TRANSFORMATIVE LEARNING เเสงสว่างจ้าที่ปลายอุโมงค์ เพื่อการผลิตเเพทย์อันเป็นที่ประสงค์ของสังคม

TRANSFORMATIVE LEARNING เเสงสว่างจ้าที่ปลายอุโมงค์
เพื่อการผลิตเเพทย์อันเป็นที่ประสงค์ของสังคม

          เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสพบปะ เเละมีปฏิสังสรรค์ทางความคิดกับ ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง transformative learning หลายท่านครับ จึงเป็นการจุดประกายให้มาเขียนเรื่องนี้ในวันนี้ เเละจริงๆ การเขียนเรื่องนี้ก็เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ว่างเว้นจากการเขียน blog นี้ไปนานพอสมควร ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากสถานการณ์การเมืองซึ่งวุ่นๆอยู่ ซึ่งทุกคนก็ให้ความสนใจอย่างมาก ซึ่งก็ถูกต้อง เพราะเป็นโอกาสที่เราจะได้พัฒนาบ้านเมืองอันเป็นที่รักของเรา หากมัวเเต่เขียน เรื่อง เเพทยศาสตรศึกษา ออกมาทุกอาทิตย์เเบบไม่สนใจชาวบ้านชาวเมือง ก็คงได้โดนเป่านกหวีดไล่เป็นเเน่เเท้ เเต่เมื่อวันก่อน เนื่องจากเป็นเรื่อง transformative learning ซึ่งเป็นเรื่องที่มีคนพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เเละเป็นวันที่ได้ความรู้เยอะมาก จากผู้เชี่ยวชาญเรื่อง transformative learning ก็เลยมี drive มากพอ ที่จะลุกขึ้นมาเล่าให้พวกเราฟังถึงเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ transformative learning ครับ

          ที่จั่วหัวไว้ว่า  “TRANSFORMATIVE LEARNING เเสงสว่างจ้าที่ปลายอุโมงค์ เพื่อการผลิตเเพทย์อันเป็นที่ประสงค์ของสังคม” นั้น ส่วนตัวเชื่อเช่นนั้นจริงๆ โดยเมื่อได้ทำความเข้าใจกับ concept เรื่อง transformative learning นี้มากขึ้น ได้รับความรู้เเละได้เห็นกระบวนการจัดการเรียนการสอน transformative learning จากผู้มีประสบการณ์มากขึ้น ก็ทำให้มองภาพออกว่า หากต้องการผลิตเเพทย์เพื่อสังคมเพื่อชุมชนจริงๆเเล้วนั้น เราจะละเลยกระบวนการเรียนรู้เเบบ transformative learning นี้ไม่ได้เลยอย่างเด็ดขาด เพราะสิ่งนี้จะทำให้ นักศึกษาเเพทย์ ซึ่งจะเป็นเเพทย์ต่อไปในอนาคต มีความรู้สึก มีจิตวิญญาณของความเป็นเเพทย์เพื่อสังคมอย่างเเท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงเเค่ รู้ว่าต้องเป็น ทำให้ดูว่าทำเป็น เเต่เเพทย์เหล่านี้จะมีจิตสำนึกที่อยู่ภายในที่ทำให้มีความต้องการ ที่จะทำให้เป็นเช่นนั้นจริงๆ

          จากการที่ได้พูดคุยกับทีม transformative learning research group ทำให้มีความมั่นใจมากว่า การเรียนการสอนเเบบ transformative learning ในประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าได้จริงๆ เพราะ ทุกคนในทีมงานมีความมุ่งมั่นอย่างมากที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้ในสถาบันของตนให้เป็น
transformative learning อย่างดี ทุกคนมีความหวังดี ที่จะถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ที่ตัวเองได้ทำมา ให้กับสถาบันหรือโรงเรียนเเพทย์อื่นๆ เเละผู้ใหญ่หลายท่านในประเทศนี้ได้กำลังพยายามขับเคลื่อนผลักดันให้ transformative learning เข้าไปอยู่ในหลักสูตรเเพทยศาสตรศึกษาในทุกสถาบันอยู่เเล้ว

          บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้อง transformative learning การจัดการเรียนสอนเเบบอื่นๆไม่เพียงพอในการทำให้ได้เเพทย์อันเป็นที่ประสงค์ของสังคมอีกหรือ คงตอบว่า transformative learning เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงเเต่การให้ผู้เรียน รู้หรือว่าทำได้เท่านั้น เเต่ transformative learning เน้นเปลี่ยนเเปลง คุณลักษณะหรือ attribute ของผู้เรียนจากภายในจริงๆ นี่จึงทำให้การเรียนรู้เเบบ transformative learning มีความยิ่งใหญ่มากกว่าการเรียนรู้เเบบวิธีการอื่นๆ เพราะสิ่งที่จะได้ จาก transformative learning คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ใหม่เเละได้เเบบยั่งยืน โดยมีจิตวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ภายในของตัวผู้เรียนตลอดไป 




          ตอนที่เรียน medical education อาจารย์เคยพูดถึงการเรียนการสอนของเเพทย์เรา ว่ามี 3 ระดับ คือ transmissional, transactional เเละ transformational ตอนนั้นก็เข้าใจ 2 ตัวเเรกเป็นอย่างดี เพราะ ตัวเเรก transmissional education ก็คือ สิ่งที่เราพบเห็นเป็นประจำทุกวัน ในโรงเรียนเเพทย์ทั่วไป ของ ประเทศไทย คือครูก็สอนๆๆ นักเรียนก็เรียนๆๆ ท่องจำเอา เลียนเเบบเอา เพียงเพื่อจะได้เเสดงให้ทุกคนเห็นในวันสอบว่า ฉันรู้ หรือ ฉันทำได้ เเต่ไม่สามารถอธิบายเหตุผล พลิกเเพลง คิดต่อยอด หรือ เเก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริงๆ วิชา Med Ed จึงเข้ามามีบทบาทในการพยายามเปลี่ยนการเรียนการสอนเเบบ transmissional เเบบที่คุณครูทั้งหลายคุ้นเคยกันนี้ ให้กลายเป็น transactional   

          Transactional education ในความหมาย Med Ed นั้น มีคนเรียกย่อยเเตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น discovery learning, problem-based learning, adult learning, active learning เป็นต้น เเต่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้กรอบเเนวคิดของทฤษฎี constructivism ซึ่งมี Jean Piaget เป็นผู้นำทางความคิด  กล่าวคือ การจัดการเรียนการสอน ต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเองในสมองของผู้เรียน โดยอาจารย์จะเป็นเพียง facilitator ในการช่วยอำนวยการ สนับสนุนการเรียนรู้เท่านั้น  กระบวนการที่ผู้เรียนจะสร้างความรู้ขึ้นมาเองได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า critical thinking หรือ reflection ความรู้ที่เกิดขึ้นได้ด้วยการเรียนวิธีนี้ เป็นความรู้ที่ relevant กับการนำไปใช้จริง วิธีการเรียนรู้เเบบนี้เหมาะกับ adult learning เเละมีงานวิจัยมากมายที่พิสูจน์ให้เห็นเเล้วว่า การเรียนเเบบ transactional นี้ ได้ practical working knowledge มากกว่าการเรียนเเบบ transmissional เเน่นอน 

          การเรียนเเบบ transformative learning จริงๆเป็น การจัดการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ เพราะหวังผลที่สูงกว่า 2 วิธีเเรก คือหวังผลให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงระดับการรับรู้ของบุคคล จากภายใน จนสามารถเปลี่ยนนิสัย เเละพฤติกรรมของผู้เรียนได้อย่างยั่งยืน จึงเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยากกว่า เเต่เมื่อทำสำเร็จเเล้ว จะเป็นคุณูปการเเก่สังคมมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การสอนให้นักศึกษาเเพทย์มี communication skill ที่ดี หากเรียนรู้เเบบ transmissional ย่อมไม่พ้นการจัด lecture ให้ฟัง มอบ sheet ให้อ่าน เเละถ้าเป็น transmissional เเบบทันสมัยหน่อย ก็ให้ดู VDO เช่น VDO เรื่องการบอกข่าวร้าย เป็นต้น ซึ่งเราคงจะทราบกันดีว่า การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้นักศึกษาเเพทย์เเบบนี้ นอกจากความเบื่อที่เป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้เเล้ว นักศึกษาเเพทย์คงไม่ได้ความรู้หรือซึมซับวิธีการ communication เรื่องนั้นๆ ไปซักเท่าใด 

          สิ่งที่ชาว Med Ed พยายามนำเสนอในหลายทศวรรษที่ผ่านมาคือ ส่งเสริมการเรียนเเบบ transactional นั่นก็คือ การจัดการเรียนรู้ เเบบ adult learning ให้นักเรียนเป็น active learner มีกิจกรรมที่นักเรียนมีส่วนสำคัญ มีส่วนร่วม เป็นการสร้างองค์ความรู้ของตัวเองขึ้นมาอย่างธรรมชาติ เช่น การทำ role play การจัดให้มี critical reflection เพื่อให้นักเรียนได้ครุ่นคิด เเละเกิดองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้อย่างเเท้จริง 




          ปัญหาในปัจจุบันก็คือ เมื่อพูดถึง soft skill ของการเป็นเเพทย์เหล่านี้ การสอนเเบบ transactional อาจจะไม่ตอบโจทย์ทั้งหมด เพราะการที่นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นกว่าการเรียนเเบบ transmissional นั้นไม่ได้รับประกันว่า ความรู้ความเข้าใจนี้จะอยู่ติดตัวไปอีกนานเท่าใด ที่สำคัญไม่มีใครกล้ายืนยันได้เลยว่า การที่นักเรียนมีทักษะ การบอกข่าวร้าย ที่ดีในห้องเรียนนั้น เขาหรือเธอได้มีความตระหนักรู้ถึงความรู้สึก อารมณ์ของผู้ป่วย หรือ ญาติจริงๆหรือไม่ เราสามารถปลูกฝังจิตวิญญาณจริงๆ จากการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวให้นักเรียนได้จริงหรือไม่ เพราะ ถ้าเราไม่สามารถทำให้สิ่งเหล่านี้อยู่ใน inner ของนักเรียนได้ ก็เท่ากับว่า หลังจากที่เขาหรือเธอ ได้ เเสดงออกให้เราเห็นในห้องสอบ OSCE เเล้ว ว่าสามารถทำได้ (show how) เเล้ว เขาหรือเธอ อาจจะไม่ทำเช่นนั้นกับผู้ป่วยหรือญาติอีกเลยก็ได้

          การจัดการเรียนรู้เเบบ transformative learning  จึงเข้ามาปิด gap ตรงนี้ได้ในปัจจุบัน เพราะ transformative learning ให้คำมั่นสัญญาว่า เมื่อนักเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้เเบบนี้เเล้ว เขาหรือเธอ จะเป็นเเพทย์ที่มีความรู้สึกสงสาร เข้าใจผู้ป่วย ให้เกียรติ เเละเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย “จากภายใน” ทำไมถึงกล่าวเช่นนี้ เพราะกระบวนการเรียนของ transformative learning ได้ใส่ประสบการณ์การเรียนรู้ บรรยากาศ วิธีการ เวลา ทรัพยากร เเละการเอาใจใส่จากครูผู้สอน มากกว่าการเรียนเเบบ transactional มากมาย transformative learning มีความมุ่งหวังที่จะทำเกิด "perspective transformation" หรือการปรับสู่กระบวนการรับรู้ใหม่ ให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนเเปลงเกิดขึ้น 3 มิติคือ  

1. มิติทาง psychological คือ จะมีการเปลี่ยนการรับรู้ของตัวตน ของตนเอง มิติด้านนี้จะต้องสามารถทำให้นักเรียน เกิด critical reflection เรื่องตัวเอง เรื่องผู้อื่น เรื่อง dilemma ที่ตนเองเผชิญอยู่ ถึงจะเกิดผลลัพธ์เป็นความเข้าใจในตนเอง เเละพร้อมที่จะเปลี่ยนเเปลงได้

2. มิติที่เรียกว่า convictional หรือการเปลี่ยนเเปลงในระดับความเชื่อ เพราะ คนเราไม่ว่าจะใช้ cognition ช่วยในการทำ rationalization เกี่ยวกับ dilemma อย่างไรก็ตาม จะต้องมีกิจกรรมหรือกระบวนการบางอย่างที่จะต้องช่วยให้คนเปลี่ยนเเปลงจาก inner หรือ เปลี่ยนระดับความเชื่อ หรือที่ภาษาทาง transformative learning ใช้คือ habit of mind 

3. มิติ behavioral หรือ การเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ ว่าหลังจากนักเรียน ผ่านกระบวนการ transformative learning เเล้ว ได้มีพฤติกรรมการจัดการเรื่องนั้นๆด้วยวิธีการใหม่ที่ถูกต้องเหมาะสม อย่างสม่ำเสมอจริงๆ

          ทั้งนี้กระบวนการย่อยของ transformative learning สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จาก บทความทาง  transformative learning ที่มีอยู่มากมาย โดยเฉพาะของ Jack Mezirow ปรมาจารย์ทาง transformative learning 


Jack Mezirow

          เมื่ออ่านมาถึงตอนนี้ คงเห็นด้วยเเล้วว่า ทำไมถึงมีความเชื่อมากๆว่า หากเราสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้เเบบ transformative learning ให้เกิดขึ้นได้จริง เป็นรูปธรรม เเละเเพร่หลาย น่าจะเป็นการปิดช่องโหว่ ของการสร้างเเพทย์ที่ดีออกสู่สังคมได้จริงๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ที่ทำงานด้าน transformative learning  จะต้องช่วยทำให้ transformative learning เป็น transformative learning จริงๆ หมายความว่า เมื่อบอกว่ากำลังจัดการเรียนรู้เเบบ transformative learning ย่อมต้องให้เหนือกว่าการจัดการเรียนรู้เเบบ transactional ไม่ใช่มีเเต่กระบวนการที่ คล้าย transformative learning เเต่ทำไม่เต็มรูปเเบบ ไม่มีการทำอย่างสมำเสมอ  ไม่มีการติดตาม เเละที่สำคัญที่สุด ไม่ได้ประเมินจริงๆจังๆ ว่านักเรียนได้ transform เเล้วหรือไม่อย่างไร 

          สรุป transformative learning เป็น tool ที่มีค่ามาก ในการผลิตเเพทย์ในยุคปัจจุบัน เพราะถ้าจะอ้างอิง สมรรถนะของเเพทย์เเบบ simplified 3 ข้อของ Dundee ที่บอกว่า เเพทย์ต้องสามารถ Doing right things; Doing things right; Right person doing it เเล้ว ก็จะพบว่า transformative learning สามารถเข้ามาปิดช่องว่าง การจัดการกระบวนการเรียนรู้สำหรับคุณสมบัติข้อสุดท้ายนี้ได้ เป็นอย่างดี เพราะ ในยุคนี้ พวกเราเหล่าอาจารย์เเพทย์ ได้รับโจทย์ที่ยากกว่าอาจารย์เเพทย์ยุคก่อนๆมาก เพราะ หน้าที่ของเราคือต้องพยายาม transform "regular teenager from complex postmodern society" ให้กลายเป็น "unselfish public-minded physician for community" ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ของเราทีเดียว


RA

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม