Learning Health Economic

หมอๆอย่างเราควรเรียนรู้เรื่อง health economic เมื่อไหร่ ?

ปี4 ปี5 ปี6 intern resident หรือเรียนรู้เอาเองตอนเป็น staff ?
หรือบางท่านอาจจะถูกบังคับให้เรียนตอนผู้อำนวยการรพ. เรียกพบ ? :)


เนื้อหา health economic ไม่ได้เป็นเนื้อหาใหม่ เเต่เป็นเนื้อหาที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆในประเทศไทย

สำหรับเเพทย์ที่จบการศึกษาก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ย่อมมี perception เรื่องความคุ้มค่า คุ้มทุนเเตกต่างจากเเพทย์รุ่นหลังๆที่ถูกจ้ำจี้จ้ำไชเรื่องนี้มาตั้งแต่เป็นนักศึกษาเเพทย์ อย่างชัดเจน

เเต่จนถึงปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า เเพทย์ทุกคนต้องได้นำเนื้อหา health economic ไปใช้ กับงานที่ตัวเองทำไม่มากก็น้อย

ในเกณฑ์มาตรฐานเเพทยสภาปี 2555 ได้เขียนเนื้อหาเกี่ยวกับ health  economic ไว้ชัดเจน เเม้อาจจะกระจัดกระจายอยู่ในหมวดเนื้อหาต่างๆอยู่บ้าง เเต่เท่าที่ทีมงานสบพช. ได้รวบรวมไว้ ก็มีมากพอสมควร


ที่ผ่านมา เนื้อหาเหล่านี้อาจจะได้รับการสอนจริงในบางสถาบัน เเต่ในบางที่อาจจะไม่มีผู้เชี่ยวชาญพอที่จะสอน บางเนื้อหาอาจจะถูก neglect ไม่ได้มีการกล่าวถึงเลย

สบพช. ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี การเรียนการสอนวิชานี้มีความลักลั่นระหว่างศูนย์แพทย์มาโดยตลอด สบพช.จึงได้ kick off project การพัฒนา module การสอน health economic มาตั้งแต่ปี 2559

สบพช.ได้ทำ survey ไปเเละพบว่า มีโอกาสพัฒนาหลายประเด็น เช่นผู้สอนไม่เข้าใจว่า วัตถุประสงค์ของการสอนคืออะไร เนื้อหาใดที่ต้องสอน เนื้อหาใดควรสอน เนื้อหาใดสามารถเก็บไว้เรียนรู้ในระดับหลังปริญญาได้ ที่น่าสนใจคือ หลายศูนย์เเพทย์ตอบมาคล้ายๆกันคือ ขาดวิทยากรหรืออาจารย์ผู้สอน ซึ่งเเม้เเต่บางคณะเเพทย์ก็ยังขาดเเคลนเช่นกัน

ทีมกลางสบพช.นำโดยอาจารย์ ดร.นพ.วิน เตชะเคหะกิจ จึงได้เริ่มพัฒนาการเรียนการสอนวิชา health economic ของสบพช. ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก อาจารย์เเพทย์ในศูนย์เเพทย์เเละในคณะเเพทย์เป็นอย่างดี

ทีมได้ทำงานกันมาประมาณ 1 ปี มีการประชุมทั้งกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ไปหลายครั้ง ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าประทับใจ ทีมได้สรุปเนื้อหา health economic ที่บัณฑิต้แพทย์ต้องรู้ ควรรู้ เเละน่ารู้ ไว้เรียบร้อย โดยเเยกเเยะว่า เนื้อหาใดควรอยู่ในชั้น undergraduate เนื้อหาใดควรอยู่ระดับ postgraduate 



ทีมได้ define level of outcome ของเเต่ละหัวข้อด้วย ว่าน้องๆนักศึกษาควรเรียนรู้ถึงระดับใด ตาม cognitive taxonomy เพื่อไม่ให้เกิด complication จากการสอน เช่นสอนลึกเกินไป น้องไม่ได้ใช้ หรือสอนน้อยเกินไป น้องๆได้ไปเเต่ factual knowledge เเต่ apply ไม่เป็น

ในปีงบประมาณ 2561 ทีม health economic ของสบพช. พร้อมเเล้ว ที่จะนำเสนอให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาในเเต่ละศูนย์เเพทย์  ให้สามารถนำ module ที่ทางทีมได้พัฒนาขึ้นมานี้ ไปใช้ได้อย่างสะดวก เเต่ยังคง flexibility ในการให้อาจารย์ผู้สอน adapt ให้เข้ากับบริบทของเเต่ละที่ได้

ทางสบพช.หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การ harmonize การสอน  health economic นี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการเเชร์ resources ในการเรียนการสอนระหว่างศูนย์เเพทย์ ทำให้เกิดบรรยากาศพี่ช่วยน้อง คนที่พร้อมกว่าได้ช่วยพัฒนาคนที่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากร อันจะได้นำมาซึ่งผลผลิตบัณฑิตเเพทย์ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกันในเเต่ละสถาบัน ส่งผลในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในที่สุด

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม