การสนับสนุนเรื่องงานวิจัยให้กับศูนย์เเพทย์

การเป็นอาจารย์เเพทย์ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในมหาวิทยาลัยหรือศูนย์เเพทย์ ก็จำเป็นต้องมี obligation ในการทำวิจัยทั้งนั้น
งานวิจัยที่ง่ายๆไวๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายมากก็อาจจะเหมาะสมสำหรับบางบริบท เช่น การเลื่อนซีเลื่อนขั้น เเต่การจะทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพที่สำคัญ หรืองานวิจัยเเพทยศาสตรศึกษาระดับประเทศ ย่อมจะต้องการทรัพยากรมาสนับสนุนไม่มากก็น้อย



สบพช ได้มีความพยายามสนับสนุนเรื่องงานวิจัยให้กับศูนย์เเพทย์มาโดยตลอด ตามปกติสบพช จะมี KPI ในการกำกับติดตามงานศูนย์เเพทย์เรื่องงานวิจัยทั้งด้านวิจัยคลินิกเเละวิจัยเเพทยศาสตรศึกษาอยู่เเล้ว 
ในปีนี้ สบพช ยังได้จัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อพัฒนาเเพทยศาสตรศึกษา (Research Unit for Medical Education Development หรือ ResME) ขึ้นอีกด้วย ทีมวิจัยกลางของสบพช โดยการนำของอาจารย์ ดร ปริญญา ชำนาญ ยังมีงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ระดับนานาชาติเเล้วหลายเรื่อง เเละอยู่ underreview อีกหลายเรื่อง 



อาทิตย์นี้สบพช จึงรู้สึกว่า ได้ทำงานที่สำคัญมากชิ้นหนึ่งคือ การเริ่มดำเนินการจัดทำระเบียบการเงินเพื่อสนับสนุนงานวิจัยของศูนย์เเพทย์ต่างๆ เพราะที่ผ่านมาไม่มีระเบียบการเงินที่เอื้อในการเบิกจ่ายเพื่อทำวิจัยอย่างชัดเจน ระเบียบที่เคยเห็นกันก็ยังต้องมีประเด็นในการบริหารจัดการทีต้องพัฒนาให้อาจารย์ได้ใช้งบประมาณได้จริงอยู่อีกมาก (อ่านเเล้วอาจจะงงๆ เเต่ความจริงนั้นระเบียบเหล่านี้ซับซ้อนมากๆจริงๆ)
ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มาจากหลายหน่วยในกระทรวง ที่อุตสาห์มาช่วยกันให้ข้อคิดเห็นที่ดี เเละให้ประสบการณ์การสนับสนุนงบประมาณเรื่องงานวิจัยของกรมกองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันพระบรมราชชนก กรมการเเพทย์ กองวิชาการ กองคลัง หน่วยตรวจสอบภายใน 



ทุกท่านเข้ามาประชุมด้วยความรู้สึกอยากช่วยจริงๆ การประชุมดำเนินไปด้วยบรรยากาศ constructive อย่างมาก ทุกคนตั้งใจจะช่วย "ทลายกำเเพง" เพื่อให้อาจารย์เเพทย์ได้มีกำลังใจว่า งานบริการก็หนักอยู่เเล้ว ยังมีงานสอนมาเสริมเพิ่มเติมอีก พอใจรักคิดอยากจะทำวิจัยขี้นมา กลับมีระเบียบหยุมหยิม เยอะแยะ ซึ่งเอาเข้าจริงๆก็ไม่สามารถสนับสนุนทรัพยากรได้เหมือนในสถาบันการศึกษา
สบพช.ขอให้อาจารย์เเพทย์ในศูนย์เเพทย์อดใจรออีกนิด เพราะตอนนี้เราเห็นเเสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เเล้ว สบพช.จะพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อ "ทลายกำเเพง" นี้ให้ได้

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม