Learning History of Medicine

เราจะเรียนประวัติศาสตร์ไปทำไม?

รอยเท้าประวัติศาสตร์มักจะหมุนวนกลับมาที่เดิมเสมอจริงหรือ?

ในเมื่อประวัติศาสตร์การเเพทย์เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "สิ่งตกยุค" เเล้วเราจะได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งประดิษฐ์โบราณเหล่านี้?



เรื่องหนึ่งในวงการเเพทย์ที่หาคนสนใจจริงจังได้ยาก คือ History of Medicine นอกจากจะหาคนสนใจได้ยากเเล้ว การหาวิทยากรมาบรรยายนั้นยากยิ่งกว่า เเต่จากประสบปารณ์ที่ไปบรรยายที่ผ่านมา พบว่า ไปบรรยายทีไหน เมื่อใดก็ตาม ก็มีคนตั้งหน้าตั้งตารอฟังอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาเเพทย์ หรือ อาจารย์เเพทย์รุ่นใหม่เเละเก่า



ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ เราทุกคนทราบซึ้งเป็นอย่างดีว่า พวกเรามีทุกวันนี้ได้ เพราะเเพทย์รุ่นพ่อรุ่นเเม่ เเละปรมาจารย์รุ่นก่อนเก่าทั้งหลาย ที่ได้พยายามพัฒนางานวิทยาศาตร์การเเพทย์ขึ้นมาเป็นลำดับ จนทำให้เราสามารถตรวจวินิจฉัยคนไข้ได้เเม่นยำขึ้น เเละให้การรักษาคนไข้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในงาน CPIRD Conference 2017 คณะกรรมการได้เเอบหยอด หัวข้อประวิติศาสตร์การเเพทย์เข้าไว้ด้วย เพื่อลองชิมลางผู้ฟัง เพราะไม่เคยเห็นการประชุมเเพทยศาสตรศึกษาในประเทศไทยครั้งใดที่มีหัวข้อลักษณะนี้ ชื่อที่ใช้คือ Learning Professionalism Through Legacy of Medicine



session นี้ได้รับความกรุณาจาก ผศ.นพ.เทิดศักดิ์ ผลจันทร์ เเละ อาจารย์ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา นักเขียน Pop Science ชื่อดัง มาเป็นวิทยากรคู่ สร้างความประทับใจให้กับเหล่าอาจารย์เเพทย์เป็นอย่างมาก


ฝั่งอาจารย์ชัชพล ได้มาเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในประวัติศาสตร์อันยาวนานของการเเพทย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านถนัด เเละทำได้ดีมากๆ อาจารย์ทำให้อาจารย์เเพทย์ที่ฟังสนุกสนาน หัวเราะ เเละทึ่งไปกับข้อมูลเเบบ unseen unheard unbelievable 

ส่วนของ อาจารย์เทิดศักดิ์ ได้พุ่งตรงไปที่หัวข้อบรรยาย ซึ่งมี 2 keywords คือ Professionalism เเละ Legacy of Medicine ซึ่งเราจะใช้เนื้อหาทางประวัติศาสตร์การเเพทย์มาสอนจริยธรรม เเละคุณลักษณะการเป็นเเพทย์ที่ดีได้อย่างไร 

อาจารย์เน้นว่า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไม่ได้ทำไปเพื่อจดจำ facts and figures ที่เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ หากเเต่ข้อมูลเหล่านั้นจะมีคุณค่ามากขึ้น ถ้าเราได้หยิบเอามาคิด วิเคราะห์ เพื่อให้เกิดบทเรียนในการพัฒนา

กระบวนการที่อาจารย์ใช้ในการสอนวิชา History of Medicine เป็นประจำคือ ให้นักเรียนไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์การเเพทย์ เเละกลับมาวิเคราะห์ วิจารณ์ เเละหาข้อสรุปเพื่อเป็นบทเรียนร่วมกัน



สิ่งทีอาจารย์ได้ข้อสรุปจากนักเรียนของอาจารย์ นั้นมีค่าอย่างมากกับอาจารย์เเพทย์ทุกท่านคือ การที่จะเป็นปรมาจารย์ทางการเเพทย์ หรือ เเพทย์ที่ประสบความสำเร็จมี influence กับวงการเเพทย์ได้นั้น มักจะมี character อยู่ 4 อย่างคือ

1.เชื่อมั่นศรัทธาในสิ่งที่ดีงามบางอย่างและต้องการทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น
2.กล้า ที่จะทำในสิ่งที่เเตกต่าง
3.ไม่ยอมเเพ้ ต่ออุปสรรคที่จะถาโถมเข้ามา
4.มีเป้าหมายชัดเจน ในการพัฒนางานของตนเพื่อประโยชน์ของผู่อื่น

ซึ่งไม่น่าเชื่อว่านักศึกษาเเพทย์จะสามารถจับ common characteristics ของปรมาจารย์ในวงการเเพทย์ทั้งในเเละต่างประเทศได้ชัดเจนขนาดนี้



สรุปจาก session นี้ เหล่าผู้ฟังน่าจะคิดคล้ายๆกันว่า มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์การเเพทย์อีกมากมายที่เราในฐานะเเพทย์ธรรมดาคนหนึ่งไม่รู้ โดยเฉพาะ ประวติการเเพทย์เเละสาธารณสุขไทยของเราเอง ดังนั้นการได้มีหัวข้อการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเเพทย์น่าจะช่วยส่งเสริม เเละสรรสร้างคุณลักษณะของการเป็นเเพทย์ที่ดี ให้กับนักศึกษาเเพทย์ได้ 

การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์การเเพทย์สามารถทำได้โดยไม่ให้นักเรียนหลับ คือการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการค้นหาข้อมูล เเละมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ กิจกรรมเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต จนสามารถสรุปเป็นเเนวทางในการพัฒนาตนพัฒนางาน

สุดท้ายทางสบพช ต้องขอขอบพระคุณวิทยากรทั้ง 2 ท่าน ทั้งผศ.นพ.เทิดศักดิ์ ผลจันทร์ เเละ อาจารย์ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา ที่ทำให้พวกเราไดมีความสุข ได้มีเเรงบันดาลใจในการพัฒนางานตามรอบเท้า ปรมาจารญ์ทางการเเพทย์ที่ยิ่งใหญ่ที่ผ่านมา

CR ภาพเเละเนื้อหา:
ผศ.นพ.เทิดศักดิ์ ผลจันทร์ 
ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
https://www.facebook.com/thirdsak.pholchan





ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม