ผลการวิจัยประเมินผลลัพธ์โครงการ CPIRD


บัณฑิต CPIRD จบเเล้วยังอยู่ในกระทรวงกี่เปอร์เซนต์ ? บัณฑิต CPIRD จบเเล้วทำงานอยู่ที่ไหนบ้าง ยังอยู่ที่ภูมิลำเนาเดิมจริงหรือ ? เมื่อเปรียบเทียบบัณฑิต CPIRD กับบัณฑิตเเพทย์ปกติเเล้ว อันตราการคงอยู่ในกระทรวงสาธารณสุขเเตกต่างกันหรือไม่ ? วันนี้คำถามที่น่าสนใจเหล่านี้ได้รับการตอบเเล้ว .....
ทีมวิจัย สบพช ได้มุ่งมั่นทำงานวิจัยประเมินโครงการ CPIRD มาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เเละ วันนี้ มี 3 รายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคำถามเหล่านี้ ที่อาจารย์เเพทย์ทุกท่านไม่ว่าจะอยู่ในศูนย์เเพทย์หรือคณะเเพทย์น่าจะมีโอกาสได้อ่าน ต้องขอขอบคุณอาจารย์เเพทย์ทุกท่านที่มีส่วนในการอบรมสั่งสอนประคบประหงมนักศึกษาเเพทย์ในโครงการ CPIRD ทุกคน มาโดยตลอด ผลงานน่าประทับใจ ที่ทีม สบพช นำออกมาตีพิพม์ให้เห็นเป็นตัวเลขเเละเรื่องราวเหล่านี้ กล่าวให้ชัดเจนคือ ..... ผลงานจากสองมือของเหล่าอาจารย์เเพทย์ผู้เสียสละที่ประจำอยู่ในทุกศูนย์เเพทย์มากกว่า ทุกคนทราบดีว่าอาจารย์เเพทย์ที่ทำงานอยู่ในศูนย์เเพทย์ทุกท่าน เหมือนทำงาน 2 กระทรวง คือกระทรวงสาธารณสุขเเละกระทรวงศึกษาธิการ เพราะด้านหนึ่งก็ต้องตื่นเช้าขึ้นมาดูเเลคนไข้ ทำหน้าที่หมอที่ดีของกระทรวงสาธารณสุข อีกด้านหนึ่งก็มีลูกศิษย์ที่คอยตามราวน์ เเละต้องเเบ่งเวลา service ไปสอนหนังสือ ไม่ว่าจะอย่างไร ผลงานจากทั้ง 3 paper ที่ได้รับการตีพิพม์ในวารสารวิชาการนานาชาติเหล่านี้ เป็นที่ประจักษ์พยานที่ดีว่า สบพช ศูนย์เเพทย์ 37 เเห่ง เเละคณะเเพทย์ทั้ง 15 เเห่งได้ร่วมมือกัน ทำให้ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดี (Best Practice) ของโลก ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันในการผลิตเเพทย์เพื่อประชาชนในชนบท
Paper 1: Impact of a 20-year collaborative approach to increasing the production of rural doctors in Thailand. เป็นงานเขียนเเนว perspective บอกเล่าเรื่องราวของการพัฒนาเเพทยศาสตรศึกษาของประเทศไทย ภายใต้ชื่อโครงการ CPIRD ให้ชาวโลกได้รับรู้ คิดว่าอาจารย์เเพทย์ใหม่ทุกท่านที่อยากทราบเรื่องราวความเป็นมาของ CPIRD เเละจำนวนผลผลิตของโครงการ น่าจะมีโอกาสได้อ่าน เพื่อจะได้เห็นความมุ่งมั่นพยายามของปรมาจารย์รุ่นอาวุโสทั้งหลายในการผลักดันโครงการนี้มาตลอดเวลา 23 ปี Paper 2: Retention of doctors in rural health services in Thailand: impact of a national collaborative approach. เป็นงานวิจัยที่ตอบคำถาม burning questions ที่ว่า บัณฑิตเเพทย์ CPIRD จบเเล้วยังอยู่ในกระทรวงกี่เปอร์เซนต์ ? บัณฑิตเหล่านี้จบเเล้วทำงานอยู่ที่ไหนบ้าง ยังอยู่ที่ภูมิลำเนาเดิมจริงหรือ ? เเละเมื่อเปรียบเทียบบัณฑิต CPIRD กับบัณฑิตเเพทย์ปกติเเล้ว อันตราการคงอยู่ในกระทรวงสาธารณสุขเเตกต่างกันหรือไม่ ? ข้อมูลอาจจะ update ถึงเพียงขณะที่ส่งตีพิพม์ เเต่ที่ สบพช ได้ update ข้อมูลเหล่านี้ทุกปี เนื่องจากต้องการทำ doctor cohort ของโครงการ ตัวเลขล่าสุดของรุ่นใหม่ๆจะนำมาเสนอให้ทราบในโอกาสต่อไป
Paper 3: Rural retention of new medical graduates from the Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctors (CPIRD): a 12-year retrospective study. เป็นการตอบคำถามลึกลงไปอีกขั้น ด้วยวิธีการทางสถิติเเบบ survival analysis เพื่อตอบคำถามที่เเฟนพันธุ์เเท้ชอบถาม ว่า ณ จุดที่ 1 ปี 3 ปี 5 ปี นั้น บัณฑิตเเพทย์ CPIRD มี retention อยู่เท่าไหร่ ซึ่งจาก paper นี้ เหล่าเเฟนานุเเฟนคงจะโล่งใจ เพราะการวิเคราะ์เเบบ survival analysis จะสามารถตอบ retention ได้ระดับ year by year เเละ at any year ตามที่ใจอยากรู้ อีกคำตอบที่ได้จาก paper 3 นี้ คือการเปรียบเทียบให้เห็นอัตราการคงอยู่ของบัณฑิต CPIRD รูปเเบบต่างๆ เช่น CPIRD-CPIRD, CPIRD ปริญญาตรี, CPIRD ปริญญาตรีลาเรียน, เเละ CPIRD ที่เป็น ODOD ทั้งหมดนี้ต้องขอขอบคุณผู้บริหารกระทรวงที่มีวิสัยทัศน์ในการผลักดันโครงการดีๆในการผลิตเเพทย์เพื่อประชาชนเช่นนี้ ขอบคุณอาจารย์ในศูนย์เเพทย์เเละคณะเเพทย์ที่คอยฝึกสอนนักศึกษาเเพทย์ของโครงการเป็นอย่างดี ผู้อำนวยการสบพช ที่ผ่านมาทุกท่านที่คอยบริหารจัดการ empowerment ทุกภาคส่วนเพื่อให้ได้ outcome ที่ดี เเละขอขอบคุณทีมวิจัยของหน่วยวิจัย ResME ของสบพช โดยเฉพาะอาจารย์ ดร นพ ปริญญา ชำนาญ เเละ อาจารย์ ดร นพ วิน เตชะเคหกิจ ที่คอยช่วยเหลือในการวิเคราะห์ข้อมูล จนผู้เขียนทั้ง 3 paper สามารถดำเนินการได้เป็นที่เรียบร้อย ในโอกาสต่อไปคาดหวังว่าหน่วยวิจัย ResME (Reseach Unit for Medical Education Development) ของ สบพช จะ มีงานวิจัยดีๆที่ได้รับการตีพิพม์ มาเผยเเพร่ให้อาจารย์เเพทย์ผู้ปฏิบัติได้อ่านเป็นข้อมูลการทำงาน เเละสร้างความภาคภูมิใจให้พวกเราอีก Ref: http://www.rrh.org.au/articles/subviewnew.asp?ArticleID=4344 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5198815/pdf/ijme-7-414.pdf https://academic.oup.com/heapol/article-abstract/32/6/809/3073836/Rural-retention-of-new-medical-graduates-from-the?redirectedFrom=fulltext



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม