาย

สรุป เมื่อมองจากปลายน้ำกลับไปที่ต้นน้ำ อาจจะทำให้เราเข้าใจเรื่อง IPE ได้ง่ายขึ้นคือ
1. Health outcome จะดีขึ้นถ้าวิชาชีพทางสาธารณสุขมี collaborative practice ที่ดี
2. Collaborative practice ที่ดีได้นั้น เราจะปล่อยให้เป็นไปตามดวงหรือเป็นทักษะที่น้องๆไปหากันเอาเองในอนาคตไม่ได้ จำเป็นที่สถาบันการศึกษา จะต้องจัดให้น้องๆนักศึกษาได้มีการฝึกฝนในระหว่างเรียน






CR
2.http://scholar.harvard.edu/hoffman/files/18_-_jah_-_overview_of_who_framework_for_action_on_ipe_and_cp_2010_gilbert-yan-hoffman.pdf

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม