WHY SDL FAILS? (2)

ครั้งก่อนเราพักกันไว้ตรงที่ SDL ไม่ได้เสียหายอะไรด้วยตัวของมันเอง เเต่เราอาจต้องการให้ทั้งอาจารย์เเละนักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ self learning มากขึ้นกว่านี้ เนื่องจาก self learning มีถึง 4 เเบบ เเละเเต่ละเเบบอาจจะเหมาะสมกับบริบทของนักเรียนขณะนั้นไม่เหมือนกัน

ปกติเราจะมอง self learning มาจาก 2 มุม เสมอ คือ
1. Dependent or independent self learning
หมายถึงการทำกิจกรรม self learning ของนักเรียนนั้น ยังต้องการครูเป็นผู้ติดตามการเรียนรู้หรือไม่ เช่น หากนักเรียนไปทำกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองเเล้ว ยังจำเป็นต้องกลับมาหาครูผู้สอน เพื่อมานำเสนอ หรือรับฟังข้อชี้เเนะบางอย่าง ก็จะเรียกว่า dependent self learning เเต่หากนักเรียนสามารถทำกิจกรรม self learning ได้เอง โดยไม่ต้องกลับมารายงานครูผู้สอนเเล้ว ก็จะหมายความว่านักเรียนคนนั้นสามารถทำ independent self learning ได้

2. Self directed or directed self learning
หมายถึง การทำการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน เกิดจากความต้องการอยากรู้ การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้โดยตัวนักเรียนเองหรือไม่ หากนักเรียนทราบ knowledge gap ของตนเอง เเละกำหนดด้วยตนเองว่าจะไปอ่านหัวข้ออะไร ส่วนไหน เพื่ออะไร ก็ถือได้ว่าเป็น self directed learning เเต่หากนักเรียนยังเป็นชั้นต้นๆ เช่น พึ่งขึ้นชั้นคลินิกมาใหม่ๆ ตอนอยู่ชั้นพรีคลินิกก็เเทบจะไม่ได้ฝึกทักษะ self learning เลย นักเรียนอาจจะต้องการ การกำหนดหัวข้อจากครู้ผู้สอนว่า ให้ไปอ่านหัวข้อใด ประเด็นใด หากเป็นลักษณะเช่นนี้ จะเรียกว่า directed self learning ซึ่งมีอาจารย์บางท่านใช้คำว่า delegate learning or guided search

คราวนี้เมื่อนำทั้ง 2 มุมมองของ self learning มาทำเป็น template (ดังรูปข้างล่าง) ก็จะได้ self learning ทั้งหมด 4 เเบบ เเละจะมองออกว่า เเต่ละเเบบนั้นเหมาะสมกับกลุ่มนักเรียนของตนเองหรือไม่อย่างไร

Self learning 4 เเบบที่ใช้กันประจำคือ
1. Dependent directed self learning (DDSL)
2. Dependent self directed learning (DSDL)
3. Independent directed self learning (IDSL)
4. Independent self directed learning (ISDL)



โดยในเบื้องต้นขออธิบาย self learning 2 เเบบเเรก ดังนี้

1. Dependent directed self learning (DDSL)
หมายถึง การทำ self learning ที่ครูผู้สอนจะต้องช่วยจ่ายหัวข้อหรือประเด็นที่น่าสนใจ ที่เป็น knowledge gap ให้ นักเรียนไปค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเติม โดยเมื่อได้ข้อมูลเเล้ว นักเรียนจะต้องกลับมำเล่าให้ครูฟัง อาจจะเป็นการตอบคำถามสั้นๆ หรือ การนำเสนอในกลุ่มเเบบยาวก็ได้

วิธีนี้ถือว่าเป็น ปฐมบทของการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน อันที่จริงกิจกรรม DDSL นี้ควรจะถูกฝึกให้ชำนาญมาเเล้วก่อนขึ้นชั้นคลินิก ทั้งนี้เพื่อจะได้ทำกระบวนการ SDL ต่อได้เลย เเต่หากขึ้นชั้นคลินิกมาเเล้วนักเรียนยังไม่สามารถทำ SDL ได้ หรือทำ SDL มาเเล้วก็มักจะผิดประเด็น วิธีการ DDSL จึงสามารถนำมาใช้เพื่อปรับทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนได้อย่างชะงัดนัก

DDSL ควรจะถูกนำมาใช้เป็นประจำ เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าเเละความสามารถของการค้นคว้าของตนเอง โดยอาจจะใช้กันง่ายๆ เช่น ตอน service round, teaching round หรือ ตอนอยู่ใน OR, ER, LR, OPD เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์เหล่านี้ อาจารย์มักจะไม่มีเวลาสอนมากนัก เเต่เมื่อพบประเด็นที่น่าสนใจที่นักเรียนต้องรู้ เเทนที่อาจารย์จะเปิด mini lecture ข้างเตียงเเบบที่ทำกันเป็นประจำ ก็อาจจะใจเย็นลงนิด เเต่มอบคำถามที่เป็น specific question ให้นักเรียนไปอ่านมาก่อน เเล้ววันรุ่งขึ้นค่อยมา discuss ประเด็นความรู้นั้นๆเเทน

เนื่องจากหากทำ DDSL ได้เป็นประจำจนเป็น "วัฒนธรรมการเรียนรู้" ของโรงเรียนเเพทย์นั้นๆเเล้ว นักเรียนก็จะไม่ขัดเขินในการทำ self learning ด้วยตนเองในโอกาสต่างๆ เเละนักเรียนก็จะคุ้นเคยกับการตั้งคำถาม เเละการค้นหาคำตอบเอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้เเบบ discovery learning ด้วย

2. Dependent self directed learning (DSDL)
หมายถึง การให้นักเรียนได้ฝึกตั้งคำถาม เเละกำหนด learning goal ด้วยตนเอง เเต่เนื่องจากยังเป็นมือใหม่ จึงควรจะต้องมีครูผู้สอนประกบอย่างใกล้ชิด ตั้งเเต่กระบวนการ identify learning goal เเละ การตรวจสอบองค์ความรู้ที่ไปหามา

ตัวอย่างของวิธีการ DSDL ที่ทุกท่านรู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ PBL นั่นเอง ในกระบวนการ PBL ที่มาตรฐาน นักเรียนจะมีชั่วโมงที่พยายามเอาความรู้เดิมมาช่วยกันเเก้ปัญหาใน scenario ที่ได้รับใหม่ก่อน เมื่อนักเรียนพบว่าความรู้เดิมที่มีอยู่ ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาคนไข้เคสใหม่เคสนี้ได้เเล้ว นักเรียนจะเริ่ม identify knowledge gap and learning goals ซึ่งกระบวนการนี้เป็นหัวใจสำคัญของ SDL อย่างยิ่ง เพราะนักเรียนจะได้ฝึกรู้ว่า ตนเองไม่รู้อะไร เเละความรู้ประเด็นใดที่ต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะเสริมสร้างอุปนิสัย life long learning ในอนาคต

ในกระบวนการ DSDL นี้ เราสามารถสบายใจได้ว่า นักเรียนจะไม่ไปทำ self learning เเบบออกนอกลู่นอกทางเพราะยังมีกระบวนการ dependent คือ นักเรียนจะต้องมาพูดคุย เเลกเปลี่ยนข้อมูลที่ไปหามา ต่อหน้าครูผู้สอน ทำให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนนั้น บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนทีได้กำหนดไว้ในหลักสูตรเเน่นอน

เราสามารถเห็นกระบวนการ DSDL ได้จากกิจกรรมอื่นๆอีกเช่น การที่ extern, intern ที่ดูเเลคนไข้ด้วยตนเอง เเล้วมีคำถามมีปัญหาบางอย่าง เเละได้ไปอ่านมาจาก textbook เเล้ว เเต่อาจจะยังไม่เเน่ใจว่าบริบทของการดูเเลคนไข้ของเราจะเหมือนกับบริบทใน textbook หรือไม่ การที่ extern, intern เข้ามาขอความเห็น มายืนยันชนิดยา ขนาดยา หรือวิธีการวินิจฉัยต่างๆนั้น เป็นกระบวนการ DSDL ด้วยเช่นกัน

การทำงานวิจัยของนักเรียนเเพทย์  resident fellow หรือของนักศึกษาป โท ก็เป็นกิจกรรม DSDL เช่นกัน คือ นักเรียนอาจจะอยากรู้อยากเห็นในประเด็นปัญหาบางอย่าง นักเรียนอาจจะไปทบทวนวรรณกรรมมาด้วยตนเอง นักเรียนอาจจะเป็นผู้กำหนดคำถามงานวิจัยเเละดำเนินการวิจัยเอง เเต่เเน่นอนกระบวนการทำวิจัยของนักเรียนไม่เหมือนกับการทำวิจัยของอาจารย์ คือ งานวิจัยของนักเรียนเหล่านี้จะต้องมีอาจารย์คอยให้คำปรึกษา เเละนักเรียนจะต้องคอยมานำเสนอความคืบหน้า เเละมาตรวจสอบองค์ความรู้กับอาจารย์อยู่เสมอ การทำวิจัยของ novice เหล่านี้ จึงถือว่า เป็น กระบวนการ DSDL ด้วยเช่นกัน

ครั้งหน้าเรามารู้จักกับ self learning อีก 2 เเบบที่เหลือ คือ Independent directed self learning (IDSL)
เเละ Independent self directed learning (ISDL) เราจะได้เลือกได้ว่า self learning เเบบใดเหมาะสมกับนักเรียนของเรา

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม