Balance of Service Equity and Educational Equity Policy

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ร่วมเเลกเปลี่ยนกับผู้บริหารเเละอาจารย์เเพทย์จาก 37 ศูนย์เเพทย์ เเละ 14 มหาวิทยาลัย เรื่องทิศทางการรับนักศึกษาเเพทย์ของโครงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบทของ สบพช ในปี 2561-2562

มีอยู่ประเด็นหนึ่ง ที่ข้องเเวะอยู่ตลอดการเเสดงความคิดเห็นในการสัมนาครั้งนี้คือ วัตถุประสงค์ของโครงการ ที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางการบริการทางการเเพทย์ (service inequity) เเละ ต้องการลดความเหลื่อมลำ้ทางการศึกษา (educational inequity) ซึ่งก็ได้เคยชวนคิดชวยคุยกันไปเเล้ว

เเต่เมื่อมาลงรายละเอียดให้เป็น policy กอปรกับการที่มีทรัพยากรอย่างจำกัด จึงทำให้ต้องจัด priority พอสมควร
อันที่จริง การดำเนินการนโยบายเพื่อเพิ่ม service equity เเละ educational equity ไม่มีความจำเป็นต้องขัดเเย้งกัน ทั้ง 2 นโยบายเป็นนโยบายที่ดี ที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เป็นการพัฒนาประเทศเเบบองค์รวม ไม่ได้ละทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง (inclusive growth)


เเต่เมื่อถึงจุดที่ต้องกำหนดกิจกรรม เช่น เกณฑ์การรับนักศึกษา หรือการลงทุน ทำให้ต้องคิดเหมือนกันว่า จะเน้นหนัก service equity ก่อน หรือ educational equity ก่อน

ทบทวนกันอีกเล็กน้อยสำหรับนโยบาย service equity คือ การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการบริการทางสาธารณสุข ของประเทศเพื่อลดความเหลื่อลำ้  นโยบายลักษณะนี้สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องสนใจ educational equity เช่น การที่ผู้เข้าเรียนเเพทย์มาจากที่ใดก็ได้ ภูมิลำเนาเมืองใหญ่ หรือเป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์สามารถเข้ามาเรียนโรงเรียนในกรุงเทพได้ เเต่เมื่อสำเร็จการศึกษาเเล้ว ทุกคนต้องไปประจำการในเขตพื้นที่ที่ขาดเเคลนเเพทย์เป็นเวลา 3 ปี วิธีการเช่นนี้ ประเทศไทยทำมาเป็นเวลานานเเล้ว เเละพบว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เเต่มีโอกาสพัฒนาอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะการที่ต้องการให้เเพทย์อยู่ในพื้นที่ให้ได้นานกว่า 3 ปี

การดำเนินนโยบาย educational equity คือการให้โอกาสเเก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล สามารถมีโควต้าพิเศษในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งโครงการลักษณะนี้สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องสนใจ service equity เช่น  โครงการให้ทุนน้องๆจากอำเภอที่ห่างไกลได้เข้ามาเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งเมื่อเรียนจบเเล้วก็ไม่มีภาระที่จะต้องใช้ทุนอะไร สามารถมีอิสระในการหางานที่เหมาะสมกับตนเองได้

เเต่โครงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบทบังเอิญเป็นการนำเอานโยบายทั้ง 2 คือ ทั้ง service เเละ educational equity เข้ามารวมกัน คือ มีการให้โอกาสกับนักเรียนที่อยู่อำเภอหรือเขตที่ขาดเเคลนเเพทย์เรื้อรัง ให้ได้มีโอกาสเข้าเรียนเเพทย์ เเละเมื่อจบเเล้ว จะให้กลับไปทำงานณ.ภูมิลำเนาเดิม ทำให้มีโอกาสที่จะอยู่ดูเเลประชาชนในพื้นที่ทั้งก่อนเเละหลัง postgraduate training ได้นานกว่า

เเต่เมื่อมีทรัพยากรที่จำกัด เเละจำเป็นจะต้องกำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆของโครงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบท ทำให้ เกิด conflict เล็กๆระหว่าง service เเละ educational equity คือ หากโครงการเน้นไปที่ educational equity มากๆ ก็จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จน้อย เพราะไม่สามารถคัดเลือกนักเรียนเข้ามาเรียนได้ เพราะนักเรียนยิ่งอยู่ในเขตที่ห่างไกลเเละไม่ใช่อำเภอเมือง ก็จะมีโอกาสที่จะมี academic achievement ต่ำ ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้เเละไม่ได้เป็นความผิดของผู้ที่ทำการคัดเลือกเเต่อย่างใด เพราะหากพยายามเอื้อให้นักเรียนเข้ามาได้ทั้งหมด ก็จะต้องมาเผชิญปัญหาใหม่คือ นักเรียนเหล่านั้นเรียนเเพทย์ไม่ได้ มีโอกาส drop out สูงทำให้เสียโอกาสทั้งตัวนักเรียนเองเเละสถาบัน

อีกทั้งถ้ายังยืนยันเน้น educational equity ในพื้นที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ พื้นที่ที่ขาดเเคลนเเพทย์เหล่านั้นก็จะเป็นพื้นที่ขาดเเคลนซำ้ซากอยู่ตลอด เพราะกว่าจะคัดเลือกเเพทย์เข้ามาได้ก็ลำบาก อาจจะไม่ได้เข้ามาทุกปี เเละอาจจะเรียนๆไปเเล้ว drop out ทำให้ไม่มีเเพทย์กลับไปบรรจุในพื้นที่ดังกล่าวอยู่ดี 

ดังนั้นหากจะเอา educational equity นำมากๆ จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาองคาพยพอื่นๆร่วมด้วย เช่น คุณภาพการศึกษาในพื้นที่เป้าหมายเหล่านั้น เพื่อให้นักเรียนมีศักยภาพเพียงพอที่จะเรียนเเพทย์ได้สำเร็จ อาจจะต้องมีการเตรียมตัวนักเรียนจำนวนหนึ่งมาตั้งเเต่ชั้นมัธยมต้น หรืออย่างน้อยมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อให้เรียนเเพทย์ ซึ่งก็มีการทำกันอยู่เเต่จะเป็นโครงการพิเศษที่มีงบประมาณจำเพาะ เเละต้องการการติดตามอย่างใกล้ชิดมากๆ การคัดเลือกนักเรียนก็จะต้องพิจาณาคุณสมบัติอื่นๆร่วมด้วย เช่น ความผูกพันกับชุมชน การมีจิตใจดีงาม เอื้อเฟื้อเผื่อเเผ่ ไม่ได้ยึดเอาเเต่คะเเนน academic achievement อย่างเดียว

จะเห็นได้ว่า การดำเนินนโยบาย ทั้ง 2 อย่างนี้ให้ควบคู่กันเป็นสิ่งที่ท้าทาย เเละต้องหาจุดสมดุลที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงเเเรกอาจจะจำเป็นต้องเน้น service equity ไปพลางก่อน หมายถึง เมื่อพยายามจัดสรรโควต้าให้กับพื้นที่ขาดเเคลนเเล้ว หากไม่สามารถรับนักเรียนเข้ามาได้เต็ม ก็อาจจะพิจารณารับนักเรียนจากพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาก่อน เเต่ให้ทราบกันไว้ทั้งนักเรียน สถาบันเเละผู้ให้ทุนว่า นักเรียนคนนั้นจะต้องไปใช้ทุนจังหวัดที่รับทุนมาโดยไม่ใช่เป็นจังหวัดบ้านเกิด

ซึ่งประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศกว้างใหญ่เหมือนสหรัฐอเมริกา การที่บัณฑิตเเพทย์จบมาเเล้วไม่ได้ใช้ทุนในจังหวัดบ้านเกิด เเต่ใช้ทุนในจังหวัดข้างเคียงที่อยู่ในเขตสุขภาพเดียวกันน่าจะเป็นที่ยอมรับกันได้ เพราะปัจจัยการคงอยู่ในพื้นที่หลังจาก 3 ปี มีอีกหลายประการ เช่น การรับทุนไปเรียนต่อสาขาที่สนใจ การสร้างครอบครัว หรือการขอย้ายของเเพทย์ไปโรงพยาบาลอื่นเพื่อพัฒนาตนเเละพัฒนางานเป็นต้น ซึ่งถ้าหากมองเป็นภาพของเขตสุขภาพน่าจะทำให้บริหารจัดการนโยบายเหล่านี้ได้ง่ายมากขึ้น

อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในการใช้ service equity นำ educational equity คือ การที่มีการจัดสรรเเพทย์เมื่อจบการศึกษาทุกปี เพราะ การกำหนดพื้นที่ใช้ทุนจะกระทำก็ต่อเมื่อ มีการวิเคราะห์ความขาดเเคลนในพื้นทีต่างๆอย่างเป็นปัจจุบัน ซึ่งทำกันปีต่อปี ทำให้อาจจะมีความเเตกต่างกับพื้นที่ที่มีการจัดสรรให้รับนักเรียนเมื่อ 6 ปีก่อน หรือมีบางครั้งมีกรณีที่มหาวิทยาลัยได้รับนักเรียนบางพื้นที่เข้ามามากเกินไป กรณีเหล่านี้จะได้รับการดูเเลเเละจัดสรรให้เหมาะสมก่อนประกาศพื้นที่ใช้ทุน ซึ่งส่วนมากหากไม่ได้กลับไปอยู่ภูมิลำเนาก็จะได้อยู่ในเขตสุขภาพที่เป็นภูมิลำเนานั่นเอง

สรุป นโยบายทั้ง service equity เเละ educational equity เป็นสิ่งที่ดีทั้งคู่ เเละโชคดีมากที่โครงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบทเป็นโครงการที่ตอบโจทย์นโยบายทั้ง 2 นี้ได้ไปพร้อมๆกัน เพียงเเต่อาจจะต้องหาจุดสมดุลให้พบว่า จะเน้นหนักเเง่มุมใดก่อน เช่น หากจะเน้นหนัก educational equity ก็จะต้องทุ่มพลังเเละความตั้งใจพัฒนาเรื่องอื่นๆด้วย ไม่ใช่จะมาพิจารณากันตอนสอบคัดเลือก ซึ่งเป็นตอนท้ายของกระบวนการ education equity เเล้ว การที่เเยกเเยะนโยบายทั้ง 2 มาพิจารณาถึงเเก่นเช่นนี้ น่าจะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าใจ เเละสามารถลดความขัดเเย้งที่จะทำความดีกัน เเต่คนละเเง่มุม ได้พอสมควร










ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม